สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 30, 2020 14:31 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23 - 29 ตุลาคม 2563

1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว

แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้

ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก

ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว

2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64 รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2

2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก

2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา

2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว

2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย

2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง

2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่

2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี

ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ

4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ

5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น

5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์

5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย

5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ11,416บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,747 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82

ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15%สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ8,491บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,588บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,250 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,930 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.47

3) ราคาส่งออกเอฟโอบี

ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,381 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,235 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 146 บาท

ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,407 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 463ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,334 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 73 บาท

ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 474 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,686 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 466ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,427 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 259 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9837 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สัปดาห์ที่ผ่านมาภาวะราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นหลังจากเกิดฝนตกหนักในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงขณะที่ช่วงนี้กำลังเก็บเกี่ยวข้าว ส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงเกิดภาวะอุปทานตึงตัวท่ามกลางความคาดหวังที่ว่าฟิลิปปินส์จะกลับมาสั่งซื้อข้าวเวียดนามอีกครั้ง โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 485-495 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ485-490 ดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้ค่อนข้างมีคุณภาพต่ำเพราะข้าวมีความชื้นมาก The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 3-30 ตุลาคม 2563 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 7 ลำ เข้ามาเทียบท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรอรับการขนถ่ายข้าวประมาณ 101,350 ตัน กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (มกราคม-ธันวาคม 2564) ประเทศเวียดนามจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 43.20 ล้านตัน ลดลงจากจำนวน 43.51 ล้านตัน ในปี 2562/63 เนื่องจากคาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวจะลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งและน้ำทะเลรุกเข้าในพื้นที่ทางการเกษตรโดยคาดว่าในฤดูหนาว (Winter crop) จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 8.18 ล้านตันลดลงจาก 8.20 ล้านตัน ในปี 2562/63ส่วนในฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (Winter-Spring crop) คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 20.15 ล้านตัน ลดลงจาก 20.2 ล้านตัน ในปี 2562/63 และในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (Summer Autumn crop) คาดว่าจะมีผลผลิต ประมาณ 15.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 15.10 ล้านตัน ในปี 2562/63

สำหรับสถานการณ์การเก็บเกี่ยวข้าวในสัปดาห์นี้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (ผลผลิตข้าวบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณร้อยละ 83 ของปริมาณผลผลิตข้าวฤดูนี้) โดยขณะนี้ใกล้จะเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว คาดว่าจะช่วยผ่อนคลายภาวะอุปทานข้าวตึงตัวและทำให้ราคาข้าวอ่อนตัวลงได้

ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

เมียนมา

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (The Myanmar Rice Federation; MRF) คาดว่าในปีงบประมาณ 2563/64 (1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) จะมีการส่งออกข้าวประมาณ 2.5 ล้านตัน จากปัจจัยสำคัญได้แก่ ความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ยังคงมีต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนที่เอื้อต่อการส่งออก และการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวในประเทศทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2562/63 เมียนมาส่งออกข้าวได้มากกว่า 2.5 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 794.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ39 เมื่อเทียบกับปี 2561/62 โดยส่งออกไปกว่า 60 ประเทศซึ่งประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดคือจีน รองลงมาเช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์โปแลนด์กินีเบลเยี่ยม เซเนกัล อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เป็นต้น โดยเป็นการส่งออกผ่านทางชายแดนประมาณร้อยละ 16 และส่งไปทางเรือบรรทุกสินค้าประมาณร้อยละ 84 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด

ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

อินโดนีเซีย

สำนักงานสถิติแห่งชาติ(the Central Statistics Agency; BPS) คาดว่าในปี 2563จะมีผลผลิตข้าวเปลือก (dry unhusked rice) ประมาณ 55.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.02 เมื่อเทียบกับจำนวน 54.60 ล้านตันในปีที่แล้ว คิดเป็นผลผลิตข้าวสารประมาณ 31.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1 โดยพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวมีประมาณ 67.44 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1.02 สำหรับการบริโภคข้าวคาดว่ามีประมาณ 29.37 ล้านตัน ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินประมาณ 2.26 ล้านตัน

ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

อินเดีย

ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศมีน้อยลง เนื่องจากผู้ซื้อได้ชะลอการสั่งซื้อข้าวในช่วงนี้เพราะที่ผ่านมาได้นำเข้าข้าวจำนวนมากแล้ว

ทำให้ยังคงมีข้าวอยู่ในสต็อกเพียงพอ โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 372-377 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 376-382 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่วงการค้าคาดว่าในปีนี้อินเดียอาจจะส่งออกข้าวได้มากถึง 14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงทำให้ราคาข้าวของอินเดียยังคงต่ำกว่าประเทศคู่แข่งมาก ประกอบกับประเทศคู่แข่งมีแนวโน้มส่งออกข้าวลดลงจากปีที่แล้ว

ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ