สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2553(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 25, 2011 14:10 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 4 ปี 2553 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการว่างงานลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง และปัญหาหนี้สาธารณะในหลายประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างไม่เสถียรภาพ ตลอดจนภาวะไร้เสถียรภาพของค่าเงิน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ยังคงฉุดรั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ 83.76 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี2552 อยู่ที่ 74.58 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม มีราคาอยู่ที่ 89.34 USD/Barrel ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น เหตุการณ์ประท้วงในอียิปต์เริ่มคลี่คลายลงและไม่มีการปิดคลองสุเอช ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันที่สำคัญไปยังยุโรปและอเมริกา

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 เป็นผลมาจากการบริโภค การลงทุน และการส่งออกที่ขยายตัวดีการบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 9.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 52.5เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.0 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาวะการจ้างงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการค้าปลีกไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.9 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 91.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 86.6

การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 18.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 0.6 การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 15.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 6.6

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.5 อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5 การว่างงานที่ลดลงส่งผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้นและนักลงทุนเชื่อมั่นในแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ทางด้านสถานการณ์การเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.25 (เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2554) เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและกระตุ้นการจ้างงานให้ฟื้นตัว

(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2553

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 4 ปี 2553 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัว ได้แก่ การบริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการลดหย่อนภาษี และการขาดดุลการค้าที่ปรับลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินดอลลาห์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 9.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.4 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 18.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 16.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 102.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.5 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 24.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 31.9 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 57.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 60.0

การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 25.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 29.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.0

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 4 ปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เนื่องจากระดับราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 5.56 เป็นร้อยละ 5.81 (เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2553) เพื่อควบคุมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และเพื่อสกัดกั้นภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ รวมถึงการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบให้อยู่ในระดับปกติภายใต้กรอบที่รัฐบาลกำหนด

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 2553 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 6.2 อันเป็นผลมาจากการส่งออกและการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 1.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 42.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 39.9 การลงทุนในภาคก่อสร้าง ไตรมาส 3 ปี 2553 หดตัวร้อยละ 1.2 หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 19.9 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 92.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.1

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2553

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ หดตัวร้อยละ 5.8 การส่งออกเพิ่มขึ้นมากในตลาดจีน และเอเชีย การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ11.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ หดตัวร้อยละ 19.2

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.1เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -2.0 เป็นผลมาจากราคาพลังงานและสินค้าในหมวดอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น(Bank of Japan) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบธนาคาร และสนับสนุนการระดมทุนของบริษัทเอกชนให้มีความคล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2553 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากการส่งออกและการผลิตที่ขยายตัวดีขึ้น

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 3 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 4.3 ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวมาจากการส่งออก ในส่วนของGDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 12.8 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัว การบริโภคไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 0.6 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 96.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.0 และในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 96.7 และ 97.5

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 27.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 17.6 สำหรับการส่งออกในตุลาคม และพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 23.7 และ 26.3 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 30.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ27.7 สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 23.8 และ 31.5 ตามลำดับ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของสหภาพยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.4 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.3

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ

(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2553

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2553 คาดว่ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาตึงตัวในตลาดการเงิน ปัญหาหนี้สาธารณะ รวมทั้งราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

ภาวะเศรษฐกิจประเทศฮ่องกงในไตรมาส 3 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ปรับขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศในไตรมาส 3 ปี 2553 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวตามการจ้างงาน และระดับรายได้ของภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนขยายตัวเพียงเล็กน้อย จากการลงทุนในเครื่องจักร และอุปกรณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากขยายตัวสูงในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ด้านตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว รวมถึงมาตรการเพิ่มการจ้างงานในภาคการก่อสร้างของรัฐบาลฮ่องกงเป็นผลให้อัตราการว่างงานในภาคการก่อสร้างปรับตัวลดลง

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 101.9 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามจากปริมาณการผลิตโลหะเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ขยายตัวเป็นสำคัญ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 4 ปี 2553 ฮ่องกงมีมูลค่าการส่งออก 105,752 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง ขยายตัวร้อยละ 15.3 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2553 ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้า116,964 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

ภาวะเศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ปรับขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ปรับขยายตัวสูงเมื่อ

(6) ที่มา : http://www.censtatd.gov.hk, http://www.bot.or.th, http://www.ceicdata.com, http://www.gtis.com/gta ข้อมูลบางส่วนยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2553

(7) ที่มา : http://www.ecos.bok.or.kr, http://www.bot.or.th, http://www.ceicdata.com, http://www.gtis.com/gta

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนธันวาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากค่าเช่าบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางฮ่องกงมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับร้อยละ 0.5 เนื่องจากมีการประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามการลงทุนในภาคการก่อสร้างในไตรมาส 4 ปี 2553 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม โดยหดตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 146.1 ขยายตัวร้อยละ11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวตามการส่งออกที่ขยายตัว

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 4 ปี 2553 เกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออก 128,747 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวดี โดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ยังคงเป็นตลาดจีนที่ในไตรมาสนี้การส่งออกไปยังจีนขยายตัวร้อยละ 25.8ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 35.3 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2553 เกาหลีใต้มีมูลค่าการนำเข้า 115,727 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าจากตลาดหลักอย่างจีน, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 และจากแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ในวันที่ 13 มกราคม 2554 ธนาคารกลางเกาหลีใต้จึงมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 จากเดิมที่ร้อยละ 2.5

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

ภาวะเศรษฐกิจประเทศสิงคโปร์ในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ปรับขยายตัวสูงในไตรมาสนี้ เนื่องจากการผลิตสินค้าในกลุ่มไบโอเมดิคอลที่ปรับขยายตัวดี ด้านตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานหลังปรับ ฤดูกาลในเดือนธันวาคม 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.2เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากในเดือนกันยายน 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 117.2 ขยายตัวร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.7

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 3 ปี 2553 สิงคโปร์มีมูลค่าการส่งออก 92,332 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักต่างปรับขยายตัวดี โดยการส่งออกไปยังมาเลเซีย และฮ่องกง ขยายตัวร้อยละ 36.6 และ 34.2 ตามลำดับ สำหรับในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2553 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 28.2 และ 19.5 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 80,658 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2553 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.9 และ 22.1ตามลำดับ

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4

(8) ที่มา : http://www.singstat.gov.sg , http://www.bot.or.th, http://www.ceicdata.com, http://www.gtis.com/gta ข้อมูลบางส่วนยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2553

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

ภาวะเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ และการลงทุนที่ขยายตัวดี รวมถึงผลจากการใช้จ่ายของรัฐบาลอินโดนีเซียในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 135.8 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 3 ปี 2553 อินโดนีเซียมีมูลค่าการส่งออก 38,395 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 29.7 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดหลักอื่นๆ ต่างปรับขยายตัวดีเช่นกัน สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 17.6 ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 3 ปี 2553 อินโดนีเซียมีมูลค่าการนำเข้า34,452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 28.5

ด้านการเงินการธนาคาร ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.75 จากเดิมอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ของอินโดนีเซีย ทั้งนี้เพื่อลดแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ในไตรมาส 4 ปี2553 ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

ภาวะเศรษฐกิจประเทศมาเลเซียในไตรมาส 3 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการภายในประเทศที่ปรับขยายตัว ทางด้านตลาดแรงงาน ในเดือนธันวาคม 2553 มาเลเซียมีอัตราการว่างงานร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นจากในเดือนพฤศจิกายน2553 ซึ่งมีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.9

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 113.2 ขยายตัวร้อยละ7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน2553 ขยายตัวร้อยละ 4.7 และ 6.5 ตามลำดับ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 3 ปี 2553 มาเลเซียมีมูลค่าการส่งออก 50,337 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปตลาดหลักอย่างสิงคโปร์ จีนและญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 15.9, 15.3 และ 43.6 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม 2553ขยายตัวร้อยละ 11.2 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2553 มาเลเซียมีมูลค่าการนำเข้า 43,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม 2553ขยายตัวร้อยละ 23.5

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ธนาคารกลางมาเลเซียยังมีมติคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75

(9) ที่มา : http://www.bi.go.id, http://www.bot.or.th, http://www.exim.go.th, http://www.ceicdata.com, http://www.gtis.com/gta ข้อมูลบางส่วนยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2553

(10) ที่มา : http://apecthai.org, http://www.statistics.gov.my, http://www.bot.or.th, http://www.ceicdata.com, http://www.gtis.com/gta ข้อมูลบางส่วนยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2553

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)

ภาวะเศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการที่ขยายตัวดี ขณะที่ภาคการเกษตรเริ่มฟื้นตัวหลังจากหดตัวต่อเนื่องนาน 4 ไตรมาส เนื่องจากผลกระทบจากภัยธรรมชาติ

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 27.4 ขณะที่ดัชนีผลผลิตในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2553 ขยายตัวร้อยละ 14.9 และ 16.8 ตามลำดับ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 3 ปี 2553 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการส่งออก 14,588 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 40.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ และจีนที่ปรับขยายตัวสูง โดยในไตรมาส 3 ปี 2553 สิงคโปร์ได้กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฟิลิปปินส์แทนที่สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 30.1 ด้านการนำเข้าใน ไตรมาส 3 ปี 2553 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการนำเข้า 13,705 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 28.4

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากราคาอาหารที่ลดลง รวมถึงต้นทุนด้านพลังงานที่ลดลง ทั้งนี้ธนาคารกลางฟิลิปปินส์จึงมีมติคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0ซึ่งเป็นระดับที่สอดคล้องกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

ภาวะเศรษฐกิจประเทศอินเดียในไตรมาส 3 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากภาคบริการที่ปรับขยายตัวได้ดี

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 3 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 362.4 ขยายตัวร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตในเดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน 2553ขยายตัวร้อยละ 11.9 และ 2.3 ตามลำดับ

(11) ที่มา : http://www.nscb.gov.ph, http://www.bot.or.th, http://www.ceicdata.com, http://www.gtis.com/gta ข้อมูลบางส่วนยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี2553

(12) ที่มา : http://www.bot.or.th, http://www.bangkokbank.com, http://www.ceicdata.com, http://www.gtis.com/gta ข้อมูลบางส่วนยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2553

ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของอินเดียในไตรมาส 3 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม50,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 21.3 และ 26.5 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี2553 อินเดียมีมูลค่าการนำเข้า 86,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 31.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.1 และ 11.2ตามลำดับ

ด้านการเงินการธนาคาร ในวันที่ 25 มกราคม 2554 ธนาคารกลางอินเดียได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 6.25 ในไตรมาส 4 ปี 2553 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 เพื่อลดแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาส 4 ปี 2553 อินเดียมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 8.3 ลดลงจากในไตรมาส 3ปี 2553 ที่อยู่ที่ร้อยละ 9.3

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ