1.1 การตลาด
ปีการผลิต 2557/58
1) มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย
— มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนแรก ในส่วนของมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท แก่ชาวนาที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเปิดบัญชีไว้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งมีที่ดินทำกินไม่เกิน 15 ไร่ และชาวนาที่มีที่ดินมากกว่า 15 ไร่ ให้เงินช่วยเหลือครอบครัวละ 15,000 บาท เพื่อช่วยเหลือชาวนาให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และ
มติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558 อนุมัติขยายระยะเวลาให้เกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก (จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่มีการเพาะปลูกข้าวในช่วงหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะ 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ จำนวน 37,402 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้ และอนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตรเปิดระบบให้สำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการบันทึก แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเพื่อให้เกษตรกร จำนวน 2,091 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้
ผลการดำเนินงาน
1.1) กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2558
- ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว 3.714 ล้านครอบครัว 61.411 ล้านไร่1.2) ธ.ก.ส. ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558
- กสก. ตรวจสอบและส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. 3.589 ล้านครอบครัว 39.064 ล้านไร่
(ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2558)
- อยู่ระหว่างรอการจัดส่งเอกสาร และ 0.002 ล้านครอบครัว 0.019 ล้านไร่เกษตรกรแจ้งความจำนงกับ ธ.ก.ส.
- ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกร 3.586 ล้านครอบครัว 39,044.865 ล้านบาท 2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558มติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 58 เห็นชอบในหลักการการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2558 โดยเป็นการนำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2557/58 มาปรับปรุงโครงการ/จัดทำเป็นโครงการใหม่ และใช้วงเงินคงเหลือ ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส.)
2) การเชื่อมโยงตลาดในประเทศและต่างประเทศ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
3) โครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก (กรมการค้าภายใน)
4) โครงการจัดตลาดนัดข้าวและพืชไร่ ปีการผลิต 2557/58 (สำนักงานการค้าภายในจังหวัด)
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว การซื้อขายข้าวจึงมีไม่มากนัก
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,083 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,111 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21
ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,591 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,475 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,450 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.22 3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 878 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,463 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 877 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,358 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 105 บาท
ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 742 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,899 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 725 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,270 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 629 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 381 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,785 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 380 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,721 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 64 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 368 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,349 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 384 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,886 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 383 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,821 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 65 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.5567 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 มิ.ย. - 5 ก.ค. 2558--