สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2554(เศรษฐกิจไทย)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 6, 2011 13:17 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ1 หรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 และชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.0 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 คือ อุปสงค์ในประเทศชะลอลง โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 การบริโภคหมวดอาหาร และการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายซื้อสินค้า กึ่งคงทนและสินค้าไม่คงทนชะลอตัวลง ส่วนการใช้จ่ายหมวดบริการลดลง ปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือน เช่น รายได้เกษตรกรที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามราคาพืชผล อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมทั้งภาวะอุทกภัยในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยโดยรวม สำหรับอุปสงค์ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นมาก โดยการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิขยายตัวเป็นผลมาจากทั้งการส่งออกและการนำเข้าที่ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553

ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และชะลอตัวจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 22.9 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของอุตสาหกรรมสำคัญ คือการผลิต Hard Disk Drive ที่ลดลงตามการส่งออก และโรงกลั่นน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุง ประกอบกับอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มชะลอตัวลงในปลายไตรมาส จากผลกระทบของการขาดแคลนชิ้นส่วนจากภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 ชะลอลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.8

สำหรับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 พบว่าบางตัวมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต โดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย Hard Disk Drive เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์ น้ำตาล เป็นต้น ส่วนมูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.60 (ม.ค.-มิ.ย. 54) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

ในส่วนของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและภาวการณ์ลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 181.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (187.7) ร้อยละ 3.4 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (186.4) ร้อยละ 2.7

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ น้ำตาล เครื่องแต่งกาย โทรทัศน์ เครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย Hard Disk Drive โทรทัศน์ เครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 2.4 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับเพชรพลอย ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 179.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (191.6) ร้อยละ 6.1 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (188.3) ร้อยละ 4.5

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ เหล็ก โทรทัศน์ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ เส้นใยสิ่งทอ Hard Disk Drive โทรทัศน์ เหล็ก เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 2.1 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลง ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เส้นใยสิ่งทอ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง โทรทัศน์ เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดแคลน (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 185.8 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (185.0) ร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (183.6) ร้อยละ 1.2

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ Hard Disk Drive เส้นใยสิ่งทอ น้ำตาล อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ น้ำตาล Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 1.4 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ Hard Disk Drive น้ำตาล ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตเต็มที่ (ตารางที่ 1) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 58.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 62.6) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (ร้อยละ 62.4)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์ น้ำตาล เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์ เส้นใยสิ่งทอ เม็ดพลาสติก เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์ Hard Disk Drive เม็ดพลาสติก เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเฉลี่ยรวมมีค่า 80.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย (80.7) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (75.9) โดยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมและดัชนีเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 สำหรับดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้บริโภคประสบปัญหาราคาน้ำมันปาล์มและสินค้าอื่นๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันปรับราคาสูงขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองหลังจากการเลือกตั้งว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามหากพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเป็นรายเดือน จะเห็นว่าดัชนีในเดือนมิถุนายน 2554 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากประชาชนมีความหวังว่าหลังการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่จะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ปรับตัวดีขึ้นได้

เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละดัชนี พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่า 71.3 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (71.9) และยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคกังวล

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่า 71.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (72.4) และยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวการณ์จ้างงานโดยรวมยังไม่ดีมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่า 98.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.9) แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แม้ผู้บริโภคจะกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต แต่ระดับความเชื่อมั่นยังคงสูงกว่าความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจและโอกาสหางานทำ

จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่าเท่ากับ 50.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (53.1) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (49.3) โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีโดยรวมมีค่าสูงกว่า 50 แสดงว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจดี ผู้ประกอบการมองว่าภาวการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มที่ดี สำหรับดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุนของบริษัท การจ้างงานของบริษัท และการผลิตของบริษัท

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ผลประกอบการของบริษัท คำสั่งซื้อทั้งหมด การลงทุนของบริษัท การจ้างงานของบริษัท และการผลิตของบริษัท

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่ามาก สร้างความปรองดองอย่างแท้จริง ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สนับสนุนการผลิตเหล็กต้นน้ำ และผลักดันโครงการขนาดใหญ่เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2554 อยู่ที่ระดับ 131.0 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 130.9 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ณ ราคาคงที่ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ดัชนีส่วนกลับราคาน้ำมันดิบ มูลค่าการส่งออก ณ ราคาคงที่

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่าเฉลี่ย 129.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 127.4

ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ

ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 2554 อยู่ที่ระดับ 122.7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 121.0 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ (รถยนต์นั่งและรถยนต์เชิงพาณิชย์) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่

สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่าเฉลี่ย 121.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 122.5

การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on Private Consumption) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 5) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่า 140.9 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (139.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (135.0) ซึ่งเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยเครื่องชี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์

การลงทุนภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรภายในประเทศ ณ

จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีโดยเฉลี่ยมีค่า 107.4 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา (107.7) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (99.1) การที่ค่าดัชนียังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นว่าภาวการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ดี อย่างไรก็ตาม เดือนมิถุนายน 2554 ดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 107.4 จากระดับ 108.3 ในเดือนพฤษภาคม 2554 แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 โดยค่าดัชนีที่ปรับลดลงเป็นผลมาจากการลดลงของดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2554 ลดลงคือภาวะน้ำท่วมหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ความกังกลเกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศ และสถานการณเศรษฐกิจโลก ขณะที่ต้นทุนการผลิตยังปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ได้แก่ ขอให้ภาครัฐเร่งหาแนวทางการลดผลกระทบจากการปรับราคาคงที่ พบว่า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมมีค่า 204.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (200.2) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (185.0)

หากแยกตามรายการสินค้า พบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ลดลงจาก ไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553

การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553

ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ตามการเพิ่มขึ้นของปัจจัยหลักทั้ง 4 ประการข้างต้น

ภาวะราคาสินค้า

จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคมีค่าเท่ากับ 112.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (110.0) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (107.9) การที่ราคาผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตามราคาแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ผักและผลไม้ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคายานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีค่าเท่ากับ 138.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (136.2) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (131.2) โดยราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2553 สำหรับราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในไตรมาสที่สองของปี 2554 (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 38.361 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 37.819 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.59 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.203 ล้านคน (คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.53)

สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไตรมาสที่สองของปี 2554 มีจำนวน 5.613 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 14.84 ของผู้มีงานทำทั้งหมด

การค้าต่างประเทศ

สถานการณ์การค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 นี้ การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 115,456.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 58,103.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 57,353.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 นั้นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.16 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.86 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดุลการค้าเกินดุล 749.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.44 สำหรับมูลค่าการนำเข้านั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.16

การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน พบว่าการส่งออกทั้ง 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน) ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีมูลค่าการส่งออกอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนมีมูลค่าการส่งออกถึง 21,074.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 16.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเดือนเมษายนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.98 และเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 17,563.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 19,464.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 42,091.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 72.44) สินค้าเกษตรกรรม 7,428.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 12.79) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 4,884.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.41) และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง 3,698.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.36)

เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะพบว่าการส่งออกของสินค้าในทุกหมวดมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.97 สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.72 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.04 และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.12

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 9,107.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.92) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 8,735.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.60) อัญมณีและเครื่องประดับ 6,545.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.69) ยางพารา 6,453.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 5.61) เม็ดพลาสติก 4,467.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.89) เคมีภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออก 4,133.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.60) แผงวงจรไฟฟ้า 4,126.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อละ 3.59) ผลิตภัณฑ์ยาง 4,000.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.48) น้ำมันสำเร็จรูป 3,914.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.40) และข้าว 3,498.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.04) โดยมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 54,982.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 47.82 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

ตลาดส่งออก

การส่งออกไปยังตลาดหลักของไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ซึ่งได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 55.33 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกในตลาดสำคัญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยมูลค่าการส่งออกในตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.90 ตลาดกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.62 ตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.70 และตลาดญี่ปุ่นมีมูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวดีถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ โดยมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.54

โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด โดยมีมูลค่าการนำเข้า 24,351.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 42.46) รองลงมาเป็นการนำเข้าสินค้าทุน โดยมีมูลค่า 14,112.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 24.61) สินค้าเชื้อเพลิง 11,753.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 20.49) สินค้าอุปโภคบริโภค 5,156.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 8.99) สินค้าหมวดยานพาหนะ 1,880.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.28) และสินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่นๆ 99.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 0.17) ตามลำดับ

โดยมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 นี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าการนำเข้าสินค้าในทุกหมวดหลักมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าอาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.32 สินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.32 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.07 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.55 สินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.39 และหมวดสินค้ายานพาหนะ และอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23

แหล่งนำเข้า

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนนำเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 48.60 เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากทุกแหล่งนำเข้าหลัก โดยการนำเข้าสินค้าจากสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.83 สหรัฐอเมริกามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.59 กลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.16 และญี่ปุ่นมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.29

แนวโน้มการส่งออก ปี 2554

กระทรวงพาณิชย์ปรับเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2554 ใหม่เป็นร้อยละ 15 มูลค่า 2.24 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกปี 2554 มียอดส่งออกแล้วคิดเป็นมูลค่า 1.14 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกแม้จะลดลงจากปี 53 บ้าง โดยไตรมาสแรกส่งออกโตร้อยละ 28 ไตรมาส 2 โตร้อยละ 20 และคาดว่า ไตรมาส 3 และไตรมาสที่ 4 ปีนี้ จะเติบโตร้อยละ 17 และร้อยละ 15 ตามลำดับซึ่งเมื่อเฉลี่ยรวมตลอดปี 54 แล้ว คาดว่าจะทำให้การส่งออกของไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายส่งออกเติบโตที่ร้อยละ 15 จากปี 53 ได้ เพราะปัจจุบันสินค้าไทยเริ่มได้รับความนิยมคุณภาพมาตรฐานทั่วโลกโดยเฉพาะคู่แข่งอย่างจีนที่ถูกกว่าไทยแต่คุณภาพด้อยกว่าไทย เช่น ตะวันออกกลาง เครื่องปรับอากาศได้รับการยอมรับมากกว่าของจีน

อย่างไรก็ตามในช่วง 6 เดือนนับจากนี้ไป จะมีความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่ไม่ฟื้นดีนัก ภัยธรรมชาติในประเทศคู่ค้าอย่างญี่ปุ่น แต่กรณีญี่ปุ่นกลับทำให้มียอดสั่งซื้อจากไทยมากขึ้นโดยมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 30 นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องระมัดระวัง ภัยการเมืองตะวันออกกลาง ราคาน้ำมันที่กระทบต้นทุนการผลิต ค่าแรงในไทยที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางกรมส่งเสริมการส่งออกได้กำหนดหลายมาตรการเพื่อช่วยให้ภาคเอกชนส่งออกได้มากขึ้นและไม่มีผลกระทบ 6 เดือนหลัง โดยตั้งคณะกรรมการดูแลสินค้าส่งออกหลัก 8 รายการ เพื่อดูแลช่วยเหลือภาคเอกชนโดยเป็นแกนกลางประสานงานช่วยเหลือ และสำนักงานต่างประเทศคอยรายงานแนวโน้มและอุปสรรคในการส่งออกให้ อีกทั้งจัดกิจกรรมสนับสนุนการส่งออก

การลงทุนจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคมมีมูลค่ารวม 23,891.25 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนเมษายนมีมูลค่า 13,815.00 ล้านบาท สำหรับเดือนกุมภาพันธ์มีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 10,076.25 ล้านบาท เมื่อพิจารณาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้ง 2 เดือน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 นั้นพบว่ามูลค่าการลงทุนในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 10,897.54 ล้านบาท และในเดือนพฤษภาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 2,764.42 ล้านบาท โดยการลงทุนในเดือนเมษายนและพฤษภาคมของสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าการลงทุนลดลงร้อยละ 41.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุดเป็นเงินลงทุน 13,661.96 ล้านบาท โดยหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งซึ่งมีเงินลงทุนมากที่สุดเป็นจำนวน 3,331.37 ล้านบาท รองลงมาคือหมวดโลหะและอโลหะมีการลงทุนสุทธิ 2,484.16 ล้านบาท และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีเงินลงทุน 1,971.05 ล้านบาท

ประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในประเทศไทยมากที่สุดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2554 คือประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีเงินลงทุนสุทธิ 6,193.09 ล้านบาท รองลงมาคือประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 5,779.37 ล้านบาท และ 4,899.13 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 446 โครงการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนโครงการ 346 โครงการ โดยใน ไตรมาสที่ 2 นี้การลงทุนในกิจการต่างๆ มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 143,400 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87 โดยโครงการลงทุนนั้นประกอบด้วยโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 172 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 56,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 96 โครงการ เป็นเงินลงทุน 37,000 ล้านบาท และโครงการที่ลงทุนจากไทย 100% จำนวน 178 โครงการ เป็นเงินลงทุน 50,300 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาตามหมวดของการเข้ามาลงทุนในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดเคมี กระดาษและพลาสติกมีเงินลงทุน 36,000 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่งมีเงินลงทุน 32,000 ล้านบาท และหมวดบริการ และสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 26,000 ล้านบาท

สำหรับแหล่งทุนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นยังคงมีมูลค่าการลงทุนมากที่สุด โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 137 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 50,801 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ที่มีจำนวน 24 โครงการ มีเงินลงทุน 15,823 ล้านบาท ประเทศไต้หวันได้รับการอนุมัติลงทุนจำนวน 8 โครงการ เป็นเงินลงทุน 3,642 ล้านบาท และประเทศเกาหลีใต้ 10 โครงการ โดยคิดเป็นเงินลงทุน 3,587 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ