อก. เผย MPI เดือนพฤษภาคม 65 ขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 7.46 รับอานิสงส์เปิดประเทศฟื้นตัวต่อเนื่อง คาดศก.ภาคอุตฯขยายตัวหลังจีนคลายล็อกดาวน์

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 29, 2022 14:32 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อก. เผย MPI เดือนพฤษภาคม 65 ขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 7.46
รับอานิสงส์เปิดประเทศฟื้นตัวต่อเนื่อง คาดศก.ภาคอุตฯขยายตัวหลังจีนคลายล็อกดาวน์
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.46 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวหลังผ่อนคลายมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ชี้ภาคการผลิตรับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสาคัญของจีน สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ภาคการผลิตจะขยายตัวหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัว สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 7.46 โดยสะท้อนได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.97 ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กาลังการผลิต 5 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.11 ทั้งนี้จาเป็นต้องจับตาดูสถานการณ์การล็อกดาวน์เมืองท่าสาคัญของจีนที่ทาให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ โดยสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าการขาดแคลนวัตถุดิบเป็นผลกระทบระยะสั้น ภาคการผลิตขยายตัวอีกครั้งหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสาคัญเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2565 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 2.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการล็อกดาวน์เมืองท่าสาคัญของจีน ทาให้เกิดปัญหา Supply shortage โดยเฉพาะการขาดแคลน เซมิคอนดักเตอร์เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์และสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ โดยจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้งในเดือนหน้าหลังประเทศจีนเริ่มคลายล็อกดาวน์เมืองท่าสาคัญ ในขณะที่การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจาวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น การดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ามันปิโตรเลียมที่ขยายตัว
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทาให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้านสถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนมีผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ขณะเดียวกันภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 เร่งตัวขึ้นจากเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4 สาหรับสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังส่งสัญญาณบวกต่อเนื่อง โดย สศอ. ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry Economics : EWS-IE) ในการคานวณ พบว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวใน 1-2 เดือนข้างหน้า อุปสงค์ในประเทศและการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว ความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวและปลดล็อกมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ทาให้มีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ด้านปัจจัยต่างประเทศยังคงส่งสัญญาณปกติจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศที่ยังเติบโตได้ แต่ต้องจับตาดูสถานการณ์เงินเฟ้อของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ยังคงเพิ่มสูง และสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ สาหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนพฤษภาคม 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ น้ามันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.06 จากผลิตภัณฑ์น้ามันดีเซล น้ามันเครื่องบิน และน้ามันแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นหลัก หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรค โควิด-19 ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการเดินทางในประเทศและต่างประเทศ ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.29 จากผลิตภัณฑ์ Integrated Circuit และ PWB เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังขยายตัวต่อเนื่อง เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.73 จากผลิตภัณฑ์ยาเม็ดและยาน้า เป็นหลัก เนื่องจากผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวในปีก่อน และในปีนี้มีความต้องการเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.24 จากผลิตภัณฑ์ยางแท่ง เป็นหลัก เนื่องจากมีความต้องการสูงในตลาดโลก ประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ยุโรป อเมริกา และสิงคโปร์ มีความต้องการสินค้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาการขนส่งเริ่มคลี่คลาย
เครื่องประดับเพชรพลอยแท้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.93 จากผลิตภัณฑ์จี้ สร้อย และกาไล เป็นหลัก เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในหลายประเทศมีการ ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น ส่งผลให้ในตลาดส่งออกสาคัญกลับมามีคาสั่งซื้อสินค้าอีกครั้ง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายเดือน)
Index
2564
2565
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย. พ.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
100.17
98.12
89.98
86.70
94.72
97.51
100.75
102.26
104.46
101.70
109.93
91.24 98.05
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %
9.75
-2.05
-8.30
-3.65
9.25
2.94
3.33
1.50
2.15
-2.64
8.09
-17.00 7.46
อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) %
26.03
18.64
3.75
-4.95
0.35
2.74
4.59
6.66
2.02
2.45
0.44
-0.03 -2.11
อัตราการใช้กาลังการผลิต
64.91
63.75
58.10
56.28
61.14
63.12
65.17
65.24
65.69
64.58
69.33
58.54 62.42
ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ