ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 20, 2021 14:05 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

Indicators 2562 2563 2563 2564

%YoY Year Year ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.

MPI -3.4 -9.3 -1.3 -0.6 -2.8 -2.0 -1.4 5.9 18.0 25.7 18.3 3.9 -4.7 0.3 2.9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัว

ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศเริ่มขยายตัวในหลายสินค้า

หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว นอกจากนี้เริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้า

ล่วงหน้าเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกรกฎาคม การผลิตขยายตัวร้อยละ

3.9 เดือนสิงหาคม หดตัวร้อยละ 4.7 และเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 0.3

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนกรกฎาคม หดตัวร้อยละ 8.1 เดือนสิงหาคม

หดตัวร้อยละ 3.5 และเดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 9.2

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนตุลาคม 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? รถยนต์และชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 6.02 จากปัญหาขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์เริ่มคลี่คลาย

โรงงานผลิตชิ้นส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศส่งชิ้นส่วนให้ไทยได้มากขึ้น ทำให้กลับมาผลิตได้เป็นปกติและ

สามารถส่งออกสินค้าได้มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน

? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 12.41 ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ยังคงเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่องในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่

? การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 6.26 จากการหยุดซ่อมบำรุงบางหน่วยกลั่นของโรงกลั่น

บางแห่งในปีก่อน รวมถึงในช่วงนี้ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจาก

ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้วในปีนี้ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปมีเพิ่มขึ้น

? เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวร้อยละ 36.17 ตามคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้า

จากอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนตลาดในประเทศได้รับคำสั่งซื้อเป็นเครื่องเรือนทำด้วยโลหะเพิ่มขึ้น

? ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ ขยายตัวร้อยละ 12.88 จากคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามามากขึ้น

โดยเฉพาะจากลูกค้าจีน ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มดีขึ้นและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศ

ที่เริ่มคลี่คลาย

Indicators 2563 2564

%MoM ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.

MPI 0.3 1.6 -0.7 6.9 -3.1 10.2 -16.5 9.7 -2.1 -8.1 --3.5 9.2 2.9

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนตุลาคม 2564

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนตุลาคม 2564

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่า 1,359.6

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องจักรใช้ในการ

แปรรูปไม้ และส่วนประกอบ เครื่องกังหันไอพ่นและส่วนประกอบ ตลับลูกปืน เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้าง

และส่วนประกอบ และ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่า 8,843.0 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจาก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ประเภทเม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์อินทรีย์ อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ ทองแดงและผลิตภัณฑ์

เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนตุลาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 174 โรงงาน ลดลง

จากเดือนกันยายน 2564 ร้อยละ 37.86 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.4 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่ารวม 10,823

ล้านบาท ลดลงจากเดือนกันยายน 2564 ร้อยละ 35.73 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

19.44 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนตุลาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการขุด

หรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 21 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์

คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 17 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2564 คือ อุตสาหกรรมการฆ่าสัตว์ จำนวนเงินทุน

2,183 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวนเงินทุน 1,791

ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนตุลาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 42 ราย ลดลงจากเดือนกันยายน

2564 ร้อยละ 6.67 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 47.5 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่ารวม 1,635 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกันยายน

2564 ร้อยละ 73.11 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38.81 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนตุลาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 6 โรงงาน รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการต้ม นึ่ง หรืออบพืชหรือ

เมล็ดพืช จำนวน 4 โรงงาน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนตุลาคม 2564 คือ อุตสาหกรรม

ผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่าเงินลงทุน 808 ล้านบาท รองลงมาคือ

อุตสาหกรรมการทำสีสำหรับใช้ทา พ่น หรือเคลือบ มูลค่าเงินลงทุน 166 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนตุลาคม 2564

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต เดือนตุลาคม 2564 ขยายตัว (%YoY)

ร้อยละ 1.0 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ และ

ความต้องการสินค้าบางรายการอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้า

อาหาร ที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ 1) ปศุสัตว์ ขยายตัว

ร้อยละ 10.7 จากสินค้า ได้แก่ ไส้กรอก เบคอน เนื้อไก่สุกปรุงรส

และเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้สินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นที่ต้องการ

ของตลาด 2) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 17.9 จากสินค้าสำคัญ

คือ น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 69.4 เนื่องจากอินโดนีเซีย

และมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ได้รับผลกระทบจาก

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต

ปริมาณผลผลิตปาล์มที่ออกสู่ตลาดโลกจึงลดลง ทำให้ประเทศไทย

มีคำสั่งซื้อและส่งออกน้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น 3) มันสำปะหลัง

ขยายตัวร้อยละ 17.0 จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง

ขยายตัวร้อยละ 15.6 เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดใน

และต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ได้นำเข้า

แป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทน ในช่วงที่ราคาแป้ง

ข้าวโพดยังคงอยู่ในระดับที่สูง ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกมัน

สำปะหลังของจีนลดลง ทำให้ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง

ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนตุลาคม 2564 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 5.1 โดย

กลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว มีดังนี้ 1) การผลิตมะกะโรนี เส้นก๋วยเตี๋ยว

และผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกแป้ง ขยายตัวร้อยละ 12.8 จากสินค้าสำคัญ

คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2) การผลิตเครื่องปรุงอาหารประจำโต๊ะและเครื่อง

ประกอบอาหาร ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากสินค้าสำคัญคือ เครื่องปรุงรส

ประจำโต๊ะอาหาร 3) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 10.4 จากสินค้า

สำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง และ 4) ประมง ขยายตัวร้อยละ 10.6 จาก

สินค้าสำคัญคือ กุ้งแช่แข็ง และปลาแช่แข็ง

ตลาดส่งออก ภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารเดือนตุลาคม

2564 มีมูลค่า 2,646.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.4

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) น้ำตาล จากสินค้า

สำคัญ คือ น้ำตาลทราย จากการขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา

เกาหลีใต้ 2) ผักผลไม้ จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง

และแห้ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

ในมาตรฐานระดับโลก โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดีคือ จีน อเมริกา

อินโดนีเซีย และ 3) ธัญพืชและแป้ง จากสินค้าสำคัญ คือ ข้าว เนื่องจาก

ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญในแถบแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย

ยังคงมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อชดเชยสต็อกข้าวที่ลดลงและ

เตรียมไว้ใช้ในช่วงเทศกาลปลายปี ประกอบกับราคาข้าวของไทยอยู่ใน

ระดับที่สามารถแข่งขันได้ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีน

ซึ่งเป็นตลาดหลักได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล และ

แป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ทดแทนการใช้ข้าวโพดที่มี

ราคาสูงและนำไปใช้เป็นอาหารสุกร

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

เดือนพฤศจิกายน 2564 ในภาพรวมจะขยายตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ประกอบกับสถานการณ์

ระบาดในกลุ่มแรงงานอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออก

มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของเงินบาท

0

50

100

150

200

250

300

350

ดชั นีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นตลุ คม 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เนื??อไก่แช่แข็งและแช่เย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

3,500

ลา นเหรยี ญ

สหรฐั ฯ มูลคา การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นตลุ คม 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแขเ ย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

0

20

40

60

80

100

120

140

Oct-63

Nov-63

Dec-63

Jan-64

Feb-64

Mar-64

Apr-64

May-64

Jun-64

Jul-64

Aug-64

Sep-64

Oct-64

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ดัชนีผลผลิต

ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมไฟฟ้า

มูลค่าการส่งออก ดัชนีผลผลิต

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบ

กับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 99.1 โดยสินค้าที่

ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล คอมเพรสเซอร์ เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์

ไฟฟ้า และ สายไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.0, 22.0, 19.4, 18.0 และ 17.8

ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศ และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

เพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อหุงข้าว

เครื่องซักผ้า ตู้เย็น และเตาไมโครเวฟ โดยลดลงร้อยละ 47.0, 37.4, 20.8,

18.8 และ16.9 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและ

คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,260.4 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้า

ที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 ในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น หม้อหุงข้าว เตาย่าง

และเตาอบย่าง มีมูลค่า 57.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ในตลาด

ยุโรป และสหรัฐอเมริกา มอเตอร์ไฟฟ้า มีมูลค่า 70.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ในตลาดอาเซียน จีน และยุโรป เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่า

422.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 ในตลาดอาเซียน สหรัฐอเมริกา

และยุโรป สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ มีมูลค่า 85.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ

11.3 จากตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่

หม้อแปลงไฟฟ้า มีมูลค่า 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 57.7 ในตลาด

อาเซียน จีน และญี่ปุ่น เครื่องซักผ้า มีมูลค่า 81.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง

ร้อยละ 29.7 ในตลาดยุโรป และอาเซียน และ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 16.4

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.6 ในตลาดยุโรป และจีน

?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤศจิกายน 2564 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0-8.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19

รวมทั้งค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถ

ของสินค้าไทยในการแข่งขันด้านราคา?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิต อยู่ที่ 98.3

โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices Transistors,

Printer Hard Disk Drive และ PCBA โดยลดลงร้อยละ 0.3, 4.6, 4.9 และ

5.6 เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PWB และ Integrated

circuits (IC) โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 3.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการ

จำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,517.9

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรรวม มีมูลค่า 755.9

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป

อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 171.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอาเซียน วงจรพิมพ์

มีมูลค่า 139.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ในตลาดยุโรป

สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และ HDD มีมูลค่า 486.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 0.64 ในตลาดสหรัฐอเมริกา

?คาดการณ์การผลิตเดือนพฤศจิกายน 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0-7.0 เมื่อเทียบกับเดือน

เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ใน

การผลิตสินค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้า

IoT เช่น สินค้าอัจฉริยะในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรม

ยานยนต์ เป็นต้น?

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

ต.ค.

63

พ.ย.

63

ธ.ค.

63

ม.ค.

64

ก.พ.

64

มี.ค.

64

เม.ย.

64

พ.ค.

64

มิ.ย.

64

ก.ค.

64

ส.ค.

64

ก.ย.

64

ต.ค.

64

คนั ข้อมูลรายเดือนอุตสาหกรรมรถยนต์

ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณการส่งออก

ปริมาณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2564 มีจำนวน

154,038 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2564 ร้อยละ 10.00

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.27

(%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์

และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนตุลาคม ปี 2564

มีจำนวน 64,462 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2564 ร้อยละ 13.35

(%MoM) เนื่องจากรัฐบาลได้ผ่อนคลายการล็อกดาวน์ตั้งแต่

วันที่ 1 กันยายน 2564 อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.02 (%YoY) จากการปรับลดลง

ของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์ PPV และ SUV

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2564 มีจำนวน

81,577 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2564 ร้อยละ 10.49

(%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.30

(%YoY) เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัว

มากขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป

อเมริกาเหนือ และอเมริกากลางและใต้

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในเดือน

พฤศจิกายน ปี 2564 ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน

พฤศจิกายน ปี 2563 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนตุลาคม ปี 2564

มีจำนวน 144,844 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2564

ร้อยละ 31.66 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 13.08 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์

แบบอเนกประสงค์

การจำห น่ายรถจัก รยานยนต์ ในเดือน ตุลาค ม

ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 114,285 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

กันยายน ปี 2564 ร้อยละ 4.01 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.53 (%YoY) จากการลดลงของยอด

จำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี, 126-250

ซีซี และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 ซีซี

ก รส่งอ อ ก รถ จัก รย น ย น ต์ ใน เดือน ตุล ค ม

ปี 2564 มีจำนวน 30,989 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน

ปี 2564 ร้อยละ 27.43 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 22.18 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์

สำเร็จรูปมีการเพิ่มขึ้นในประเทศสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และ

สหรัฐอเมริกา

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ

เดือนพฤศจิกายน ปี 2563 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.11 จากการขยายตัวของการผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐมทุกชนิด ตามการขยายตัวของตลาดส่งออก

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13 ตามการขยายตัวที่ดี

ของตลาดส่งออก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 7.66 ตามการชะลอตัวของ

ตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 2.89 จากการจำหน่ายยางแผ่น

รมควันและน้ำยางข้นที่ลดลง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 1.35 ตามการชะลอตัวของ

อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 8.03 ตามความต้องการใช้

ที่ปรับตัวลดลง

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.73 จากการขยายตัวของ

การส่งออกยางแผ่นรมควันและยางแท่งไปยังจีนและ

สหรัฐอเมริกา และการขยายตัวของการส่งออกน้ำยางข้นไปยังจีน

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.12 ตามการ

ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 37.74 ตามการชะลอตัว

ของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2564

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้ม

ความต้องการใช้ของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะจีนและ

สหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการผลิตยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวจากเดือน

ก่อนตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา

ในขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่า

จะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามแนวโน้ม

การชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในส่วนของการ

ผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย ต่อเนื่องจาก

เดือนก่อน ตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ปรับลดลง

เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาจีนมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต

ถุงมือยางทางการแพทย์ในประเทศ ทำให้กลายเป็นผู้ผลิต

และส่งออกถุงมือยางทางการแพทย์รายใหญ่อีกแห่งหนึ่ง

ของโลก โดยจีนมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสูง

กว่าไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องพยายามปรับตัว

เพื่อให้มียอดคำสั่งซื้อที่คงที่

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เนื่องจาก

การผลิตผลิตภัณ ฑ์ยางในประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว

มีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี สำหรับการส่งออกยางรถยนต์

คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของ

สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ในส่วนของ

การส่งออกถุงมือยางคาดว่าในภาพรวมจะมีมูลค่าลดลง

เนื่องจากฐานตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างสูง ประกอบกับไทย

มีคู่แข่งทางการค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับตัวด้านการ

ปรับลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนตุลาคม 2564 ค่าดัชนีผลผลิต อยู่ที่

ระดับ 95.36 ขยายตัวร้อยละ 0.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น

แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 22.06 ท่อและข้อต่อพลาสติก

ขยายตัวร้อยละ 11.86 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัว

ร้อยละ 9.35

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนตุลาคม 2564 ค่าดัชนีการส่งสินค้า

อยู่ที่ระดับ 96.27 ขยายตัวร้อยละ 1.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัว

ร้อยละ 25.03 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 8.17

การส่งออก เดือนตุลาคมปี 2564 มีมูลค่า 368.18

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 2.80 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น

กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็น

แบบเซลลูลาร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 23.83 กลุ่มผลิตภัณฑ์

หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 18.54 และกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ชนิดยึดติด

ในตัว (HS 3919) ขยายตัวร้อยละ 3.78 และเมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น

สหรัฐอเมริกา จีน และเวียดนาม

การนำเข้า เดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่า 455.98

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 19.81 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้าขยายตัว

เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 26.95

กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ

ที่เป็นแบบเซลลูลาร์ (HS 3921) ขยายตัวร้อยละ 18.55 และกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบของอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ

26.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนพฤศจิกายน 2564

คาดการณ์ว่าการส่งออกยังคงขยายตัว สถานการณ์การระบาดของ

โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย และอัตราการฉีดวัคซีน

ที่ครอบคลุมมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่

โหมดฟื้นตัว นำไปสู่ความต้องการสินค้าใกล้เคียงช่วงปกติ ส่งผลต่อ

การขยายตัวการผลิตในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพลาสติกที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนตุลาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 94.10

ขยายตัวร้อยละ 10.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.40 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว

ได้แก่ กรดเกลือ ขยายตัวร้อยละ 12.66 โซดาไฟ ขยายตัว

ร้อยละ 10.85 และคลอรีน ขยายตัวร้อยละ 5.18 สำหรับกลุ่ม

เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 13.53 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวสูงสุด

ได้แก่ ปุ๋ยขยายตัวร้อยละ 132.69 แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ

19.88 และยาสระผม ขยายตัวร้อยละ 8.86

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนตุลาคม 2564 อยู่ที่ระดับ

92.03 ขยายตัวร้อยละ 5.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โด ยดัชนีการส่งสิน ค้าใน กลุ่ม เค มีภัณ ฑ์

ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 6.92 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว คือ

ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 153.16 และแป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ

44.01 สำห รับ เค มีภัณ ฑ์พื้น ฐาน ห ด ตัวร้อย ละ 0.64

หดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์ เอทานอล หดตัวร้อยละ 35.84

การส่งออก เดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่าการส่งออกรวม

880.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.83 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่า

การส่งออก 524.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 39.28

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกเคมีภัณฑ์

ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 356.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 14.02 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว เช่น

ปุ๋ย ขยายตัวร้อยละ 130.34 เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ

73.83 และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ 28.77 การส่งออก

ขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย

การนำเข้า เดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่าการนำเข้า

รวม 1,548.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 31.21

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

มีมูลค่าการนำเข้า 1,043.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว

ร้อยละ 36.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน

เคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 505.45 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนพฤศจิกายน

2564 คาดการณ์ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกช่วยสนับสนุน

การส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ส่งผลให้เคมีภัณฑ์

มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งทิศทางค่าเงินบาทยังมี

แนวโน้มอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน

ด้านราคาให้กับสินค้าไทยอีกด้วย

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

เดือนตุลาคม ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 114.16 หรือหดตัวร้อยละ

0.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย PP resin และ

EPS หดตัวร้อยละ 44.28 และ 11.69 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนตุลาคม ปี 2564 อยู่ที่

ระดับ 117.97 ขยายตัวร้อยละ 8.04 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่

Ethylene และPropylene ขยายตัวร้อยละ 18.29 และ

13.60 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้น

ปลาย ได้แก่ EPS และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 58.59 และ

7.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนตุลาคม ปี 2564 มีมูลค่า

1,232.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 66.37

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 3.19

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene เป็นต้น ร้อยละ

102.43 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin

และ PE resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 32.37

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนตุลาคม ปี 2564 มีมูลค่า 838.00

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 107.46 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 57.21 เมื่อ

เทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน

เช่น Styrene เป็นต้น ร้อยละ 48.26 และขยายตัวในกลุ่ม

ปิโตรเคมีขั้น ปลาย เช่น Nylon resin และ PP resin

เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 122.37 ส่วนหนึ่งมาจากระดับราคา

ที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนพฤศจิกายน ปี 2564

คาดว่า ภ พรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้น

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิต

เพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับ

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

หลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตและส่งออก

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม

2564 มีค่า 98.7 ขย ย ตัวร้อย ล 8.7 เมื่อเทีย บ กับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ผลิตเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่าดัชนีผลผลิตขยายตัวทั้งสอง

ผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมมีค่า 94.7 ขยายตัวร้อยละ 2.3 ผลิตภัณฑ์

ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

ชนิดรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 9.5 รองลงมาคือ เหล็กเส้น

ข้ออ้อย ขยายตัวร้อยละ 4.9 และ ลวดเหล็ก ขยายตัว

ร้อยละ 2.0 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 107.4 ขยายตัว

ร้อยละ 23.9 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่น

รีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 61.7 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ

สังกะสี ขยายตัวร้อยละ 46.6 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก

ขยายตัวร้อยละ 40.1

การบริโภคในประเทศ ในเดือนตุลาคม 2564

มีปริมาณการบริโภค 1.5 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 6.5

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเหล็กทรงแบน

มีปริมาณการบริโภค 1.1 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 23.0

จากการบริโภค เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ

39.0 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ

31.3 และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 27.4

สำหรับเหล็กทรงยาวมีปริมาณการบริโภค 0.5 ล้านตัน หดตัว

ร้อยละ 17.7 จากการบริโภคเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 35.4

เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน หดตัวร้อยละ 13.1

การน เข้า ในเดือนตุลาคม 2564 มีปริมาณ

การนำเข้า 1.0 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงแบน มีปริมาณนำเข้า

0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 23.8 เหล็กทรงแบนที่การนำเข้า

ขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon steel

P&O ขยายตัวร้อยละ 133.8 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีด

ร้อน ชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 106.6 (ประเทศ

ห ลักที่ไท ยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น ) และเห ล็กแผ่น เคลือบ

Galv.sheet (HDG) ขยายตัวร้อยละ 37.0 (ประเทศหลักที่ไทย

นำเข้า คือ จีน และญี่ปุ่น) สำหรับเหล็กทรงยาวมีปริมาณการ

นำเข้า 0.2 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 18.6 จากการนำเข้า

เหล็กลวด ชนิด Alloy steel หดตัวร้อยละ 75.4 (ประเทศ

หลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน) รองลงมา คือ

เหล็กลวดชนิด Carbon steel หดตัวร้อยละ 40.9 (ประเทศ

หลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เวียดนาม และสหรัฐอาหรับ

เอมิเรตส์)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤศจิกายน

2564 คาดการณ์ว่า การผลิตใกล้เคียงกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของ

อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม เช่น

ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ เพราะจะส่งผลต่อปริมาณ

การผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ผลิตเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ

0.89 และ 3.81 เพื่อรองรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากการฟื้นตัวในตลาดหลัก เช่น เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย

บังกลาเทศ และอินเดีย ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อน ในขณะที่กลุ่ม

ผ้าผืน หดตัว ร้อยละ 2.80 เนื่องจากการบริโภคในประเทศ

ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับปี 2562 ก่อนการระบาดของ

โควิด-19 พบว่า การผลิตยังไม่ฟื้นตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดย

เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยังคงหดตัวต่อเนื่อง

ร้อยละ 13.95 27.98 และ 30.87 จากกำลังซื้อทั้งในและ

ต่างประเทศที่ชะลอตัวกว่าช่วงก่อนการระบาด

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวเล็กน้อยเพียงกลุ่มเดียว ร้อยละ

4.03 เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกที่กลับมา

ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน เวียดนาม บังกลาเทศ และปากีสถาน

ในขณะที่กลุ่มผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัว ร้อยละ 5.10 และ

4.72 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวเป็นสำคัญ

แม้จะเริ่มคลายล็อกดาวน์ แต่นักท่องเที่ยวหลักอย่างจีนยังไม่กลับมา

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ฟื้นตัว

ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมูลค่าการส่งออกกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ

เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.30 ในตลาดญี่ปุ่น จีน เวียดนาม บังกลาเทศ

ปากีสถาน และอินเดีย กลุ่มผ้าผืนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.04

ในตลาดบังกลาเทศ เมียนมา กัมพูชา จีนและญี่ปุ่น และกลุ่ม

เสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.13 ในตลาดสหรัฐอเมริกา

ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และยุโรป เนื่องจากสถานการณ์

การระบาดคลี่คลายในประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัว หลังอัตราการ

ฉีดวัคซีนอยู่ในระดับสูง ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

กลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น การส่งออกจึงเพิ่มขึ้น

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2564

คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่อง

ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มี

อย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ในขณะที่การผลิตอุตสาหกรรม

เครื่องนุ่งห่มน่าจะชะลอตัวตามกำลังซื้อในประเทศลดลง

จากค่าระวางเรือที่ยังคงแพง มีการแย่งตู้เปล่าของผู้ส่งออกไทย

กับจีน และได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนพลังงาน

ในจีน ส่งผลให้วัตถุดิบอย่างเส้นด้ายและเส้นใยโพลิเอสเตอร์

ปรับราคาขึ้น กระทบต่อการผลิตเสื้อผ้า ชุดยูนิฟอร์ม ทำให้

ผู้ประกอบการเลื่อนการผลิต ในขณะที่คำสั่งซื้อล่วงหน้า

มีไม่มาก เนื่องจากความไม่มั่นใจต่อเวลาในการรับมอบสินค้า

แม้ประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป

จะทยอยฟื้นตัว และมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2564

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนตุลาคม ปี 2564

มีจำนวน 5.84 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกันยายน ปี 2564

ร้อยละ 7.49 (% MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 7.71 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

ตุลาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 2.91 ล้านตัน

เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2564 ร้อยละ 0.86 (%MoM)

แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.61 (%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนตุลาคม

ปี 2564 มีจำนวน 1.26 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน

ปี 2564 ร้อยละ 94.01 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.61 (%YoY) เป็นผลจากการ

ปรับเพิ่มคำสั่งซื้อจากตลาดบังกลาเทศ ร้อยละ 73.74 และ

ได้รับคำสั่งซื้อจากศรีลังกากลับมาเป็นจำนวนมาก

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

ในภาพรวมเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน คาดว่าอาจจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากภาวะ

ฝนตกและผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมลดลงแล้ว

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคม

ปี 2564 มีจำนวน 3.08 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน

ปี 2564 ร้อยละ 1.07 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 2.18 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ในเดือนตุลาคม ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 2.91 ล้านตัน

เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน ปี 2564 ร้อยละ 0.86 (%MoM)

แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.34 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนตุลาคม

ปี 2564 มีจำนวน 0.17 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจากเดือนกันยายน

ปี 2564 ร้อยละ 43.91 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 48.04 (%YoY) เป็นผลจากคำสั่งซื้อของ

ตลาดส่งออกหลักในเดือนนี้ มีสัดส่วนของปูนเม็ดจำนวนมาก

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจาก

หมดช่วงฤดูฝนและภาวะน้ำท่วมแล้ว ประชาชนต้องมีการ

ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ถูกน้ำท่วม นอกจากนี้ โครงการก่อสร้าง

สาธารณูปโภคของภาครัฐทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่

สามารถเดินหน้าก่อสร้างได้เต็มที่

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ