ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 29, 2024 14:24 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

รายงาน

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม Indicators 2565 2566 2565 2566 %YoY Year Year ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

MPI

0.4

-5.1

-8.5

-4.8

-2.4

-3.9

-8.7

-3.1

-5.0

-4.7

-7.8

-6.3

-4.3

-4.6

-6.3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว ร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทนปรับตัวลดลง เช่น รถยนต์ เป็นต้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และ CLMV ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวในกลุ่มชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนกันยายน หดตัวร้อยละ 6.3 เดือนตุลาคม หดตัวร้อยละ 4.3 และเดือนพฤศจิกายน หดตัวร้อยละ 4.6

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนกันยายน เดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ กล่าวคือ เดือนกันยายน หดตัวร้อยละ 0.3 เดือนตุลาคม หดตัวร้อยละ 2.2 และเดือนพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 1.8

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? รถยนต์ หดตัวร้อยละ 20.59 จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก โดยหดตัวจากตลาดในประเทศ (-30.66%) ตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวภายในประเทศ ปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่ามากขึ้น ประกอบราคารถยนต์มือสองปรับตัวลดลงต่อเนื่องกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใหม่

? น้ำตาล หดตัวร้อยละ 22.93 จากการเปิดหีบช้ากว่าปีก่อน 10วัน (ปีก่อนเปิดหีบ 1 ธ.ค.65) เนื่องจากฝนตกชุกในหลายพื้นที่เพาะปลูกเป็นอุปสรรคต่อการเข้าตัดอ้อย ส่งผลต่อปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานน้อยกว่าปีก่อน

? ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวร้อยละ 12.61 จาก Integrated circuits (IC) และ PCBA เป็นหลัก เป็นไปตามทิศทางความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนธันวาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

? ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.22 จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน และก๊าซหุงต้ม เป็นหลัก ตอบสนองการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงปีก่อนโรงกลั่นเริ่มกลับมาผลิตปกติหลังหยุดซ่อมบำรุงในช่วงก่อนหน้า

? สายไฟและเคเบิลอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 43.29 จากสายไฟฟ้าเป็นหลัก ตามการขยายตัวของตลาดในประเทศ (+55.55%) หลังได้รับคำสั่งซื้อต่อเนื่องจากหน่วยงานการไฟฟ้าของรัฐ และความต้องการใช้ในภาคเอกชนขยายตัว

? กระดาษ ขยายตัวร้อยละ 20.28 จากกระดาษคราฟท์และเยื่อกระดาษเป็นหลัก ตามความต้องการใช้ในบรรจุภัณฑ์และการขนส่งสินค้า Indicators 2565 2566 %MoM ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค

MPI

-1.8

6.1

-0.1

6.3

-21.3

14.3

-2.2

-2.0

0.8

-0.3

-2.2

1.8

-3.5

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ

เดือนธันวาคม 2566

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนธันวาคม 2566

?

การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 1,313.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.86 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวจากการนำเข้าในสินค้าประเภทเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลัง และส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะและส่วนประกอบ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 7,612.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.94 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าหดตัวในสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่น ๆ เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 145 โรงงาน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 7.64 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.89 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่ารวม 19,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 10.08 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 96.49 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2566 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม จำนวน 14 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำฝอยไม้ การบด ป่น หรือย่อยไม้ จำนวน 11 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2566 คือ การทำภาชนะบรรจุ จำนวนเงินทุน 5,237 ล้านบาท รองลงมาคือ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จำนวนเงินทุน 4,516 ล้านบาท?

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

?

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 60 ราย ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 42.86 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 50.00 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่ารวม 2,233 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2566 ร้อยละ 35.17 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 37.83 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2566 คือ การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 8 โรงงาน รองลงมาคือ การดูดทราย จำนวน 6 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนธันวาคม 2566 คือ การทำอาหารหรือเครื่องดื่มจากผัก พืช หรือผลไม้ มูลค่าเงินลงทุน 439 ล้านบาท รองลงมาคือ การทำชิ้นส่วนพิเศษ หรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ หรือรถพ่วง มูลค่าเงินลงทุน 380 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนธันวาคม 2566

1.

อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดือนธันวาคม 2566 ชะลอตัว (%YoY) ร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีดัชนีผลผลิตชะลอตัว มีดังนี้ 1) น้ำตาล หดตัวร้อยละ 22.9 จากน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หดตัวร้อยละ 16.5 และน้ำตาลทรายขาว หดตัวร้อยละ 12.9 เนื่องจากฤดูกาลผลิตปี 2566/2567 เริ่มเปิดหีบในวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ช้ากว่าปี 2565/2566 ประมาณ 1 สัปดาห์ รวมถึงในเดือนธันวาคมนี้มีปริมาณผลผลิตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยปี 2565/2566 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 17-18 ล้านตัน และปี 2566/2567 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 15 ล้านตัน 2) ประมง หดตัวร้อยละ 8.6 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง หดตัวร้อยละ 21.4 และปลาแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจากความต้องการบริโภคลดลงทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ3) ปศุสัตว์ ชะลอตัวร้อยละ 5.3 จากสินค้าสำคัญ คือ เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง ชะลอตัวร้อยละ 7.5 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว ส่งผลต่อความต้องการบริโภคที่ลดลง 4) มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 1.0 จากสินค้าสำคัญ คือ แป้งมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 1.0 เนื่องจากภาวะภัยแล้งและการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในช่วงก่อนหน้า ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกและปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีผลผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่ขยายตัว ได้แก่ ผักและผลไม้แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้กระป๋องอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 15.1 และน้ำผลไม้ ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ

ดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องดื่ม ชะลอตัวร้อยละ 8.1 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ สุราขาว เบียร์ และน้ำดื่มให้กำลังงาน เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

ตลาดในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศเดือนธันวาคม 2566 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 5.3 เช่น 1) น้ำผลไม้ ขยายตัวร้อยละ 21.6 2) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 16.5 3) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 9.1 4) เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร ขยายตัวร้อยละ 9.0 5) เค้ก ขยายตัวร้อยละ 7.7

ตลาดต่างประเทศ การส่งออกสินค้าอาหารเดือนธันวาคม 2566ในภาพรวม ชะลอตัวร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ข้าว โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน ในส่วนของมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

?คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมกราคม 2567 ในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการบริโภคในประเทศและภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า จะขยายตัวเนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าของประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความกังวลด้านความมั่นคงอาหาร อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของหลายประเทศที่อาจส่งผลลบต่อระบบเศรษฐกิจ?

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

?

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 79.8 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.04 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่าการผลิตไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นผลจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลต่อความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน เตาไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อหุงข้าว และมอเตอร์ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 55.6, 33.8, 31.4, 31.4, 31.3 และ 0.9 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายไฟฟ้า ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า สายเคเบิ้ล และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.4, 21.0, 17.7, 10.9, 6.8 และ 0.6 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสายไฟฟ้าที่ขยายตัวจากความต้องการผลิตและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ

การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,107.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 14.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.3 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร พัดลม มีมูลค่า 39.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 337.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.1 ในตลาดสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่า 453.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 141.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.2 ในตลาดญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีมูลค่า 77.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.0 ในตลาดฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า มีมูลค่า 204.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.6 ในตลาดสิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มีมูลค่า 79.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0 ในตลาดจีน และฮ่องกง และเครื่องซักผ้า ซักแห้ง และส่วนประกอบ มีมูลค่า 90.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.5 ในตลาดสหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้

?คาดการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2567 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าจะยังคงชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการตลาดโลกและเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน?

?

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 71.8 ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ PCBA, Semiconductor devices Transistors, IC, HDD และ Printer โดยลดลงร้อยละ 30.1, 29.2, 23.2, 20.4 และ 13.7 ตามลำดับ เนื่องจาก PCBA, Semiconductor devices Transistors, IC และ Printer มีความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และ HDD มีความต้องการสินค้าในประเทศลดลง ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PWB โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดโลกและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 4,195.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการสินค้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องในตลาดโลก โดยสินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่า 770.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน และจีน และ HDD มีมูลค่า 1,003.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในตลาดฮ่องกง จีน และเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด มีมูลค่า 455.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.4 ในตลาดเวียดนาม อินเดีย และญี่ปุ่น และวงจรพิมพ์ มีมูลค่า 106.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.2 ในตลาดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกชะลอตัว

?คาดการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2567 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะยังคงทรงตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความต้องการของตลาดโลกดิจิทัล?

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

?

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 133,621 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.75 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ร้อยละ 18.19 (%MoM)

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 68,326 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.48 (%YoY) โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลต่ออุปสงค์ในประเทศ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ร้อยละ 10.88 (%MoM)

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 90,305 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.09 (%YoY) โดยตลาดส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ร้อยละ 9.34 (%MoM)

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2566 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก?

?

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 164,528 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.84 (%YoY) จากการลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์และสปอร์ต และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ร้อยละ 7.59 (%MoM)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มียอดจำหน่ายจำนวน 132,377 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.35 (%YoY) จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 126-250 ซีซี และมากกว่า 400 ซีซี และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ร้อยละ 7.51 (%MoM)

การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 39,973 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.22 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการลดลงในประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 ร้อยละ 7.78 (%MoM)

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2567 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2566 เนื่องจาก แนวโน้มการชะลอตัวของตลาดในประเทศ?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 5.94 จากการชะลอตัวของการผลิตยางแผ่นและยางแท่ง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 9.60 จากการลดลงของการผลิตยางรถยนต์ ยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางรถแทรกเตอร์

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.51 จากการผลิตเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อรอการจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.37 จากความต้องการทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่อยู่ในระดับสูง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 43.60 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศและความต้องการในตลาด REM (Replacement Equipment Manufacturing)

ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 4.04 จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ในประเทศที่ชะลอตัว

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.08 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางแท่งไปตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และน้ำยางข้นไปตลาดจีน

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.40 จากการขยายตัวที่ดีของการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 8.46 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากช่วงที่ผ่านมา

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2567

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่า จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองอุปสงค์ความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ไทย ในส่วนของการผลิตถุงมือยาง คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศเป็นหลัก ประกอบกับฐานตัวเลขเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะกลับขยายตัว จากความต้องการถุงมือยางทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2566

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีแนวโน้มสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากไทยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะยางแท่ง ในส่วนของการส่งออกยางรถยนต์ คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ความต้องการยางรถยนต์ในตลาดสำคัญที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางด้านการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงจากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ปรับลดลงจากในช่วงที่ผ่านมา

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ดัชนีผลผลิต เดือนธันวาคม ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 11.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 88.77 บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 4.85 และถุงพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 3.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนธันวาคม ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 3.64 โดยผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 17.75 แผ่นฟิล์มพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 13.03 และพลาสติกแผ่น ขยายตัวร้อยละ 10.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนธันวาคม ปี 2566 มีมูลค่ารวม 350.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 8.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 288.71 ผลิตภัณฑ์พลาสติกปูพื้น (HS 3918) ขยายตัวร้อยละ 273.91 ผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัวร้อยละ 31.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้า เดือนธันวาคม ปี 2566 มีมูลค่ารวม 387.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 1.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ (HS 3922) หดตัวร้อยละ 14.33 ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) หดตัวร้อยละ 11.35 และผลิตภัณฑ์ของอื่น ๆ ทำด้วยพลาสติก (HS 3926) หดตัวร้อยละ 4.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

?แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนมกราคม 2567 คาดการณ์ว่า สถานการณ์การผลิตเริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม จีน และมาเลเซีย

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า

ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นาเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ดัชนีผลผลิต - ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการนาเข้า

ที่มา : สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนธันวาคม ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 6.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.30 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ โซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 21.25 และเอทานอล ขยายตัวร้อยละ 4.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลายขยายตัวร้อยละ 9.11 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 87.94 น้ำยาล้างจาน ขยายตัวร้อยละ 39.45 และผงซักฟอก ขยายตัวร้อยละ 18.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนธันวาคม ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 4.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 1.65 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัว ได้แก่ เอทานอล ขยายตัวร้อยละ 3.81 และโซดาไฟ ขยายตัวร้อยละ 3.26 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 6.19 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัว ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 60.57 น้ำยาล้างจานขยายตัวร้อยละ 47.66 สีน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 19.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกเคมีภัณฑ์ เดือนธันวาคม ปี 2566 มูลค่าส่งออกรวม 739.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 362.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน มีมูลค่าการส่งออก 377.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.13 โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออก

หด

ตัว เช่น เครื่องสำอาง หดตัวร้อยละ 24.83 และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ หดตัวร้อยละ 2.90 เป็นต้น

การนำเข้า เดือนธันวาคม ปี 2566 มูลค่าการนำเข้ารวม 1,281.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 9.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 868.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 11.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่าการนำเข้า 412.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การนำเข้าหดตัว เช่น เคมีเบ็ดเตล็ด หดตัวร้อยละ 14.89 เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ หดตัวร้อยละ 10.29 และสี หดตัวร้อยละ 9.20 เป็นต้น

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนมกราคม 2567 คาดการณ์ว่า การผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เคมีบางชนิดขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของสถานการณ์การส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้นจากตลาดหลัก ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม สหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย?

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนธันวาคม ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 86.09 หรือปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 0.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 2.64 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PC resin และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 10.02 และ 3.87 ส่วนปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ Ethylene เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงงานเมื่อปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 81.89 ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ Benzene หดตัวร้อยละ 37.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP resin หดตัวร้อยละ 1.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนธันวาคม ปี 2566 มีมูลค่า 759.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 1.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 6.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PC resin ร้อยละ 19.48 เป็นต้น และปรับตัวลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น Propylene ร้อยละ 22.53 เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ตลาดต่างประเทศมีความต้องการในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำลดลง

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนธันวาคม ปี 2566 มีมูลค่า 406.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวลดลงร้อยละ 18.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 11.40 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น Propylene ร้อยละ 75.91 เป็นต้น และปรับตัวลดลงในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PET resin เป็นต้น

?แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เดือนมกราคม ปี 2567 คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตกลับมาผลิตได้หลังจากซ่อมบำรุงในช่วงปลายปีก่อนถึงต้นปี แต่ความต้องการใช้พลาสติกที่ลดลงจากการชะลอตัวของการส่งออก โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Ethylene และ Propylene จากระดับราคาที่ผันผวนตามราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการชะลอการผลิตในหลายประเทศ เนื่องจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ยังทำให้การผลิตยังคงขยายตัวได้ไม่มากนัก?

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม 2566 มีค่า 72.6 หดตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กหดตัวทั้งในเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน ซึ่งเหล็กทรงยาวที่การผลิตหดตัว เช่น เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น และเหล็กเส้นข้ออ้อย หดตัวร้อยละ 26.2 16.6 และ 9.6 ตามลำดับ และเหล็กทรงแบนที่มีการผลิตหดตัว เช่น เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 17.7 16.1 และ 2.9 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ในเดือนธันวาคม 2566 มีปริมาณการบริโภค 1.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวจากปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น โดยการบริโภคขยายตัวทั้งในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวและผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน โดยเหล็กทรงยาว มีปริมาณการบริโภค 0.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง และเหล็กลวด เหล็กทรงแบน มีปริมาณการบริโภค 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

การนำเข้า ในเดือนธันวาคม 2566 มีปริมาณการนำเข้า 0.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวทั้งในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยเหล็กทรงยาว มีปริมาณการนำเข้า 0.2 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 16.4 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กลวด ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน มาเลเซีย และเวียดนาม) เหล็กโครงสร้าง ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน และเกาหลีใต้) ลวดเหล็ก (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม) ขณะที่เหล็กทรงแบน มีปริมาณการนำเข้า 0.6 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 7.5 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนที่มีการนำเข้าขยายตัว เช่น เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม) เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี แบบจุ่มร้อน (HDG) (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน) และเหล็กแผ่นรีดเย็น ประเภท Stainless Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้น คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม 2567 คาดการณ์ว่า การผลิตจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา ประกอบกับคาดว่าจะมีการนำเข้าเหล็กที่มีราคาถูกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลก ราคาเหล็กต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของจีน ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลก?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยขยายตัวร้อยละ 16.19 (YoY) ในกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ และกลุ่มด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยเรยอน จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เนื่องจากเป็นเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ มีความยืดหยุ่น ไม่ต้องรีด ซักง่าย แห้งเร็ว โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้ากีฬา สิ่งทอภายในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์

ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 14.93 (YoY) ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 19.18 (YoY) ในกลุ่มเสื้อผ้าทอและเสื้อผ้าถักจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้า ในขณะเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) เส้นใยสิ่งทอขยายตัวร้อยละ 1.46 ในกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์และเส้นด้ายฝ้าย จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในประเทศและเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มที่มีคุณสมบัติพิเศษเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยขยายตัวร้อยละ 2.23 (YoY) ในกลุ่มด้ายจากเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นด้ายฝ้าย

ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 6.22 (YoY) เสื้อผ้าสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 25.04 (YoY) เป็นผลจากการปรับลดกำลังการผลิต ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเลือกซื้อสินค้าราคาถูกจากจีนมากขึ้น

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า

ด้ายและเส้นใยหดตัวร้อยละ 24.34 (YoY) และผ้าผืนหดตัวร้อยละ 8.28 (YoY)

เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 22.82 (YoY) จากการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีน ตามพฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

การส่งออก

เส้นใยสิ่งทอ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยขยายตัวร้อยละ 5.80 (YoY) จากการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดสำคัญ ได้แก่ เบลเยียม

หดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เส้นใยสิ่งทอ หดตัวร้อยละ 1.30 (YoY) ทั้งในกลุ่มด้ายและเส้นใย และกลุ่มเส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน หดตัวร้อยละ 5.90 (YoY) สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวร้อยละ 6.17 (YoY) เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคทั่วโลก ในขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ผ้าผืนขยายตัวร้อยละ 2.32 จากผ้าผืนที่ทำจากฝ้าย ผ้าผืนทำจากเส้นใยประดิษฐ์ และผ้าผืนทำจากไหม โดยขยายตัวจากการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอินเดีย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

?แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมกราคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อย จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงการเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม อาจจะประสบกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลง เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น?

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2566

10.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

?อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์รวม

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 6.15 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 10.24 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากความต้องการและคำสั่งซื้อที่ลดลงของปูนเม็ดและปูนซีเมนต์ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 2.88 ล้านตัน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัวร้อยละ 6.92 (%YoY) ตามความต้องการที่ลดลงของปูนซีเมนต์เป็นหลัก เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 0.53 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 4.83 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากคำสั่งซื้อปูนเม็ดที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกหลักหลายประเทศ เช่น บังคลาเทศ เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในภาพรวมเดือนมกราคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น จากการเร่งก่อสร้างโครงการของภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นตลาดของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ในช่วงต้นปี 2567?

?อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2.ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 3.44 ล้านตัน หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 4.77 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการลดลงของตลาดภายในประเทศ การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีปริมาณการจำหน่าย 2.88 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 6.92 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของโครงการภาครัฐขนาดใหญ่และเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคใต้

การส่งออกปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2566 มีจำนวน 0.18 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 7.90 (%YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการปรับลดคำสั่งซื้อในตลาดส่งออกหลักหลายประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และศรีลังกา ตามความต้องการใช้และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจผู้นำเข้า ?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนมกราคม 2567 คาดว่า จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น จากการเร่งก่อสร้างของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม เพื่อกระตุ้นยอดคำสั่งซื้อในช่วงต้นปี 2567?

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ