ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 10, 2021 14:30 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมIndicators 2561 2562 2563 %YoY Year พ.ย. ธ.ค. Year ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. MPI 3.7 -8.0 -4.4 -3.6 -4.0 -4.2 -10.5 -18.2 -23.8 -17.8 -12.9 -9.1 -2.2 -0.4 0.4 ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)         ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนสิงหาคม การผลิตหดตัวร้อยละ 9.1 เดือนกันยายน หดตัวร้อยละ 2.2 และเดือนตุลาคม หดตัวร้อยละ 0.4 Indicators 2562 2563 %MoM พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. MPI 1.0 1.8 5.1 -2.9 2.7 -24.7 2.1 4.0 5.3 5.2 3.9 0.6 1.8 สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนสิงหาคม เดือนกันยายน และเดือนตุลาคม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 5.2 เดือนกันยายน ขยายตัว ร้อยละ 3.9 และเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 0.6

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤศจิกายน 2563 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ รถยนต์ และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.02 เป็นการขยายตัวเป็นเดือนแรกในรอบ 19 เดือน จากการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากกำลังซื้อในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น และการเตรียมเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นตลาดในงานแสดงรถยนต์ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 รวมถึงคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่เริ่มมีมากขึ้น

          การกลั่นน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 เนื่องจากปีก่อนโรงกลั่นบางรายมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.71 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลก          ที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง
          เภสัชภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.61 จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของผู้ผลิตและได้รับการตอบรับดีเพราะมีคุณภาพเทียบเท่าต่างประเทศ รวมถึงผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มการผลิตได้สูงขึ้นหลังขยายอาคาร         เก็บรักษายาตั้งแต่ปลายปีก่อน
          มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.29 จากมอเตอร์และหม้อแปลงไฟฟ้า          จากความต้องการใช้ในช่วงการกักตัวอยู่บ้านของลูกค้าประเทศต่าง ๆ
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนพฤศจิกายน 2563

          เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนพฤศจิกายน 2563 การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย  ที่มา : กระทรวงพาณิชย์                                          ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 1,402.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่หดตัวลง ได้แก่ เครื่องกังหัน ไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ เครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 7,053.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่หดตัวลง ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 199 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2563 ร้อยละ 9.34 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.96 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่ารวม 26,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2563 ร้อยละ 94.64 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 48.41 (%YoY)

"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2563 คือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 20 โรงงาน และอุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 12 โรงงาน"
          "อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2563 คือ อุตสาหกรรมใยแก้ว จำนวนเงินทุน 11,676 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ และโรงงานส่งหรือจำหน่ายก๊าซ         แต่ไม่รวมถึงโรงงานส่ง หรือจำหน่ายก๊าซที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำม้นเชื้อเพลิง จำนวนเงินทุน 2,322 ล้านบาท

          สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม  ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม  จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 44 ราย ลดลง             จากเดือนตุลาคม 2563 ร้อยละ 45.0 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 76.6     (%YoY) เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่ารวม 1,110 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2563 ร้อยละ 58.46 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 80.07 (%YoY) "อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2563              คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 7 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรม              การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 3 โรงงาน
"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนพฤศจิกายน 2563 คือ อุตสาหกรรม การฆ่าสัตว์ มูลค่าเงินลงทุน 279 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ มูลค่าเงินลงทุน 136 ล้านบาท"

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนพฤศจิกายน 2563 1.อุตสาหกรรมอาหาร

การผลิต ดัชนีผลผลิตในภาพรวมกลุ่มสินค้าอาหารเดือนพฤศจิกายน 2563 ปรับตัวลดลง (%YoY) ร้อยละ 3.0 เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในตลาดส่งออกสำคัญ โดยสินค้าที่มีผลต่อการปรับลดของดัชนีผลผลิต มีดังนี้ (1) น้ำมันปาล์ม ลดลง (%YoY) ร้อยละ 23.9 (2) น้ำตาล ลดลง (%YoY) ร้อยละ 20.0 และ (3) เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ลดลง (%YoY) ร้อยละ 3.9

อย่างไรก็ตาม ยังมีผลผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร บางชนิดที่ขยายตัวได้ดี เช่น (1) สับปะรดกระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 33.0 เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง (2) แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 16.8 เนื่องจากพื้นที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดจีน (3) ปลาทูน่ากระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 9.4 เนื่องจากการขยายตัวของตลาดในประเทศ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

          การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร    ในประเทศเดือนพฤศจิกายน 2563 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 0.9 จากสินค้าบางประเภท เช่น (1) น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์  ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ  51.8  (2) ปลาทูน่ากระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 41.7    (3) กุ้งแช่แข็ง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 29.2  (4) ปลาแช่แข็ง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 20.1
          ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 2,381.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจาก     ช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 5.8 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่     (1) น้ำตาลทราย เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายลดลง (2) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เนื่องจากมีการชะลอ  คำสั่งซื้อตามธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่ลดลง (3) ไก่สดแช่แข็ง     และแปรรูป เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าหลัก เช่น ญี่ปุ่นและอียู     ลดการนำเข้า จากมาตรการล็อกดาวน์และการคุมเข้มปิดร้านอาหาร
          คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร     ในภาพรวมเดือนธันวาคมหดตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการระบาดของของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในประเทศ ทำให้มีการยกเลิกกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ     ประกอบกับผู้บริโภคระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้การบริโภค     ของตลาดในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะยังคงหดตัว เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากเศรษฐกิจโลก     ที่ชะลอตัว และมาตรการคุมเข้มเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศยุโรป

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมไฟฟ้า140 120 2,000 100

1,500 80 60 1,000 40 20 500 00มูลค่าการส่งออกดัชนีผลผลิตที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

          การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 97.4  สินค้า          ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า

และกระติกน้ำร้อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3, 30.6, 26.1, 22.4 และ 6.8 ตามลำดับ โดยตู้เย็น เครื่องซักผ้า และกระติกน้ำร้อน มีการจำหน่าย

          ในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้า มีการจำหน่าย         ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ พัดลมตามบ้าน สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล  เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ และ หม้อหุงข้าว โดยลดลงร้อยละ 20.5, 9.1, 7.2, 4.9, 4.7, 3.1 และ 0.9  ตามลำดับ เนื่องจาก พัดลมตามบ้าน คอมเพรสเซอร์ และ หม้อหุงข้าว          มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ส่วนสายไฟฟ้าและเตาอบไมโครเวฟ          มีคำสั่งซื้อจากในประเทศลดลง
          การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 2,168.9     ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน     ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 164.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5 จากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ มีมูลค่า 113.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา แคนาดาและญี่ปุ่น และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ  มีมูลค่า 426.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรปและอาเซียน
          ที่มีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น  ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ มอเตอร์        และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มูลค่า 80.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.8       ในตลาดแคนาดาและจีน
          "คาดการณ์การผลิตเดือนธันวาคม 2563 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่า         จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่สนับสนุนให้เกิดการซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น"

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

          การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5         เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 99.5 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น Printer, PWB, Semiconductor devices transistor, IC โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.5, 23.1, 11.7 และ 7.4 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ PCBA โดยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 และ 0.4 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดต่างประเทศลดลง
          การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,064.0      ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน       ของปีก่อน โดยสินค้า HDD มีมูลค่า 772.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.1 ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง ในขณะที่สินค้า PCBA มีมูลค่า 130.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 ในตลาดอาเซียน จีน และ ญี่ปุ่น
           "คาดการณ์การผลิตเดือนธันวาคม 2563 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก PCBA เป็นแผงวงจรพิมพ์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำหรับใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันยังมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น             ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น"

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์200,000 180,000 172,455 160,000 154,088 150,604 140,000 146,812 120,000 134,208 117,253 156,266 150,345 100,000

80,000 71,704 89,336 60,000 40,000

24,711 20,000

0พ.ย. 62ธ.ค. 62ม.ค. 63ก.พ. 63มี.ค. 63เม.ย. 63พ.ค. 63มิ.ย. 63ก.ค. 63ส.ค. 63ก.ย. 63ต.ค. 63พ.ย. 63

ปริมาณการจำหน่ายปริมาณการส่งออกปริมาณการผลิตที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีจำนวน 172,455 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 15.62 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.92 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยเป็นเดือนแรกในรอบ 19 เดือน ที่การผลิตรถยนต์มีการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีจำนวน 79,177 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 6.83 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.74 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รวมทั้งรถยนต์ PPV และรถยนต์ SUV โดยเป็นเดือนแรกที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  โดยรถยนต์กระบะเพิ่มขึ้น            เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว
          การส่งออกรถยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563           มีจำนวน 74,532 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 4.43 (%MoM) แต่ลดลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.87 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในตลาดตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลางเหนือ และอเมริกากลางและใต้ จากผลกระทบ    การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก     อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกในภาพรวมมีการฟื้นตัวจากเดือนที่ผ่านมา
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนธันวาคม ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ปี 2562 เนื่องจาก ผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก"

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์200,000 180,000 174,645 166,636 163,163 161,644 151,703 160,000 171,799 140,000 158,839 120,000 119,008 100,000

80,000 75,819 63,517 60,000

66,669 40,000 20,000

0พย..62 ธ.ค. 62 ม.ค. 63 ก.พ. 63 มี.ค. 63 เม.ย. 63 พ.ค. 63 มิ.ย. 63 ก.ค. 63 ส.ค.63 ก.ย.63 ต.ค.63 พ.ย.63 ปริมาณการจำหน่ายปริมาณการส่งออกปริมาณการผลิตที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีจำนวน 175,569 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 5.36 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.19 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มียอดจำหน่ายจำนวน 120,062 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 4.96 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.37 (%YoY)จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

          การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน            ปี 2563 มีจำนวน 28,819 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563       ร้อยละ 13.63 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.86 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการชะลอตัวในประเทศ            สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม
"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2563 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ปี 2562 เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก"
4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต
          ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง        และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 0.40 โดยเป็นการชะลอตัว     ในสินค้ายางแท่ง ตามปริมาณความต้องการใช้ที่ปรับลดลง

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.92 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและการส่งออก

          ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.50 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง                จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19    การจำหน่ายในประเทศ
          ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.86 โดยเป็นการขยายตัว          ในผลิตภัณฑ์น้ำยางข้นตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.38 ตามการขยายตัว ที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 47.91 เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศปรับลดการส่งสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลาง และหันไป ทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.50 โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด ตามความต้องการใช้ของมาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวสูงขึ้น

          ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09                ตามการขยายตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
          ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 191.96              ตามการขยายตัวต่อเนื่องของตลาดสหรัฐอเมริกา              สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์  ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563
          การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน    ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากฝนที่ตกชุกในพื้นที่กรีดยางทำให้มีแนวโน้มปริมาณยาง    เข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ รวมถึงการขยายตัวของการส่งออก สำหรับการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัว   ได้ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลก จากการแพร่ระบาด        ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกสองในหลายประเทศ      และสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่คลี่คลาย           ในประเทศไทย ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศของผู้ผลิตคาดว่าจะหดตัวลงตามการปรับลดการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง
          การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน       ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดหลักของไทยในสินค้าดังกล่าว ได้แก่ มาเลเซีย มีความต้องการใช้น้ำยางข้นจากไทยสูงขึ้น      และจีนมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้มีแนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราจากไทยสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกยางรถยนต์คาดว่า  จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดี            ของตลาดสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าอาจเป็นปัจจัยกดดันให้การส่งออก          ยางรถยนต์ของไทยขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร ในส่วนของการส่งออกถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการสงสินคา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤศจิกายน 2563 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 86.80 หดตัวร้อยละ 3.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะ ครัว และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 31.79 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 18.52 และท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 9.62

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนพฤศจิกายน 2563 ค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 85.45 หดตัวร้อยละ 6.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะ ครัว และห้องน้ำ หดตัวร้อยละ 44.67 ท่อและข้อต่อพลาสติก หดตัวร้อยละ 23.71 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 16.19

การส่งออก เดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 342.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 0.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกหดตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 28.82 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) หดตัวร้อยละ 20.82 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ 13.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกหดตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น และจีน ปริมาณ"ละมลคาการสงออก-นา"ขา

ที่มา : กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง

          การนำเข้าเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 405.65  ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 3.63 เมื่อเทียบกับ     ช่วงเดียวกันของปีก่อน  ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 20.20 กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ   ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3920) หดตัวร้อยละ 17.26     และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัว     ร้อยละ 11.56
          แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนธันวาคม 2563 คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะยังคงหดตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาด     ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในประเทศ     คู่ค้าหลัก รวมถึงการระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆ ประเทศ     ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมพลาสติก     ของไทย
6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
          ดัชนีผลผลิต เดือนพฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ระดับ 94.33 หดตัวร้อยละ 2.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน            ของปีก่อน โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัว              ร้อยละ 14.47  ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่                     เอทานอล หดตัวร้อยละ 30.39 เนื่องจากขาดแคลนกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 1.29 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวสูงสุด ได้แก่ การผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่ม ขยายตัว ร้อยละ 17.12
          ดัชนีการส่งสินค้า เดือนพฤศจิกายน 2563 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 93.70  หดตัวร้อยละ 4.69  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน          โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 11.05  หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล  และโซดาไฟ สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าหดตัว ร้อยละ 2.77  หดตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยเคมี  น้ำยา   ล้างจานและน้ำยาทำความสะอาด  เป็นต้น
          การส่งออก  เดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 693.05  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับ                 ช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า            การส่งออก 379.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.86 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 313.37                   ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.19 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 47.87 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 7.05 และสี ขยายตัวร้อยละ 5.42
          การนำเข้า  เดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่า 1,164.47  ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า             การนำเข้า 769.60  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.06 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 394.87                   ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.59
          แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนธันวาคม 2563   การผลิตและการส่งออกคาดว่าจะหดตัว อย่างไรก็ตาม         ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาด         ของเชื้อไวรัสโควิด-19  ที่ระบาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในประเทศ     คู่ค้าหลัก รวมถึงการระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งส่งผลต่อผลิตและการส่งออกของไทย

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

1200

700 200 -300 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          ดัชนีผลผลิต  ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 92.25 หรือหดตัว    ร้อยละ 14.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 19.77 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี     ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene  และ Ethylene หดตัวร้อยละ 31.29 และ 26.81 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin และ Polypropylene resin (PP) หดตัวร้อยละ 16.88 และ 11.97 เนื่องจากตลาดชะลอการซื้อเพื่อดูทิศทาง             จากการปรับขึ้นของราคาตามการปรับตัวของโรงงาน         ในหลายประเทศที่หยุดหรือชะลอการผลิต รวมทั้งการเกิดการระเบิดของโรงงาน LG Chem ที่เกาหลีใต้
          ดัชนีการสงสินคา ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 91.55 หดตัวร้อยละ 15.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน       ของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 16.17 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene              และ Ethylene หดตัวร้อยละ 74.37 และ 43.65           และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ Polyethylene และ SAN resin หดตัวร้อยละ 13.81 และ 5.38
          การสงออก การส่งออกเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีมูลค่า 804.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 12.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 4.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมี    ขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Terephthalic Acid     เป็นต้น หดตัวร้อยละ 40.24 และหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PS resin, PE resin, PP resin และ Nylon     เป็นต้น หดตัวร้อยละ 9.97

การนำเข้า การนำเข้าเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีมูลค่า 441.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 9.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene Vinyl Chloride เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 38.17 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น ABS resin, PC resin, PP resin และ BR rubber เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 4.43 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ

          คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี               เดือนธันวาคม ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรม  จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน      จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส      โควิด-19 และความกังวลของตลาดโลกกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ (Second Wave Covid-19) อาจทำให้การส่งออกยังคงไม่เข้าสู่สภาวะปกติ
8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563  มีค่า 93.4 หดตัวร้อยละ 1.5          เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว         และเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัว   ในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาว โดยผลิตภัณฑ์                      ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 88.3   หดตัวร้อยละ 8.4 จากการผลิตเหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 29.2 เหล็กเส้นข้ออ้อย หดตัวร้อยละ 21.8 และเหล็กลวด   หดตัวร้อยละ 12.0 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง ส่วนผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 98.1 ขยายตัวร้อยละ 10.9 จากการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 112.2 และ 93.9 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ เป็นต้น การผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 27.4 และเหล็กแผ่น  เคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 2.1
          การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน    ปี 2563  มีปริมาณการจำหน่าย 1.3 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7) โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 22.2 จากการจำหน่ายเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 28.9     และเหล็กลวดหดตัวร้อยละ 16.3 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก    ทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 7.9 จากการจำหน่ายเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 8.8 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ 7.9 และ 5.1 ตามลำดับ
          การนำเข้า ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563                มีปริมาณนำเข้า 0.9 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13)        โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.2      ล้านตัน  หดตัวร้อยละ 20.0 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้าง   รีดร้อน ประเภท Stainless Steel ซึ่งหดตัวร้อยละ 79.8 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน) รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel และเหล็กเส้น ประเภท Stainless Steel หดตัวร้อยละ 52.7 และ 51.3 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน  มีปริมาณนำเข้า 0.7 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 1.0 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Stainless Steel ซึ่งหดตัวร้อยละ 40.7 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวัน) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กโครงสร้างรีดเย็น หดตัวร้อยละ 30.2 และ 28.0 ตามลำดับ
          "แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม 2563 คาดการณ์ว่า การผลิตหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19               ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต

          เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 13.78  16.04 และ 5.06 (%YoY) ตามลำดับ เนื่องจาก         การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังส่งผลต่อการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ทำให้    การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง      อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การผลิตผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 2.22 และ 6.15 ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตสินค้าประเภทชุดชั้นใน                ซึ่งจะมีการส่งมอบในช่วงต้นปีหน้า การจำหน่ายในประเทศ
          เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 8.07  10.28 และ 29.81 (%YoY) ตามลำดับ เนื่องจาก       ความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อ     ของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบ                  ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  อย่างไรก็ตาม       หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การจำหน่าย  เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 3.83 และ 3.59  การส่งออก

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่า การส่งออกลดลง ร้อยละ 9.20 20.82 และ 22.65 ตามลำดับ จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตลาดสำคัญที่ลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การส่งออกเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 8.26 2.90 และ 7.75 จากตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ที่ยังมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีอัตราผู้ว่างงานสูง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังไม่ชัดเจน และญี่ปุ่น ที่กลับมามีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้กำลังซื้อในตลาดดังกล่าวลดลง

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์แนวโน้มเดือนธันวาคม 2563

          คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม             จะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส     โควิด-19  อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน คาดว่า   จะมีแนวโน้มขยายตัวทั้งในภาคการผลิตและการส่งออก
10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

          การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤศจิกายน       ปี 2563 มีจำนวน  6.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม      ปี 2563 ร้อยละ 6.25 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.65 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีปริมาณการจำหน่าย 2.70 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 1.49 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.52 (%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤศจิกายน              ปี 2563 มีจำนวน  0.97 ล้านตัน  ลดลงจากเดือนตุลาคม                      ปี 2563  ร้อยละ 4.63 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 45.96 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อเป็นปริมาณสูงในตลาดหลัก  ได้แก่         บังคลาเทศ และกัมพูชา  ร้อยละ 68.69   และ 46.67 ตามลำดับ
           คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนธันวาคม ปี 2563  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  คาดว่าปริมาณการผลิตน่าจะทรงตัว  หรือเริ่มลดลงหากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19           ในหลายพื้นที่เริ่มเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ความต้องการมีแนวโน้มลดลงจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่อาจมีแนวโน้มลดลง  ประกอบกับการผลิตเพื่อส่งออกยังไม่ฟื้นตัว

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีจำนวน 3.02 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 6.59 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.14 (%YoY)

          การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)  เดือนพฤศจิกายน ปี 2563  มีปริมาณการจำหน่าย 2.69     ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 1.50               (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.77 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 มีจำนวน 0.34 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก เดือนตุลาคม ปี 2563 ร้อยละ 4.47 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.25 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ร้อยละ 44.50 58.10 และ 20.20 ตามลำดับ

          คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2563                    เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  คาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยเนื่องจากมีปัจจัยลบจากการเริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่จะได้ปัจจัยบวกจากโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐที่สามารถ      เริ่มดำเนินงานได้หลังได้รับงบประมาณ

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ