สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1(มกราคม—มีนาคม)2554(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 20, 2011 14:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 2554 เศรษฐกิจแต่ละประเทศขยายตัว แต่มีแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ปัญหาการว่างงานที่ยังคงอยูในระดับสูงในบางประเทศ เช่นสหรัฐฯ และกลุ่มสหภาพยุโรป รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในยุโรป

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ 99.69 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี2553 อยู่ที่ 75.84 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน (ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554) ลดลง 2.62 USD/Barrelโดยมีราคาอยู่ที่ 97.18 USD/Barrel เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของสหรัฐฯและยุโรปประกอบกับกลุ่มโอเปคมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบให้มากขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันต่อภาวะเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 6.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 66.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.7 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 74.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 69.4 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 90.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 84.5

การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 16.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 18.2

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.0 อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.4

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และจะยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE2) ซึ่งเป็นมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 1 ปี 2554 ชะลอตัว เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหารและพลังงาน ตลอดจนความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่หดตัวกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว รวมทั้งแรงกดดันจากอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจชะลอคำสั่งซื้อและกิจกรรมการลงทุน

(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2553

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 9.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 16.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ102.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.6 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 24.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 26.5 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 54.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 57.7

การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 25.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 30.3 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 32.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 65.6

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.2

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2554 จากร้อยละ 6.06 เป็นร้อยละ 6.31 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของรัฐบาล และอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 1.8 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 0.5ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 38.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.3 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี2553 ขยายตัวร้อยละ 6.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 24.5 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 92.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ94.6

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2553

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 43.2 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 11.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.0

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.0เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -1.2 เป็นผลมาจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น(Bank of Japan) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 และยังคงมาตรการอัดฉีดเงินกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยกู้ให้กับภาคเอกชนที่ต้องการเงินทุนหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2554 คาดว่าชะลอตัว เนื่องจากเหตุแผ่นดินไหว สึนามิและวิกฤตนิวเคลียร์ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออกได้รับผลกระทบ การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนจะชะลอตัว โครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เสียหายรัฐบาลต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 2.2 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 6.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 6.7 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัว การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.1ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 98.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.9 และใน 2 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 100.8

การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 24.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552ที่หดตัวร้อยละ 7.5 สำหรับการส่งออกใน 2 เดือนแรกของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 29.5 การนำเข้าไตรมาส4 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 29.1 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 15.9สำหรับมูลค่าการนำเข้าใน 2 เดือนแรกของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 29.1

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.1 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.9

(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2553

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.25 (เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554) เนื่องจากเศรษฐกิจสหภาพยุโรปยังคงอยู่ในภาวะเปราะบาง

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2554 คาดว่าขยายตัวต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจสหภาพยุโรปจะได้รับแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงอัตราการว่างงานที่สูงมากของบางประเทศ

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

เศรษฐกิจประเทศฮ่องกงในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ปรับขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 21.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 1 ปี 2554 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 100.4 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากปริมาณการผลิตโลหะ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ขยายตัวเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาส 4 ปี2553ขยายตัวร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้าอุตสาหกรรม

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2554 ฮ่องกงมีมูลค่าการส่งออก 103,316 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ26.2 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2554 ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้า 115,423 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาอาหาร และค่าเช่าบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของภาษียาสูบ และต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นก็มีส่วนผลักดันการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเช่นกัน

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

เศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการใช้ไฟฟ้า ประปา และภาคการบริการที่ขยายตัว ขณะที่ทางฝั่งด้านอุปสงค์มีการส่งออกสินค้าและบริการเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญด้านตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4 จากการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร โรงแรม ภัตตาคาร รวมถึงภาคธุรกิจค้าปลีก และค้าส่งที่ปรับตัวลดลง

(6) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2553

  • ที่มา www.censtad.gov.hk, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

(7) - ที่มา www.eco.bok.or.kr, apecthai.org, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 143.5 ขยายตัวร้อยละ10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2554 เกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออก 131,299 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวได้ดีโดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ยังคงเป็นตลาดจีนที่ในไตรมาสนี้การส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ17.9 ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาฯ ขยายตัวร้อยละ 19.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2554เกาหลีใต้มีมูลค่าการนำเข้า 123,294 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าจากตลาดหลักอย่างจีน และญี่ปุ่นยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องธนาคารกลางเกาหลีใต้จึงมีการประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ2.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 (เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554)

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

เศรษฐกิจประเทศสิงคโปร์ในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ปรับขยายตัวเป็นสำคัญ

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 123.5 ขยายตัวร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 22.0จากการผลิตสินค้าในกลุ่มไบโอเมดิคอลที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับวิศวกรรมการวัดคุม (precision engineering) อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และภาคการผลิตทั่วไปที่มีการขยายตัว

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 4 ปี 2553 สิงคโปร์มีมูลค่าการส่งออก 95,009 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักต่างขยายตัวดี โดยการส่งออกไปยังฮ่องกง มาเลเซีย และจีน ขยายตัวร้อยละ 20.5, 13.7 และ 29.5 ตามลำดับ สำหรับในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2554 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 27.3 และ 22.2 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 81,959 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2554 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 19.5 และ13.0 ตามลำดับ

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากต้นทุนค่าขนส่ง ราคาที่อยู่อาศัย และราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ

(8) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2553

  • ที่มา www.singstat.gov.sg, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

เศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศ การลงทุน รวมถึงการส่งออกที่ขยายตัวดีเป็นสำคัญ

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 139.5 ขยายตัวร้อยละ5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 4 ปี 2553 อินโดนีเซียมีมูลค่าการส่งออก 46,863 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างญี่ปุ่น และจีน ขยายตัวร้อยละ 30.0 และ 55.5 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ต่างปรับขยายตัวดีเช่นกัน สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2554 ขยายตัวร้อยละ 26.0 และ 29.1 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2553 อินโดนีเซียมีมูลค่าการนำเข้า 38,274 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 34.1เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2554 ขยายตัวร้อยละ32.3 และ 23.7 ตามลำดับ

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ทั้งนี้ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 6.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.75 (เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554) ทั้งนี้เพื่อลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

เศรษฐกิจประเทศมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการบริการ และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวดี ขณะที่ทางฝั่งด้านอุปสงค์มีการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 114.1 ขยายตัวร้อยละ6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิตในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์2554 ขยายตัวร้อยละ 3.8 และ 7.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ดัชนีที่เพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นจากปริมาณการผลิตในกลุ่มปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้าในกลุ่มโลหะและอโลหะ สินค้าในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นสำคัญ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 4 ปี 2553 มาเลเซียมีมูลค่าการส่งออก 52,942 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปตลาดหลักอย่างสิงคโปร์ จีนและญี่ปุ่น ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 11.1, 9.3 และ 24.8 ตามลำดับ โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญเป็นสินค้าในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2554 ขยายตัวร้อยละ15.3 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2553 มาเลเซียมีมูลค่าการนำเข้า 44,744 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2554 ขยายตัวร้อยละ25.2

(9) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2553

  • ที่มา www.bi.go.id, apecthai.org, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

(10) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2553

  • ที่มา www.statistics.gov.my, www.bnm.gov.my, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกหมวด ยกเว้นเพียงหมดเสื้อผ้า รองเท้า และการสื่อสาร ทั้งนี้ดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ประปา ไฟฟ้า แก๊ส และเชื้อเพลิงอื่น รวมทั้งการขนส่งเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามในไตรมาส 1 ปี 2554 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.75 (เมื่อวันที่ 11มีนาคม 2444) เพื่อสนับสนุนการบริโภคของภาคเอกชน และการลงทุน

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)

เศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการเป็นสำคัญ ขณะที่ทางฝั่งด้านอุปสงค์ การลงทุนที่ขยายตัวดีตามความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกถือเป็นแรงขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 102.0 ขยายตัวร้อยละ 16.3เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีผลผลิตในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2554 ขยายตัวร้อยละ 16.8 และ 11.1 ตามลำดับ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 4 ปี 2553 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการส่งออก 13,123 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 21.8 ขณะที่การส่งออกไปยังจีน และสิงคโปร์ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 168.1 และ122.7 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 11.8 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4ปี 2553 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการนำเข้า 14,783 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 30.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 23.7

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยังอยู่ในกรอบอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายสำหรับปี 2554 ที่ตั้งไว้ที่ระดับร้อยละ 3-5โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร การขนส่งและราคาเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 (เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554) ทั้งนี้เพื่อควบคุมการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของภาคเอกชนอันจะนำไปสู่เสถียรภาพทางด้านราคา

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

เศรษฐกิจประเทศอินเดียในไตรมาส 4 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 366.0 ขยายตัวร้อยละ5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.6 และ 3.5 ตามลำดับ

(11) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2553

  • ที่มา www.nscb.gov.ph, www.bsp.gov.ph, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

(12) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2553

  • ที่มา commerce.nic.in, apecthai.org, www.ceicdata.com

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2554 อินเดียมีมูลค่าการส่งออก 73,336.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 42.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 1 ปี 2554อินเดียมีมูลค่าการนำเข้า 95,031.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ขยายตัวร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาอาหาร และราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางอินเดียจึงมีการประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาส 1 ปี2554 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 6.75

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ