ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ยางพารา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 6, 2016 15:51 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

ราคายางเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ โดยปัจจัยบวก คือ อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามปัจจัยลบ ได้แก่ การแข็งค่า เงินเยน และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน โดยการลงทุนในสินทรัพย์คงของบริษัทเอกชนในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน ประมาณ 5.2% ลดลงจาก 10.1% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา จากดีมานด์ตลาดที่หดตัวลง การผลิตที่สูงจนเกินไป การใช้นโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพ และต้นทุนด้านการเงินและแรงงานที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่สต็อกยางจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 320,626 ตัน (วันที่ 3 มิถุนายน 59) ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.88 บาท ลดลงจาก 54.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.89 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.45

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.38 บาท ลดลงจาก 54.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.89 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.48

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.88 บาท ลดลงจาก 53.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.89 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.51

4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.82 บาท ลดลงจาก 24.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.27 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.27

5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.96 บาท ลดลงจาก 21.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.16 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.49

6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.30 บาท ลดลงจาก 52.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.80

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.90 บาท ลดลงจาก 57.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.55 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.70

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.75 บาท ลดลงจาก 56.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.55 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.75

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.29 บาท ลดลงจาก 45.60บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.31 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.68

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.15 บาท ลดลงจาก 41.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.96

ณ ท่าเรือสงขลา

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.70 บาท ลดลงจาก 57.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.50 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.62

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.55 บาท ลดลงจาก 56.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.50 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.68

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.09 บาท ลดลงจาก 45.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.26 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.57

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.95 บาท ลดลงจาก 41.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.35 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.85

สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และตลาดโตเกียว มีความผันผวนโดยตลาดโตเกียวเพิ่มขึ้น จากปัจจัยด้านค่าเงินเยน และนักลงทุนขานรับการประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีผู้บริโภคจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 10 ในเดือนเมษายน 2560 เป็นเดือนตุลาคม 2562

การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับเพดานการผลิตน้ำมัน โดยอิหร่านต้องการให้เพดานการผลิตน้ำมันของประเทศเพิ่มขึ้นเท่ากับก่อนที่จะถูกคว่ำบาตรโดยมีสัดส่วน 14.5% ของผลผลิตโดยรวมของโอเปค ขณะที่ซาอุดิอาระเบียที่ไม่เห็นด้วย ปัจจุบันโอเปคผลิตน้ำมัน 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าระดับเพดาน 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันที่กำหนดไว้เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา โดยประเทศสมาชิกตัดสินใจจะประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 30 พ.ย. 59 โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่า ซาอุดิอาระเบียจะยังคงใช้กลยุทธ์กดราคาน้ำมันให้ต่ำลงต่อไป ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า อุปทานน้ำมันโลกจากกลุ่มโอเปคจะยังคงระดับ 32 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยตัวแปรที่จะกระทบต่ออุปทานน้ำมันโลก คือ ประเทศแคนาดา ที่ต้องเผชิญกับปัญหาไฟป่า และประเทศไนจีเรียที่มีปัญหาการโจมตีท่อส่งน้ำมัน รวมถึงแท่นขุดเจาะ shale oil ของสหรัฐฯ ที่มีการปิดลงไป ส่งผลต่อการลดลงของอุปทานน้ำมันในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่า ราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 41.0 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

ยางแผ่นรมควันชั้น 3

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 เซนต์สหรัฐฯ (53.49 บาท) ลดลงจาก 151.10 เซนต์สหรัฐฯ (53.50 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.10 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 0.07

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.30 เยน (50.94 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 156.10 เยน (50.08 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 3.20 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.05

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 พ.ค.- 5 มิ.ย.2559--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ