สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 17, 2012 14:27 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2555 ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศอาหารทะเลแช่แข็ง ทั้งนี้ สถานการณ์การฟื้นฟูภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่เสียหายจากน้ำท่วมในเดือนมีนาคมยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง สามารถดำเนินการผลิตได้แล้วกว่าร้อยละ 60 ของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 5.0 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งจะหดตัวเพียงร้อยละ 2.0

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) เดือนมีนาคม 2555 ลดลงร้อยละ 3.2เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลแช่แข็ง ทั้งนี้ สถานการณ์การฟื้นฟูภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่เสียหายจากน้ำท่วมในเดือนมีนาคมยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง สามารถดำเนินการผลิตได้แล้วกว่าร้อยละ 60 ของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งก็รวมถึง บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด ที่เริ่มกลับมาผลิตได้ในวันที่ 31 มีนาคมหลังหยุดผลิตไป 6 เดือน

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนมีนาคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 68.07 จากร้อยละ 62.45 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 และร้อยละ 66.08 ในเดือนมีนาคม 2554

หมายเหตุ

(1)ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2)อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ลดลงหรือหดตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่หากหักการส่งออกทองคำการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำหดตัวที่ร้อยละ 2.0

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(มีนาคม 2555)อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำ ตาล) เดือนมีนาคม 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.7 กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.0 และ 22.4 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และความต้องการเนื้อไก่จากสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น สำหรับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายปีก่อน อุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มและเบียร์ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้โรงงานดังกล่าวขณะนี้ได้เริ่มกลับมาทำการผลิตแล้ว

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในผลิตภัณฑ์ เส้นใยสิ่งทอฯผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนู และผ้ายางยืด ร้อยละ 35.80, 21.99, 5.14, และ16.73 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.38 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 6.08 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 16.27และลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 10.68 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงแบนมีการผลิตลดลง ร้อยละ 2.06 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 22.96 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 10.08 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CISณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนเมษายน2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้นเหล็กแท่งเล็ก Billet ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กทรงตัว คือ เหล็กแท่งแบน สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน 190,935 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 172,004 คัน ร้อยละ 11.01 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ13.50 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน สำหรับการส่งออกมีจำนวน 89,815 คัน คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 85,626 คัน ร้อยละ4.89 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 13.22 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไป เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ9.50 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.85

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ