สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน และภาพรวมครึ่งปีแรก 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 18, 2021 14:27 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน และภาพรวมครึ่งปีแรก 2564
          การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 17.6         เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ร้อยละ 63.9

การผลิตภาคอุตสาหกรรมภาพรวมครึ่งปีแรก 2564 ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.3

          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน                 สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่ขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ดังนี้

อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 90.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลของฐานต่ำในปีก่อนจากมาตรการล็อกดาวน์หลายประเทศทั่วโลก ขณะที่ปีนี้ประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เวียดนาม ญี่ปุ่น เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีขึ้น ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนตลาดในประเทศขยายตัวเช่นกัน แม้จะมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบที่ 3แต่ยังไม่มีการล็อกดาวน์อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 32.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ขยายตัว และความต้องการสินค้าเพื่อการทำงานแบบworkfromhomeมากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มของการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้นอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวร้อยละ 28.9เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กรูปพรรณรีดร้อน และเหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นหลัก ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนเร่งก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐ ประกอบกับฐานต่ำในปีก่อน รวมถึงราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงทำให้ผู้บริโภคเหล็กบางส่วนเพิ่มคำสั่งซื้อเพื่อกักตุนสินค้า

สาขาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ดังนี้

อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี หดตัวร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตจากวัตถุดิบนำเข้า เช่น แม่ปุ๋ยยูเรีย* ฟอสเฟต และโพแทสเซียม ปรับตัวสูงขึ้น (อินเดียนำเข้าแม่ปุ๋ยล็อตใหญ่ ส่วนจีนชะลอการส่งออกเพื่อใช้เองในประเทศ) ผู้ผลิตจึงต้องชะลอการผลิต

อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมหดตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นหลัก ตามความต้องการภายในประเทศที่ลดลง จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบที่ 3รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบทั้งการผลิตและการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง หดตัวร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงจากปลาทูน่ากระป๋อง และปลาซาร์ดีนกระป๋อง เป็นหลัก จากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19รอบที่ 3ลูกค้าจึงชะลอคำสั่งซื้อและการรับมอบออกไป รวมถึงยังมีปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือปรับตัวสูง และฐานสูงในปีก่อนที่มีคำสั่งซื้อจำนวนมาก*แม่ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยยูเรีย คือ สารอินทรีย์สังเคราะห์ที่มีไนโตรเจน (N) เป็นส่วนประกอบในอัตราส่วนที่สูงมากถึงร้อยละ 46 โดยน้ำหนัก ปุ๋ยยูเรียจัดเป็นปุ๋ยเคมีมาตรฐานมีสูตรเป็น 46-0-0 ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นธาตุอาหารหลักของพืช โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเพาะปลูกที่ต้องเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว ทำให้พืชมีลำต้นยาว มีใบดก ใบใหญ่ ใบสีเขียวเข้ม น้ำหนักดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมภาพรวมครึ่งปีแรก 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.4

เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป การผลิตปุ๋ยเคมี อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.3

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาพรวมครึ่งปีแรก 2564 ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ดังนี้

อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก เนื่องจากการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตค่ายต่างๆ หลังการประกาศมาตรการล๊อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปีก่อน

อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 15.6เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 เนื่องจากความต้องการของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามปัจจัยบวกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและมีความต้องการใช้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้นอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 จากเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กลวด เหล็กแผ่นเคลือบชนิดต่างๆ และเหล็กรูปพรรณรีดร้อน จากฐานต่ำเนื่องจากมีผู้ผลิตบางรายหยุดซ่อมบำรุงในปีก่อน รวมถึงยังมีการเร่งผลิตเพื่อขายทำกำไรในช่วงที่ยังมีภาวะขาดแคลนสินค้า (ShortSupply)และผลิตรองรับความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และการผลิตปุ๋ยเคมี ดังนี้

อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 เนื่องจากตามความต้องการภายในประเทศที่ลดลง จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบที่ 3รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบทั้งการผลิตและการขนส่งสินค้า

อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศและประเทศคู่ค้า ผู้บริโภคลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ผู้ผลิตไม่สามารถแข่งขันกับจีนที่ผลิตสินค้าได้ปริมาณมาก รวดเร็วและราคาถูก และยังมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2563 จากการชะลอการผลิตลงหลังวัตถุดิบนำเข้า (แม่ปุ๋ยยูเรียและโพแทสเซียม) มีราคาสูงขึ้นตามความต้องการใช้จำนวนมากของประเทศจีนและอินเดีย อย่างไรก็ตามความต้องการใช้ของเกษตรกรในปีนี้มีมากกว่าปีก่อนจากปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกมีเพียงพอที่จะสามารถปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรังได้

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ