ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 29, 2014 16:19 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 23 เมษายน 2557)

  • จำนวนสัญญา 2,913,054 สัญญา
  • จำนวนตัน 22,501,070 ตัน
  • จำนวนเงิน 352,277.545 ล้านบาท

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

  • ครั้งที่ 1

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม

โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

  • ครั้งที่ 2

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ

160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง

4) วงเงินการรับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
  • ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท

5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน

6) ระยะเวลารับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557 ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
  • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2557

ยกเว้น ภาคใต้ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2557

7) ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 23 เมษายน 2557)

  • จำนวนสัญญา 870,350 สัญญา
  • จำนวนตัน 5,811,295 ตัน
  • จำนวนเงิน 95,004.811 ล้านบาท

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และความต้องการของตลาดไม่เพิ่มขึ้น

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,873 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,089 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.53

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,982 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 6,967 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,233 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,400 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,027 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,907 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,032 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,135 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 228 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 599 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,193 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,329 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 136 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,625 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,715 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 349 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,183 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,398 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 215 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 422 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,522 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,325 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 197 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0422 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

องค์การอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association) เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 1 มกราคม –

15 เมษายน 2557 เวียดนามส่งออกข้าว 1.38 ล้านตัน ลดลงจาก 2.15 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับ

4 เดือนแรกของปี 2556 โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,034 บาท) ลดลงจากตันละ 439 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,066 บาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ในช่วงวันที่ 1 – 15 เมษายน 2557 เวียดนามส่งออกข้าว 165,562 ตัน ลดลงจาก 700,710 ตัน หรือลดลงร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปริมาณส่งออกของเดือนเมษายน 2556 และลดลงจาก 583,294 ตัน หรือลดลงร้อยละ 72

เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2557 โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ(หรือประมาณตันละ 14,835 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2556 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2557

ทั้งนี้ ปริมาณส่งออกในช่วงวันที่ 1 – 15 เมษายน 2557 ประกอบไปด้วยข้าวหอม จำนวน 46,341 ตัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของปริมาณส่งออก) ข้าวขาว 3 – 14% จำนวน 43,525 ตัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณส่งออก) ข้าวขาว 14 – 15% จำนวน 42,857 ตัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณส่งออก) และข้าวเหนียว จำนวน 22,764 ตัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของปริมาณส่งออก)

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวไปยังเอเชียมากที่สุด โดยส่งออกข้าว 104,853 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของปริมาณส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อเมริกา 32,406 ตัน หรือคิดเป็น ร้อยละ 20 ของปริมาณส่งออกข้าวทั้งหมด นอกจากนี้ เวียดนามยังส่งออกข้าวไปยังแอฟริกา 19,240 ตัน ยุโรป 6,097 ตัน ออสเตรเลีย 1,661 ตัน และตะวันออกกลาง 1,305 ตัน

ที่มา Oryza.com

จีน

สถาบันวิชาการเกษตรของจีน (Chinese Academy of Agricultural Sciences: CAAS) เปิดเผยว่า

ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จีนตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารและการพึ่งพาตนเองด้านข้าว โดยอาศัยการสนับสนุนจากรัฐบาลและการพัฒนาด้านการเกษตร

รายงานด้านการเกษตรของจีน ปี 2557 - 2566 (The China Agricultural Outlook 2014-23) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 จีนจะผลิตธัญพืชที่ใช้เป็นอาหาร (ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพด) 578 ล้านตัน ขณะที่มีความต้องการใช้ 596 ล้านตัน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนมีความประสงค์ที่จะบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านข้าว โดยรัฐบาลประมาณการว่า ในปี 2566 จีนจะผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 204 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 143 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตในปัจจุบัน ขณะที่คาดการณ์ความต้องการใช้ไว้ที่ 203 ล้านตัน โดยรองนายกรัฐมนตรีเกษตร นาย Chen Xiaohua กล่าวว่า การบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านข้าวสาลีและข้าวเป็นเป้าหมายลำดับต้นๆ ของประเทศ

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารของจีน ประกอบไปด้วย การรักษาพื้นที่เพาะปลูกให้คงเหลือไม่น้อยไปกว่า 120 ล้านเฮคตาร์ (หรือประมาณ 750 ล้านไร่) การพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตร การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร การเพิ่มเงินสนับสนุนด้านการเกษตร และการกระตุ้นให้เกษตรกรสร้างธุรกิจใหม่ๆ

ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก สามารถผลิตข้าวได้ 142.3 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีประมาณ 146 ล้านตัน และกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2556/57 จีนนำเข้าข้าวประมาณ 3.5 ล้านตัน

ที่มา Oryza.com

ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ร้องขอให้องค์การการค้าโลก (WTO) อนุมัติการต่อเวลาการจำกัดปริมาณการนำเข้าข้าว (Quantitative Restrictions: QRs) ไปจนถึงปี 2560 โดยสื่อท้องถิ่นเปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์ได้เรียกร้องการต่อเวลาการจำกัดปริมาณการนำเข้าข้าวระหว่างการประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า (Council for Trade in Goods) ณ ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ปัจจุบัน ภายใต้ระบบการจำกัดปริมาณนำเข้าข้าว ฟิลิปปินส์อนุญาตให้นำเข้าข้าวปีละ 350,000 ตัน ตามโควตาปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ (Minimum Access Volume: MAV) โดยกำหนดภาษีในโควตา ร้อยละ 40 และนอกโควตา ร้อยละ 50 ในปี 2538 องค์การการค้าโลกอนุญาตให้ฟิลิปปินส์ใช้ระบบโควตาในการนำเข้าข้าวเป็นเวลา 10 ปี และในปี 2547 องค์การการค้าโลกอนุมัติให้ฟิลิปปินส์ต่อเวลาระบบโควตาออกไปอีก 5 ปี จนถึงปี 2555 และหลังจากนั้น ฟิลิปปินส์พยายามที่จะร้องขอให้มีการต่อเวลาไปจนถึงปี 2560 เพื่อปกป้องเกษตรกรในประเทศ โดยจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ให้การสนับสนุนฟิลิปปินส์ ขณะที่ ปัจจุบันฟิลิปปินส์อยู่ระหว่างการเจรจากับออสเตรเลีย แคนาดา ไทย และสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การต่อเวลาจำกัดปริมาณการนำเข้าข้าวเป็นการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับขององค์การการค้าโลก และนักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า การยกเลิกการจำกัดปริมาณการนำเข้าข้าวจะช่วยทำให้ราคาข้าวในประเทศลดต่ำลงและจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21 - 27 เม.ย. 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ