สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2553(อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 27, 2010 15:20 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตและการจำหน่าย

การผลิตเครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 28.44 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 17.04 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 11.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเปน็ ไปตามฤดูกาลที่ช่วงกลางปีการสั่งซื้อสินค้าจะน้อยกว่าช่วงอื่น ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 2.50 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.15 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 2.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การตลาด

การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4,340.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 167.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 236.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 3,299.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 773.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 329.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.28, 20.65 และ 13.82 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 230.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฮ่องกง และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.23, 22.88 และ 19.56 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 95.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.48, 20.80 และ 10.49 ตามลำดับ

2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 624.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.17,9.75 และ 8.01 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมีดังนี้

2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 259.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 5.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.01, 16.31 และ8.09 ตามลำดับ

2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 323.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 22.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และอิตาลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.33, 13.99 และ 12.96ตามลำดับ

3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 50.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.83, 20.03 และ 7.99 ตามลำดับ

4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 20.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ออสเตรีย และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.84, 11.54 และ11.12 ตามลำดับ

5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 3,299.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 773.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 636.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฮ่องกงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.40, 26.25 และ 18.75 ตามลำดับ

การนำเข้า

1. เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 (ดูตารางที่ 3ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 1,030.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 73.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 31.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 201.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล และเบลเยี่ยม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.00, 14.23 และ 13.08 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 72.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.28, 9.76 และ 6.33 ตามลำดับ

1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 519.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 84.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 53.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.05, 13.71 และ 8.99 ตามลำดับ

1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 185.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เยอรมนี และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.33, 8.88 และ 8.10 ตามลำดับ

1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 22.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.64, 13.81และ 10.12 ตามลำดับ โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 97.14 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด

2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 143.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 137.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.49,2.68 และ 2.59 ตามลำดับ

2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 6.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.58,14.36 และ 11.13 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ด้านการผลิตลดลงร้อยละ 28.44 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 17.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกโดยภาพรวมมีการขยายตัว คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 167.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 773.33 สำหรับสาเหตุที่การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการส่งออกมากกว่าการนำเข้า ส่วนเครื่องประดับแท้มีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 14.39 สำหรับการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 73.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 31.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ปัจจัยด้านบวก จากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว และราคาทองคำในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวกลับสู่ระดับ 1,250 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ใกล้เคียงไตรมาสก่อน จะเป็นสาเหตุให้การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้น ปัจจัยด้านลบ การที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจะส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจึงปรับตัวเพิ่มขึ้น และการที่สหรัฐอเมริกากดดันจีนให้ปล่อยค่าเงินหยวนให้เคลื่อนไหวตามราคาตลาด เพราะสหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับจีนเป็นจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ค่าเงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ หรืออีกนัยหนึ่งค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวน ซึ่งผลที่ตามมา คือ ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเช่นกัน ในประเด็นนี้ผู้ประกอบการที่ส่งออกในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับควรนำเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ เพื่อลดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นจึงคาดว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 จะมีแนวโน้มทรงตัว

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ