สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 20, 2012 15:28 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนมิถุนายน 2555 กลับมาติดลบอีกครั้งหนึ่ง หลังจากขยายตัวเป็นบวกในเดือนพฤษภาคม โดยหดตัวหรือติดลบร้อยละ 9.6 ทั้งนี้มาจากการติดลบหรือหดตัวค่อนข้างมากในอุตสาหกรรม Hard disk drive และแผงวงจรไฟฟ้า โดยสาเหตุเกิดจากปัจจัยทางเทคนิค ในส่วนของฐานการคำนวณที่สูงมากใน 2 อุตสาหกรรม คือ Hard disk drive และแผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2554 ทั้ง 2 อุตสาหกรรมฟื้นตัวกลับมาได้หลังเหตุการณ์สึนามีที่ญี่ปุ่น ทำให้มีการเร่งผลิตเป็นอย่างมาก รวมถึง ในอุตสาหกรรม Hard disk drive และแผงวงจรไฟฟ้า มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 15 ใน MPI ดังนั้น เมื่อ 2 อุตสาหกรรมนี้มีการเปลี่ยนแปลงจึงส่งผลต่อ MPI ค่อนข้างมาก สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.6 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 1.0

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) หรือ MPI เดือนมิถุนายน 2555 กลับมาติดลบอีกครั้งหนึ่ง หลังจากขยายตัวเป็นบวกในเดือนพฤษภาคม โดยหดตัวหริอติดลบร้อยละ 9.6 ทั้งนี้มาจากการติดลบหรือหดตัวค่อนข้างมากในอุตสาหกรรม Hard disk drive และแผงวงจรไฟฟ้า โดยสาเหตุเกิดจากปัจจัยทางเทคนิคในส่วนของฐานการคำนวณที่สูงมากใน 2 อุตสาหกรรม คือ Hard disk drive และแผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งในเดือน มิถุนายน2554 ทั้ง 2 อุตสาหกรรมฟื้นตัวกลับมาได้หลังเหตุการณ์สึนามีที่ญี่ปุ่น ทำ ให้มีการเร่งผลิตเป็นอย่างมาก รวมถึง ในอุตสาหกรรม Hard disk drive และแผงวงจรไฟฟ้า มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 15 ใน MPI ดังนั้น เมื่อ 2 อุตสาหกรรมนี้มีการเปลี่ยนแปลงจึงส่งผลต่อ MPI ค่อนข้างมาก

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนมิถุนายน2555 อยู่ที่ร้อยละ 72.41 จากร้อยละ 74.26 ในเดือนพฤษภาคม 2555 และร้อยละ 64.44 ในเดือนมิถุนายน 2554

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.6 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 1.0

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(มิถุนายน 2555)อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายน 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.9 สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23.9 และ 18.8 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน และโรงงานแปรรูปไก่เริ่มผลิตไก่เพื่อรองรับการที่สหภาพยุโรปยกเลิกประกาศห้ามนำเข้าไก่สดจากประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2555

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในผลิตภัณฑ์ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ โดยลดลงร้อยละ 36.57,12.54, 15.32, และ 11.78 ตามลำดับ โดยมีเครื่องนอนและผ้าขนหนู ผ้าลูกไม้ และผ้ายางยืด ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.91, 1.60 และ 12.99 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.43 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.91 แต่เหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 10.70 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก(FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กมีดัชนีราคาลดลงทุกตัว

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน 205,600 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งมีการผลิต 153,646 คัน ร้อยละ 33.81 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2555 ร้อยละ 0.92 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออก มีจำนวน 94,727 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งมีการส่งออก 75,651 คัน ร้อยละ25.22 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนียตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 28.33 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีก่อน ทำให้สายการผลิตเสียหาย และไม่สามารถผลิตสินค้าได้เต็มกำ ลังการผลิต อย่างไรก็ตามในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตชิ้นส่วนในโซ่อุปทานเริ่มกลับมาผลิตได้แล้ว เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.95 แต่สำหรับอุตสาหกรรมครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.23ฃ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ