สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2553(อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 1, 2011 13:50 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตและการจำหน่าย

การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.89 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 3.77 เนื่องจากเป็นไปตามการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 5.02 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 4.82 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.55

การตลาด

การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,426.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 2,010.27ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับแท้ที่มีมูลค่า 901.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 149.16 และ 4.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 384.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.95, 17.10 และ 15.18ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 384.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ12.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.07, 22.87 และ 20.21 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 97.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 32.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.10, 16.75 และ 13.40 ตามลำดับ

2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 901.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.23, 14.41 และ 6.33 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญ มีดังนี้

2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 427.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.56, 21.75 และ 8.48 ตามลำดับ

2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 408.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.88, 10.87 และ9.09 ตามลำดับ

3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 75.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 34.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.29, 18.58 และ 6.11 ตามลำดับ

4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 22.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และจีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.92, 14.82 และ 13.23 ตามลำดับ

5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 2,010.27ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 149.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 155.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ45.10, 31.66 และ 17.54 ตามลำดับ

การนำเข้า

1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 1,897.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 145.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 25.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 10.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.06, 15.14และ 13.24 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 50.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 41.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.88, 10.43 และ 7.02ตามลำดับ

1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 4 ปี 255 มีมูลค่าการนำเข้า 1,403.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 44.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 2.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.43, 24.91และ 8.15 ตามลำดับ

1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 235.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.47, 15.91 และ 11.64ตามลำดับ

1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 29.48ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.27, 16.40 และ 10.11 ตามลำดับ

โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.26ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด

2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 123.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 107.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 31.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ อิตาลี และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.11,6.57 และ 3.50 ตามลำดับ

2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 16.21ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 171.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.65, 15.11 และ 8.80 ตามลำดับ

นโยบายของภาครัฐ

ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2553 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ หน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดตัวศูนย์ฉายอัญมณีเพื่อการส่งออกที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารภายในสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก โดยทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องส่งอัญมณีไปฉายรังสีในต่างประเทศทั้งหมดเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งตั้งเป้าศูนย์แห่งนี้จะให้บริการฉายรังสี เพื่อปรับปรุงและเพิ่มมูลค่าอัญมณีได้ปีละเกือบ 35 ล้านกะรัตต่อปี คิดเป็นเม็ดเงินที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับประเทศถึง 3,000 ล้านบาท

สรุปและแนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ด้านการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.89 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.05 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และเครื่องประดับแท้ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 149.16 และ 4.22 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่การส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าการนำเข้าเนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับราคาเฉลี่ยที่ 1,370 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ในช่วงไตรมาสนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเพิ่มขึ้น ด้านเครื่องประดับแท้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 37.95เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ปัจจัยด้านบวก ได้แก่ การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ราคาทองคำในตลาดโลกที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงปัจจัยด้านลบ ได้แก่ การแข็งค่าของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะแข็งค่าต่อเนื่องไปอีกสักระยะ ตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่อยู่ในระดับสูงขึ้น แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจัยบวกและปัจจัยลบดังที่กล่าวมานั้น ปัจจัยบวกและปัจจัยลบจะส่งผลเท่าๆ กัน ดังนั้นจึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ