ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 25, 2020 15:23 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกรกฎาคม การผลิตหดตัวร้อยละ 12.9 เดือนสิงหาคม หดตัวร้อยละ 9.1 และเดือนกันยายน หดตัวร้อยละ 2.2

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 5.3 เดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 5.2 และเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 3.9

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนตุลาคม 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 3.32 จากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังคงชะลอตัวจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การส่งออกรวมยังคงลดลง อย่างไรก็ตามตลาดในประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากรถบรรทุกปิคอัพ เครื่องยนต์ และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก

เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 17.21 จากตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก ที่ลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจในประเทศและประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นชะลอตัว และผู้ผลิตบางรายยังคงหยุดผลิตชั่วคราว

อาหารทะเลแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 14.14 จากการผลิตกุ้งและปลาแช่แข็งที่ลดลง ส่วนหนึ่งมาจากการลดปริมาณการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนตุลาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 เนื่องจากโรงกลั่น 2 ราย หยุดซ่อมบำรุงใหญ่ในปีก่อนแต่ปีนี้เป็นการซ่อมบำรุงเพียงบางหน่วยและเริ่มกลับมาผลิตตามปกติแล้ว

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.07 ตามความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น รวมถึงยังมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ช่วงนี้ยังมีการเร่งผลิตและส่งมอบ

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนตุลาคม 2563

การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย
  • การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 1,271.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.67 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปไม้ และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบเครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก ยังคงขยายตัวได้
  • การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 7,053.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.63 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ (เหล็กและเหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้า) ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
  • โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนตุลาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 182 โรงงาน ลดลงจากเดือนกันยายน 2563 ร้อยละ 45.0 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 38.51 (%YoY)
  • มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่ารวม 13,434 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกันยายน 2563 ร้อยละ 13.57 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 62.35 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนตุลาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 21 โรงงาน และอุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 14 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 2,884 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำหม้อเก็บพลังงานไฟฟ้าหรือหม้อกำเนิดพลังงานไฟฟ้าชนิดน้ำหรือชนิดแห้ง และรวมถึงชิ้นส่วน จำนวนเงินทุน 2,070 ล้านบาท

+ จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนตุลาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 80 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2563 ร้อยละ 56.86 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.98 (%YoY)

  • เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่ารวม 2,673 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2563 ร้อยละ 55.09 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 112.39 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนตุลาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 12 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการดูดทราย จำนวน 6 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนตุลาคม 2563 คือ อุตสาหกรรมการทำส่วนประกอบสำหรับใช้ในการก่อสร้างอาคาร มูลค่าเงินลงทุน 598 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำอาหารหรือเครื่องดื่มจากผัก พืชหรือผลไม้ มูลค่าเงินลงทุน 545 ล้านบาท?

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนตุลาคม 2563

1. อุตสาหกรรมอาหาร
  • การผลิต ดัชนีผลผลิตในภาพรวมกลุ่มสินค้าอาหารเดือนตุลาคม 2563 ปรับตัวลดลง (%YoY) ร้อยละ 1.0เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง รวมถึงความต้องการบริโภคสินค้าบางชนิดในต่างประเทศชะลอตัว สำหรับสินค้าที่มีผลต่อการปรับลดลงของดัชนีผลผลิต มีดังนี้ (1) กุ้งแช่แข็ง ลดลง(%YoY) ร้อยละ 14.5 (2) เนื้อไก่สุกปรุงรส ลดลง (%YoY)ร้อยละ 9.2 (3) น้ำตาลลดลง (%YoY) ร้อ ย ล 2.7 และ (4) แป้งมันสำปะหลัง ลดลง (%YoY) ร้อยละ 0.9

ทั้งนี้ หากไม่รวมน้ำตาล ภาพรวมดัชนีผลผลิตอาหารขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) นอกจากนี้ ผลผลิตอาหารจากผลไม้และผักแปรรูปขยายตัว(%YoY) ร้อยละ 20.0 โดยมาจากสินค้ากลุ่มผลไม้และผักบรรจุกระป๋องเป็นหลัก เนื่องจากมีความต้องการต่อเนื่องในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัสโควิด-19

  • การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนตุลาคม 2563 หดตัว (%YoY) ร้อยละ 2.1 จากสินค้าบางประเภท เช่น น้ำตาล หดตัว (YoY) ร้อยละ 34.4 ผักผลไม้แช่แข็งหดตัว (%YoY) ร้อยละ 29.5 ปลากระป๋อง หดตัว (%YoY) ร้อยละ 17.2 และแป้งมันสำปะหลัง หดตัว (%YoY) ร้อยละ 14.9
  • ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 2,293.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ร้อยละ 13.6 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ (1) น้ำตาลทรายเนื่องจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายลดลง ประกอบกับบราซิลเพิ่มสัดส่วนการผลิตน้ำตาล ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อ
ราคาเอทานอลที่มีแนวโน้มลดลง (2) ข้าว เนื่องจากประเทศคู่ค้า เช่นแอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา แองโกลา และจีน มีการสต๊อกข้าวที่เพียงพอ(3) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลผลิต ทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง (4) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเนื่องจากมีการกักตุนสินค้าในช่วงก่อนหน้าเพียงพอ และ (5) ไก่แปรรูปเนื่องจากประเทศผู้นำเข้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ลดการนำเข้า รวมถึงร้านอาหารในตลาดยุโรปยังไม่สามารถเปิดได้ตามปกติ นอกจากนี้ การส่งออกอาหารซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบโลจิสติกส์ทางเรือยังได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้ค่าระวางเพิ่ม รวมถึงมีการปรับขึ้นของค่าใช้จ่ายที่เก็บบริเวณท่าเรือเฉลี่ยอีกร้อยละ 10 ส่งผลต่อการเพิ่มต้นทุนของผู้ประกอบการ

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมเดือนพฤศจิกายนหดตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากวัตถุดิบสินค้าเกษตร เช่น อ้อย ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงาน การบริโภคในประเทศคาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐรวมถึงมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติประเภทพิเศษที่ได้รับspecial tourist visa (STV) เข้ามาพำนักระยะยาวในไทย สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะหดตัวลดลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว มาตรการคุมเข้มเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศยุโรป และปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทางเรือ

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

+ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 93.2 สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตู้เย็น หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน เครื่องซักผ้าและหม้อหุงข้าว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.0, 32.0, 31.3, 22.5, 17.7 และ 0.5ตามลำดับ โดยตู้เย็น เครื่องซักผ้า และหม้อแปลงไฟฟ้า มีการจำหน่าย ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนกระติกน้ำร้อน มีการจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สายเคเบิ้ล สายไฟฟ้าคอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศ และเตาอบไมโครเวฟ โดยลดลงร้อยละ 19.0, 14.3, 9.5, 4.6, 2.8 และ 1.7 ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากในประเทศและต่างประเทศลดลง

+ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 2,206.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบมีมูลค่า 176.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.0 จากตลาดสหรัฐอเมริกาและจีน ที่มีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น และเครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบมีมูลค่า 109.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.4 ในตลาดสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่นและอาเซียน ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มูลค่า 61.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.6 ในตลาดญี่ปุ่นและจีน

?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤศจิกายน 2563 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลพลอยได้จากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความไม่แน่นอนจึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทยสามารถส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยังตลาดสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่สนับสนุนให้เกิดการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น?

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

+ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5เมื่อ เทีย บ กับ เดือ น เดีย ว กัน ข อ งปีก่อ น โด ย มีดัช นีผ ล ผ ลิตอยู่ที่ระดับ 101.0 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer,PWB, Semiconductor devices transistor, IC, และ PCBA โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6, 21.4, 4.9, 4.4 และ 4.3 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงได้แก่ HDD โดยลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดต่างประเทศลดลง

+ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,288.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดย IC มีมูลค่า 111.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อาเซียนและจีน และสินค้า Semiconductor devices transistor มีมูลค่า 205.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีนและอาเซียน ในขณะที่สินค้า HDD มีมูลค่า 833.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.3 ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นเนื่องจากคำสั่งซื้อในตลาดต่างประเทศลดลง

?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤศจิกายน 2563 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจาก Semiconductor devices transistor เป็นสารกึ่งตัวนำที่ใช้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโซลาร์เซลล์ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงความต้องการ HDD ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น?

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

การผลิตรถยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีจำนวน 149,360 คัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนกันยายน ปี 2563 ร้อยละ 0.66 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.24 (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีจำนวน 74,115 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2563 ร้อยละ 4.87(%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.35 (%YoY)จากการปรับลดลงของการจำหน่าย รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รวมทั้งรถยนต์ PPV และรถยนต์ SUV มีการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัวการส่งออกรถยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีจำนวน 71,372 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2563 ร้อยละ 11.62(%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.57(%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาดเอเชีย โอเชียเนียแอฟริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และอเมริกากลางและใต้ จากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกในภาพรวมมีการฟื้นตัวจากเดือนที่ผ่านมา

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบ กับ เดือน พฤศจิกายน ปี 2562 เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว?

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

+ การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2563มีจำนวน 166,636 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2563 ร้อยละ 4.59(%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.30 (%YoY) จาก ก รเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มียอดจำหน่ายจำนวน 126,323 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2563ร้อยละ 5.33 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ11.31 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีจำนวน 25,363 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2563 ร้อยละ 11.05(%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.66 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนปี 2562 เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว?

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

การผลิต
  • ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ
น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 8.17 โดยเป็นการปรับลดลง
ในยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด ตามปริมาณผลผลิตยางที่เข้าสู่
ตลาดลดลงเนื่องจากมีฝนตกชุกในพื้นที่กรีด

+ ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.44 ตามการขยายตัว ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและตลาดส่งออก

+ ถุงมือ ย ง เพิ่ม ขึ้น ร้อ ย ล 30.28 เนื่อ งจ ก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความ ต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การจำหน่ายในประเทศ

+ ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.43 โดยเป็นการขยายตัวในผลิตภัณฑ์น้ำยางข้นตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น

+ ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 ตามการปรับตัวดีขึ้นของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ

  • ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 28.75 เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศปรับลดการส่งสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง และหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น
การส่งออก

+ ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.11 ตามความต้องการใช้ของสเปน ไต้หวัน และญี่ปุ่น ที่ปรับตัวสูงขึ้น

+ ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.69 ตามการเร่งกักตุนสินค้าของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการขยายตัวของตลาดเกาหลีใต้ และมาเลเซีย ต่อเนื่องจากเดือนก่อน

+ ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 164.15 ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2563

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควันยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากฝนที่ตกชุกในพื้นที่กรีดยางทำให้มีแนวโน้มปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้นของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ รวมถึงการขยายตัวของตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดี ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวลงตามการปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางของผู้ผลิตถุงมือยางไทย

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควันยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดหลักของไทยในสินค้าดังกล่าว อาทิ จีนมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้มีแนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราจากไทยสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามการเร่งนำเข้าเพื่อกักตุนสินค้าก่อนการประกาศผลการพิจารณาความเสียหายเบื้องต้น กรณีการไต่สวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) กับสินค้า Passenger Vehicle and Light Truck Tires ของไทยในสหรัฐอเมริกา สำหรับการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นในตลาดทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า
  • ดัชนีผลผลิต เดือนตุลาคม 2563 ดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 88.33 หดตัวร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยดัชนีผลผลิตหดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะ ครัว อาหาร และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 26.41 ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 14.86 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆหดตัวร้อยละ 14.39
  • ดัชนีการส่งสินค้าเดือนตุลาคม 2563 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 86.07 หดตัวร้อยละ 7.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะครัว อาหาร และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 43.80 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 16.54 และแผ่นฟิล์มพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.53
  • การส่งออก เดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 358.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 0.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกหดตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 22.86 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร(HS 3925) หดตัวร้อยละ 16.30 และกลุ่มผลิตภัณฑ์หลอด หรือท่อ(HS 3917) หดตัวร้อยละ 9.66 การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น
ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า
  • การนำเข้า เดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 380.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 7.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3921) หดตัวร้อยละ 22.31กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 16.88 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 11.97

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนพฤศจิกายน 2563 คาดการณ์ว่าการผลิตจะยังคงหดตัว แต่การส่งออกจะขยายตัวอย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงเพิ่มขึ้นในประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐฯ และอินเดีย รวมถึงการระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยและอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลาสติก

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
  • ดัชนีผลผลิต เดือนตุลาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 91.18หดตัวร้อยละ 12.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัว ร้อยละ 11.63ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ 21.45 สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย หดตัวร้อยละ 12.73ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุด ได้แก่ การผลิตผงซักฟอกหดตัวร้อยละ 33.81
  • ดัชนีการส่งสินค้า เดือนตุลาคม 2563 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 92.40 หดตัวร้อยละ 12.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้า
ในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 11.58 หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์โซดาไฟ และเอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายดัชนีการส่งสินค้าหดตัว ร้อยละ 12.32 หดตัวในหลาย ๆกลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยเคมี สี แป้งฝุ่น และน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น
  • การส่งออก เดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 688.56 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 376.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.11 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 312.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.20 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่นปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 32.91 เครื่องสำอาง หดตัวร้อยละ 19.00 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หดตัวร้อยละ 10.02 การส่งออกหดตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม
  • การนำเข้า เดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 1,180.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการนำเข้า 764.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.93 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 416.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.27

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนพฤศจิกายน 2563 การผลิตและการส่งออกคาดว่าจะหดตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงระบาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงการระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกของไทย

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

+ ดัชนีผลผลิต ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือนตุลาคม ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 114.36 หรือขยายตัวร้อยละ 2.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 3.23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene และ Ethyleneขยายร้อยละ 5.88 และ 0.34 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin แ ล Polypropylene resin (PP) ข ย ย ตัวร้อยละ 27.80 และ 5.67

+ ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 109.33 หดตัวร้อยละ 2.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Benzene และ Ethylene หดตัวร้อยละ 13.01 และ 6.94 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin, Polystyrene และ Polyethylene หดตัวร้อยละ 17.37 9.77 และ 2.22 ตามลำดับ

  • การส่งออก การส่งออกเดือนตุลาคม ปี 2563 มีมูลค่า 838.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 14.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 0.28 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น และ Ethylene Propylene Toluene เป็นต้น หดตัวร้อยละ 43.31 และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น Ps resin, SAN resin, PVC resin และ PET resin เป็นต้น หดตัวร้อยละ 6.33

+ การนำเข้า การนำเข้าเดือนตุลาคม ปี 2563มีมูลค่า 419.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 1.48เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 19.89 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น O-xylene และ Vinyl Chloride เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 43.91 แต่หดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น SAN resin, PC resin, Nylon resin และ PET resin เป็นต้น หดตัวร้อยละ 9.22

คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือน พ ฤศจิกาย น ปี 2563 ค ดว่า ภ พ รวม ของอุตสาหกรรมจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และความกังวลของตลาดโลกกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ (Second Wave Covid-19) อาจทำให้การส่งออกยังคงไม่เข้าสู่สภาวะปกติ

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

+ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม 2563 มีค่า 90.6 ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2) ตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น จากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 91.7 ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากการผลิตเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 46.8 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และลวดเหล็กแรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 8.3 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 86.9 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 108.2 และ 100.2 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ เป็นต้น และการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ที่ขยายตัวร้อยละ 29.5

  • การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 1.4 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6) โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 3.6 จากการจำหน่ายเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 8.9 และเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 1.9 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 14.2 จากการจำหน่ายเหล็กแผ่นหนารีดร้อน หดตัวร้อยละ 60.3 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 17.0 และ 12.2 ตามลำดับ
  • การนำเข้า ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12) โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 26.2 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Alloy Steel ซึ่งหดตัวร้อยละ 73.7 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel และ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 59.7 และ 41.3 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีปริมาณนำเข้า 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 19.9 จากการ
นำเข้าเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel ซึ่งลดลงร้อยละ 97.1 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และ ญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรีดเย็น และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel P&O หดตัวร้อยละ 84.3 และ 57.1 ตามลำดับ

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2563 ค ดการณ์ว่า การผ ลิต จะท รงตัวเมื่อเทีย บ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะรวมถึงนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย และส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ และการดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ?

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต
  • เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 14.99 20.46 และ 15.78 (YoY) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังส่งผลต่อการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ทำให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า การผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 3.15 และ 9.86 จากการที่คู่ค้าหลายประเทศผ่อนคลายให้ทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น
การจำหน่ายในประเทศ
  • เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 11.67 20.84 และ 18.00 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่าการจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 6.79 4.86และ 2.83 ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น
การส่งออก
  • เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่าลดลงร้อยละ 11.95 24.73 และ 21.33 ต ม ลำดับ จากภ วะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตลาดสำคัญที่ลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)พบว่า การส่งออกเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัว ร้อยละ 4.99 5.10 และ 9.76 จากการส่งออกเส้นใยและผ้าผืน ไปยังจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าปลายน้ำ และส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบ ลเยียม ซึ่งส่วนห นึ่งมาจากความสามารถในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ของหลายประเทศ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้เริ่มมีความต้องการสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้น
คาดการณ์แนวโน้มเดือนพฤศิกายน 2563

คาดว่า ภาวะอุตส ห กรรม สิ่งท อและเครื่องนุ่งห่มจะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวทั้งในภาคการผลิตและการส่งออก

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

+ การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีจำนวน 6.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2563ร้อยละ 1.82 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.96 (%YoY)

+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนตุลาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 2.89 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2563 ร้อยละ 0.78 (%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.86 (%YoY)

+ การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนตุลาคมปี 2563 มีจำนวน 1.02 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกันยายนปี 2563 ร้อยละ 7.85 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.95 (%YoY) เป็นผลจากการปรับเพิ่มคำสั่งซื้อเป็นปริมาณสูงในตลาดหลัก ได้แก่ บังคลาเทศและเวียดนาม

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าปริมาณการผลิตจะลดลงแต่ถือได้ว่าลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนทั้งที่ในปี 2563 นี้ การผลิตได้รับผลกระทบทั้งจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 รวมถึงการเกิดความไม่สงบทางการเมือง

+ การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคมปี 2563 มีจำนวน 3.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนปี 2563 ร้อยละ 2.08 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.97 (%YoY)

+ การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)เดือนตุลาคม ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 2.89 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2563 ร้อยละ 0.78 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.86 (%YoY)

+ การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคมปี 2563 มีจำนวน 0.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนปี 2563 ร้อยละ 4.48 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 42.70 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมาร้อยละ 75.83 65.85 และ 13.58 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะปรับตัวลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีสต๊อกเหลือเป็นปริมาณมาก

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ