สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 ติดตามภาวะการผลิตการตลาดสินค้าเกษตร พบ แหล่งเพาะปลูกกล้วยน้ำหว้าแหล่งใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย กว่า 5,532 ไร่ และจังหวัดเลย มากถึง 34,689 ไร่ เตรียมส่งเสริมการผลิตการตลาดและการแปรรูปสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างเสริมระบบเศรษฐกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามภาวะการผลิตและการตลาดสินค้าการเกษตรในพื้นที่ลาดเชิงเขาติดกับแม่น้ำโขง บเชิงเขาติดกับแม่น้ำโขงของจังหวัดเลยในเขตอำเภอเชียงคาน อำเภอท่าลี่ อำเภอเมืองในเขตอำเภอเชียงคาน อำเภอท่าลี่ อำเภอเมืองของจังหวัดเลย และในเขตอำเภอสังคมของจังหวัดหนองคาย พบว่าเป็นแหล่งเพาะปลูก กล้วย แหล่งใหญ่ของทั้งสองจังหวัดที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรมาเป็นระยะเวลานานกว่าสิบปี
โดยกล้วยที่เกษตรกรนิยมปลูกคือ กล้วยน้ำหว้า พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ปลูกจะเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา ตามแนวลำน้ำโขง มีสภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของกล้วย ต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก การดูแลรักษาก็ง่าย แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของจังหวัดหนองคาย อยู่ที่ อำเภอสังคม ปีเพาะปลูก 2551/52 มีพื้นที่ปลูก จำนวน 5,532 ไร่ และแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของจังหวัดเลย อยู่ที่ อำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม อำเภอท่าลี่ และอำเภอเมืองเลย ปีเพาะปลูก 2551/52 มีพื้นที่ปลูกจำนวน 34,689 ไร่ มีผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงฤดูฝน ราคาเฉลี่ยหวีละ 3.50 บาท ส่วนหน้าแล้งผลผลิตออกน้อย ราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้ เฉลี่ยหวีละ 4.50 บาท โดยผลผลิตร้อยละ 80 ส่งขายตลาดต่างจังหวัดในรูปของผลสด เช่น จังหวัดอุดรธานี สกลนคร ยโสธร ร้อยเอ็ด และจังหวัดอุบลราชธานี อีกร้อยละ 20 ทำการแปรรูป อยู่ในพื้นที่ปลูก แปรรูปเป็นกล้วยตาก กล้วยฉาบโดยมีการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มเกษตรกรแปรรูปกล้วยจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งทาง สศข.3 จะร่วมกับจังหวัดเลยและหนองคาย เพื่อส่งเสริมแนวทางการผลิตการตลาดและการแปรรูป เพื่อสร้างเสริมระบบเศรษฐกิจชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--