ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 7, 2021 13:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมIndicators 2561 2562 2563 2563 2564 %YoY Year Year Year ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค MPI 3.9 -3.4 -9.3 -4.9 -11.1 -19.1 -24.1 -17.9 -13.6 -9.3 -2.6 -1.3 -0.6 -2.8 -2.8 ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)         หดตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19       ระลอกใหม่ในประเทศ

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนตุลาคม การผลิตหดตัวร้อยละ 1.3 เดือนพฤศจิกายน หดตัวร้อยละ 0.6 และเดือนธันวาคม 2563 หดตัวร้อยละ 2.8 Indicators 2563 2564 %MoM ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. MPI -3.8 2.7 -25.0 2.9 4.1 4.6 5.2 3.8 0.3 1.6 -0.7 6.0 สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 0.3 เดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 1.6 และเดือนธันวาคม หดตัวร้อยละ 0.7

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมกราคม 2564 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 11.92 จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ส่งผลให้การเดินทางลดลงทั้งการเดินทางในประเทศและการเดินทางระหว่างประเทศ

น้ำตาล หดตัวร้อยละ 13.18 เนื่องจากปีนี้เปิดหีบช้าและด้วยสภาพอากาศแห้งแล้งไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบมีน้อยกว่าปีก่อน

รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 3.9 จากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ในประเทศ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมกราคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.86 จากการหยุดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางรายในปีก่อน และความต้องการใช้ในกลุ่มสินค้าต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ ถุงอาหาร ขวด และเครื่องใช้ ในครัวเรือน

เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.44 ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และบรรจุภัณฑ์อาหาร อีกปัจจัยหนึ่งมาจากราคาเหล็กปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากประเทศจีนนำเข้าสินค้าเหล็กเพิ่มสูงขึ้นมากจนเกิดภาวะขาดแคลนสินค้า ส่งผลให้ราคาเหล็กปรับตัวสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงเร่งผลิต เพื่อขายทำกำไรในช่วงนี้

          เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนมกราคม 2564 การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่มา : กระทรวงพาณิชย์                                                            ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 1,471.4          ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากเครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปไม้ และส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรสิ่งทอ เป็นต้น
          การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 7,330.1         ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.63 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวจากเหล็กและเหล็กกล้า ผ้าผืน ด้ายและเส้นใย เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 205 โรงงาน ลดลง จากเดือนธันวาคม 2563 ร้อยละ 18.0 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.82 (%YoY)

          มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนมกราคม 2564 มีมูลค่ารวม 21,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2563 ร้อยละ 28.31 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน        ของปีก่อน ร้อยละ 100.04 (%YoY)
"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2564 คือ อุตสาหกรรม การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 21 โรงงาน และอุตสาหกรรมคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 14 โรงงาน"

"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2564 คือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบหรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ จำนวนเงินทุน 4,067 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการสร้าง ประกอบ ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถยนต์หรือรถพ่วง จำนวนเงินทุน 4,063 ล้านบาท

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนมกราคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 67 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2563 ร้อยละ 9.84 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.29 (%YoY) เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนมกราคม 2564 มีมูลค่ารวม 13,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2563 ร้อยละ 1,089.72 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 598.66 (%YoY) "อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนมกราคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 14 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่งสำเร็จ หนังสัตว์ จำนวน 7 โรงงาน

          "อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนมกราคม 2564 คือ อุตสาหกรรม       การทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน พลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 9,237 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม         ผลิต ประกอบหรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่าเงินลงทุน 3,290 ล้านบาท"ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมกราคม 2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนมกราคม 2564 1.อุตสาหกรรมอาหาร

การผลิต ดัชนีผลผลิตในภาพรวมกลุ่มสินค้าอาหารเดือนมกราคม 2564 ปรับตัวลดลง (%YoY) ร้อยละ 3.9 เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้งและการชะลอคำสั่งซื้อสินค้าบางรายการ โดยสินค้าที่มีผลต่อการปรับลดของดัชนีผลผลิต มีดังนี้ (1) น้ำตาล ลดลง (%YoY) ร้อยละ 13.2 (2) ผักและผลไม้แปรรูป ลดลง (%YoY) ร้อยละ 10.3 และ (3) สินค้าประมง ลดลง (%YoY) ร้อยละ 4.3

ทั้งนี้ หากไม่รวมน้ำตาล ภาพรวมดัชนีผลผลิตอาหารขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตในอุตสาหกรรมอาหารบางชนิดที่ขยายตัวได้ดี เช่น (1) สินค้ากลุ่มนมข้นหรือนมผง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 21.2 (2) อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 19.0 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มจากตลาดอเมริกา ประกอบกับความนิยมในการเลี้ยงสัตว์มีมากขึ้น (3) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 14.8 (4) แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 13.2 เนื่องจากราคาข้าวโพดในจีนปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังทดแทน และ (5) เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะ ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 12.9

          การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหาร    ในประเทศเดือนมกราคม 2564 ขยายตัว (YoY) ร้อยละ 10.7 จากสินค้า     บางประเภท เช่น (1) สับปะรดกระป๋อง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 15.8 (2) เนื้อไก่สุกปรุงรส ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 15.2 (3) แป้งมันสำปะหลัง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 13.0 (4) กุ้งแช่แข็ง ขยายตัว     (%YoY) ร้อยละ 11.3 (5) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 10.3 (6) นมถั่วเหลือง ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 8.7  และ (7) เนื้อไก่    แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 5.7
          ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหาร     เดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 2,254.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ร้อยละ 3.3 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่     (1) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากตลาดจีนต้องการมันเส้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์และอาหารสัตว์ ทดแทนวัตถุดิบข้าวโพดที่มีราคาสูง (2) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป เนื่องจากยังคงมีความต้องการจากประเทศคู่ค้า ได้แก่ จีน อเมริกา และฮ่องกง     (3) อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากกระแสความนิยมในการเลี้ยงสัตว์มีเพิ่มขึ้น โดยตลาดที่สำคัญ ได้แก่ อเมริกา ญี่ปุ่น อิตาลี และมาเลเซีย
          คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร     ในภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หดตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกัน     ของปีก่อน เนื่องจากยังมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส    โควิด-19 หลายด้าน เช่น การกำหนดเวลาปิดร้านอาหารไม่เกิน 23.00 น. การห้ามดื่มสุราในร้านอาหารและสถานบันเทิง การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม สัมมนา ได้ไม่เกิน 100 คน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดรอบใหม่ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการเราชนะ คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง สำหรับมูลค่า     การส่งออกคาดว่าจะหดตัวเล็กน้อย เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  อย่างเข้มข้นในกลุ่มประเทศยุโรป รวมถึงบางพื้นที่ในจีนและญี่ปุ่น

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมไฟฟ้า160 2,500 140 120 2,000 100 1,500 80 60 1,000 40 500 20 00มลคาการสงออกดัชนีผลผลิตที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

          การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 102.7  สินค้า        ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน สายเคเบิ้ล พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และ คอมเพรสเซอร์ โดยลดลงร้อยละ 37.5, 21.0, 14.8, 13.2, 9.5, 6.0 และ 3.6  ตามลำดับ เนื่องจากกระติกน้ำร้อน มีคำสั่งซื้อจากในประเทศลดลง เตาอบไมโครเวฟและหม้อหุงข้าว มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ส่วนสายเคเบิ้ล  พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ มีความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศลดลง  ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่       หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้เย็น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า และสายไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7, 22.5, 19.9, 17.5 และ 7.8 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,178.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน

          สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล  มีมูลค่า 75.0         ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7 จากตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ มีมูลค่า 134.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.6 ในตลาดสหรัฐอเมริกา บราซิล และอาเซียน หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 193.8  ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 ในตลาดยุโรป เอเซียและสหรัฐอเมริกา และ เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 174.8  ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3  ในตลาดเอเซียและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 19.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.2 ในตลาดฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 524.5

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.6 ในตลาดอินเดีย ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

"คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1-3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่เริ่มฟื้นตัวและมีความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น"

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

          การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5        เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 95.1 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, PWB, Semiconductor devices Transistors, IC และ HDD โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.9, 26.0, 12.9, 11.2 และ 2.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA โดยลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศลดลง
          การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,159.6      ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน   ของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ PCBA มีมูลค่า 131.5          ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3  ในตลาดเกาหลีใต้ จีน และเวียดนาม IC มีมูลค่า 620.83  ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ในตลาดเนเธอร์แลนด์ อาเซียนและสหรัฐอเมริกา และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอดอื่น ๆ  มีมูลค่า 11.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในตลาดยุโรป อินเดีย และอาเซียน ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ HDD         มีมูลค่า 834.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.1 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
           "คาดการณ์การผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน        ของปีก่อน เนื่องจาก HDD ยังมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึง สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ประชาชนบางส่วน Work from Home และมีการเรียนออนไลน์ทำให้มีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น"

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์200,000 200,000 180,000 180,000 160,000 160,000 140,000 140,000 120,000 120,000 100,000 100,000 80,000 80,000 60,000 60,000 40,000 40,000 20,000 20,000 0ม.ค. 63ก.พ. 63มี.ค. 63เม.ย. 63พ.ค. 63มิ.ย. 63ก.ค. 63ส.ค. 63ก.ย. 63ต.ค. 63พ.ย. 63ธ.ค. 63ม.ค. 64

ปริมาณการจำหน่ายปริมาณการส่งออกปริมาณการผลิตที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          การผลิตรถยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2564                  มีจำนวน 148,118 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2563 ร้อยละ 3.53 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.21  (%YoY) จากการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนมกราคม ปี 2564 มีจำนวน 55,208 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคมปี 2563 ร้อยละ 46.96 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.40 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ รวมทั้ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เนื่องจาก ผู้บริโภคในประเทศ มีความกังวลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัวจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด รวมทั้งผลกระทบจากภาคการท่องเที่ยว

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2564 มีจำนวน 74,132 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2563 ร้อยละ 8.25 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.53 (%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นในตลาดเอเชียตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป เนื่องจาก เศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวจากความชัดเจนของมาตรการวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ทุกประเทศเริ่มทยอยมา

"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 เนื่องจากผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเทียบกับฐานการผลิตรถยนต์จากเดือนเดียวกันของปี 2563"

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ คันข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์200,000 180,000 160,000 140,000 120,000 100,000

80,000 60,000 40,000 20,000

0ม.ค. 63 ก.พ. 63 มี.ค. 63 เมย.. 63 พค.. 63 มิย.. 63 ก.ค. 63 ส.ค.63 ก.ย.63 ต.ค.63 พ.ย.63 ธ.ค.63 มค..64 ปริมาณการจำหน่ายปริมาณการส่งออกปริมาณการผลิตที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2564         มีจำนวน 165,874 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2563 ร้อยละ 4.26 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.66 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 135,641 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2563 ร้อยละ 9.53 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.45 (%YoY)จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

          การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนมกราคม                   ปี 2564 มีจำนวน 25,708 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม ปี 2563     ร้อยละ 22.24 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน      ร้อยละ 18.62 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป      มีการชะลอตัวในประเทศเบลเยียม สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตามตลาดส่งออกชิ้นส่วนจักรยานยนต์        แบบครบชุดสมบูรณ์ (CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน      ร้อยละ 16.49 (%YoY)

"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 เนื่องจาก ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเทียบกับฐานการผลิตรถจักรยานยนต์จากเดือนเดียวกันของปี 2563" 4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 10.65 โดยเป็นการชะลอตัวในสินค้าทุกชนิด ตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของวัตถุดิบยางที่ลดลง

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.53 ตามการขยายตัวของตลาด Replacement ในประเทศ และตลาดส่งออก

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.15 ตามความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปีก่อน การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 10.93 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายยางแผ่นรมควันและน้ำยางข้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.14 โดยเป็นการขยายตัวในส่วนของตลาด Replacement

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 43.47 โดยเป็นการปรับลดการส่งสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางของผู้ผลิตในประเทศ และหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.53 โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกยางแผ่นรมควันและน้ำยางข้น ตามความต้องการใช้ของญี่ปุ่นและมาเลเซียที่ปรับตัวสูงขึ้น

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.14 ตามการขยายตัวของตลาดจีน เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย

ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 200.56 ตามการขยายตัวต่อเนื่องของตลาดสหรัฐอเมริกา เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ จีน และญี่ปุ่น ตามลำดับ คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2564

          การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูปิดกรีดยางเร็วกว่าปีก่อนๆ ทำให้มีแนวโน้มปริมาณยางเข้าสู่ตลาดลดลงต่อเนื่องจากเดือน       ที่ผ่านมา สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ  สำหรับการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดีตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้น      ทั่วโลกจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ในขณะที่     การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะหดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศมีการปรับลด     การจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางและหันไปทำตลาดต่างประเทศเองมากขึ้น
          การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน       ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดมาเลเซีย เนื่องจากมาเลเซียมีแนวโน้มความต้องการใช้น้ำยางข้นจากไทยสูงขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิต   ถุงมือยางที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออก      ยางรถยนต์คาดว่าจะทรงตัวจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาสืบเนื่องจากประเด็น              Anti-dumping หรืออาจจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออกลำดับรองของไทย    ทั้งออสเตรเลีย จีน และเกาหลีใต้   ในส่วนของการส่งออก   ถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้ทางการแพทย์ที่สูงขึ้นทั่วโลก  โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น  และจีน

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการสงสินคา ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต เดือนมกราคม 2564 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่ระดับ 92.70 ขยายตัวร้อยละ 3.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยท่อและข้อต่อพลาสติกขยายตัวร้อยละ 16.74 พลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 13.32 และถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 12.18

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมกราคม 2564 ค่าดัชนี การส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 95.51 ขยายตัวร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกแผ่น ขยายตัว ร้อยละ 32.33 ท่อและข้อต่อพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 17.90 และการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 15.67

การส่งออก เดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 346.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 4.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีการส่งออกขยายตัวสูงที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) ขยายตัวร้อยละ 72.07 รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้นและผนัง (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 21.64 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก ในกลุ่มอื่นๆ (HS 3926) ขยายตัวร้อยละ 11.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น เวียดนาม และมาเลเซีย ปริมาณ"ละมลคาการสงออก-นา"ขา

ที่มา : สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 436.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 5.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวของใช้ ในบ้านเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 30.86 กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 19.58 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) หดตัวร้อยละ 13.09

          แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนกุมภาพันธ์ 2564 คาดการณ์ว่าการผลิตและการส่งออกจะยังคงขยายตัว อย่างไร     ก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ที่ระบาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงการระบาดรอบใหม่ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมพลาสติกของไทย        6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
          ดัชนีผลผลิต เดือนมกราคม 2564 อยู่ที่ระดับ 89.76 ขยายตัวร้อยละ 2.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยการผลิตในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 4.85      ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่ เอทานอล หดตัวร้อยละ 12.73 เนื่องจากขาดแคลนกากน้ำตาลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล สำหรับกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 5.96 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวสูงสุด ได้แก่ ผงซักฟอก     หดตัว ร้อยละ 27.25
          ดัชนีการส่งสินค้า เดือนมกราคม 2564 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 89.15 ขยายตัวร้อยละ 2.66  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 10.96    หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์เอทานอล และคลอรีน สำหรับ                 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว ร้อยละ 8.02  ขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยเคมี  และผงซักฟอก เป็นต้น
          การส่งออก  เดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 728.05     ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.22 เมื่อเทียบกับ                 ช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 419.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.13 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการส่งออก 308.45  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.15 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 114.98 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 54.53 และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 11.98 การส่งออกหดตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น ญี่ปุ่น  จีน  และเวียดนาม
          การนำเข้า  เดือนมกราคม 2564 มีมูลค่า 1,312.31  ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่า        การนำเข้า 910.93  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.25 สำหรับเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้า 401.38        ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 16.35

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 การผลิตและการส่งออกคาดว่าจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น จากการที่หลายประเทศได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด- 19 คาดว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด- 19 ได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งส่งผลต่อผลิตและการส่งออกของไทย

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมกราคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 115.62 หรือขยายตัว ร้อยละ 10.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 6.41 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็น ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 18.07 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PP resin ขยายตัว ร้อยละ 11.55 และ 2.28

ดัชนีการสงสินคา ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 107.18 ขยายตัวร้อยละ 6.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 5.06 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene และ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 17.14 และ 3.34 และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PE และ PET resin ขยายตัวร้อยละ 13.46 และ 4.52

การสงออก การส่งออกเดือนมกราคม ปี 2564 มีมูลค่า 885.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 3.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่ม ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Styrene เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 2.45 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ PET resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 4.02

การนำเข้า การนำเข้าเดือนมกราคม ปี 2564 มีมูลค่า 476.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 2.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 6.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งหดตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Vinlyl Chloride เป็นต้น หดตัวร้อยละ 20.98 แต่ขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PVC resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 2.43 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ

          คาดการณ์แนวโน้ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี               เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน     จากการกลับมาผลิตเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส      โควิด-19 และความกังวลของตลาดโลกกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ (Second Wave Covid-19) อาจทำให้การส่งออกยังคงไม่เข้าสู่สภาวะปกติ8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม              2564  มีค่า 110.26 ขยายร้อยละ 9.4  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การส่งออก รวมถึงราคาเหล็กโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวทั้งสองผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า  103.7 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 21.8 รองลงมา คือ ลวดเหล็กและลวดเหล็กแรงดึงสูง ขยายตัวร้อยละ 18.1 และ 5.9 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 117.2 ขยายตัวร้อยละ 15.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ขยายตัวร้อยละ 77.4 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่น     รีดร้อนชนิดม้วน ขยายตัวร้อยละ 65.2 และ 15.1 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
          การบริโภคในประเทศ ในเดือนมกราคม 2564    มีปริมาณการบริโภค 1.3 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 14.0       เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว         มีปริมาณการบริโภค 0.5 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 18.3 จากเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อนที่หดตัวร้อยละ 30.9 อย่างไรก็ตามการบริโภคเหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 11.8 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 11.3 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ที่หดตัวร้อยละ 28.5 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน หดตัวร้อยละ 17.1 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 12.5

การนำเข้า ในเดือนมกราคม 2564 มีปริมาณ 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณนำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 15.3 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรีดร้อนที่หดตัวร้อยละ 83.6 อย่างไรก็ตาม เหล็กลวด Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 56.3 สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า 0.6 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 12.4 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (HDG) ซึ่งหดตัวร้อยละ 30.8 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นแผ่นหนารีดร้อน ที่หดร้อยละ 20.4 และ 15.2 ตามลำดับ

"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คาดการณ์ว่า การผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย และราคาเหล็กโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ การดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ"

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 13.12 21.51 และ 31.82 (%YoY) เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ยังส่งผลต่อการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศชะลอตัว ทำให้การผลิตตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำจนถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง โดยเฉพาะการชะลอตัวในประเทศคู่ค้าหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ขยายตัว ร้อยละ 11.28 และ 1.50 ตามลำดับ การจำหน่ายในประเทศ

          เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 7.61 15.69  และ 33.97 (%YoY)  เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภค        ในประเทศชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ระลอกใหม่ แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ กลับมาขยายตัว    ร้อยละ 6.52 ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น การส่งออก

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 7.05 19.40 และ 24.43 (%YoY) จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการชะลอตัวของประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มหดตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (%MoM) พบว่า การส่งออกเส้นใยสิ่งทอ ส่งสัญญาณแนวโน้มดีขึ้นจากสินค้าด้าย เส้นใยประดิษฐ์ที่การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ร้อยละ 2.42 จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น บังกลาเทศ โคลัมเบีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม ในขณะที่ การส่งออกผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 14.75 และ 13.33 คาดการณ์แนวโน้มเดือนกุมภาพันธ์ 2564

คาดว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศ และภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ที่ทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมาที่อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรมผ้าผืน อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัวทั้งในภาคการผลิตและการส่งออก 10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

          การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมกราคม ปี 2564     มีจำนวน  7.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2563       ร้อยละ 4.31 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.39 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนมกราคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.27 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2563 ร้อยละ 2.22 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.06 (%YoY)

          การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนมกราคม ปี 2564    มีจำนวน 1.36 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2563     ร้อยละ 20.69 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน เพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.10 (%YoY) เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อจากตลาดศรีลังกา ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 99.98 และ 61.89

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าปริมาณการผลิตอาจจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

          การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม     ปี 2564 มีจำนวน 3.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม      ปี 2563 ร้อยละ 2.20 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.72 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)เดือนมกราคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.27 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ร้อยละ 2.22 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.06 (%YoY)

          การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม ปี 2564  มีจำนวน 0.48 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม         ปี 2563  ร้อยละ 67.29 (%MoM)  แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.12 (%YoY)  เป็นผลจากการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ กัมพูชา  ร้อยละ 39.61

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย จากปัจจัยบวกจากการเร่งสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ