“ท่าทีภาคเอกชนต่อนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยกับสภาวะการแข็งค่าของเงินบาท”

ข่าวทั่วไป Monday October 18, 2010 17:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามที่ ทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทที่ผ่านมา โดยนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม — ตุลาคม 2553 เงินบาทมีการแข็งค่าเฉลี่ยไปถึง 2.344 บาทต่อดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 7.329 หากเปรียบเทียบการแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ต้นปีมีสัดส่วนแข็งค่าถึงร้อยละ 10.2 แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติที่เงินบาทมีการแข็งค่าสูงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญที่เป็นผลต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึง เงินยูโร เกิดจากเสถียรภาพการเงินโลกมีความเสี่ยงมากขึ้นจากปัญหาความอ่อนแอของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และ กลุ่มประเทศในยุโรป ก่อให้เกิดความตึงเครียดในตลาดพันธบัตร และ ตลาดการเงินของประเทศเหล่านั้น กอปรกับ มาตรการการลดดอกเบี้ยนโยบายในแต่ละประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐฯ ร้อยละ 0.25 กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปคงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 1.0 สหราชอาณาจักรลดลงเหลือร้อยละ 0.5 ญี่ปุ่นปรับลดเหลือร้อยละ 0 ไต้หวัน ร้อยละ 1.25 เป็นต้น สำหรับประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าไทย อาทิ ประเทศจีน ร้อยละ 5.3 แต่ประเทศจีนมีการผูกค่าเงินไว้กับดอลลาร์ สรอ. และ มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มากที่สุดในโลก นักเก็งกำไรจึงไม่สามารถเข้าไปทำอะไรเงินหยวนได้มากนัก ในกรณีของประเทศมาเลเซีย ที่มีดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 2.5 และ ประเทศเกาหลี ดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 2.0 ทั้งสองประเทศนี้ มีดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าไทย และ เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเปิด พันธบัตรได้รับความน่าเชื่อถือ เงินจึงไหลเข้ามาทำให้ค่าเงินของทั้งสองประเทศมีลักษณะผันผวนและมีการแข็งค่าของเงินคล้ายคลึงกับประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บางประเทศในภูมิภาค เช่น อินเดีย ดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 5 อินโดนีเซีย ร้อยละ 6.5 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 4.0 ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะมีอัตราสูงแต่จากปัญหาความไม่น่าเชื่อถือในสถาบันการเงิน รวมถึง วินัยทางการเงิน ส่งผลให้พันธบัตร และ/หรือ ตราสารหนี้ ซึ่งประเทศเหล่านี้ ถึงแม้จะมีอัตราค่าเงินแข็งค่าแต่ก็อยู่ในอัตราที่ไม่ผันผวนมากนักเมื่อเทียบกับประเทศไทย จากความล้มเหลวในการประชุมใหญ่ประจำปีของ IMF ณ นครวอชิงตันเมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา ไม่สามารถกดดันให้ประเทศจีนมีการปรับค่าเงินหยวนให้มีการแข็งค่าขึ้น อีกทั้ง รายงานผลสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และ ยุโรป ยังปรากฏว่าทิศทางเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวได้ในเร็วๆนี้ ส่งผลต่อความตึงเครียดในตลาดพันธบัตร และ ตลาดการเงินของโลก ทำให้กระแสเงินทุนไหลออกละลอกใหม่ในลักษณะ Dollar Carrying Trade จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย และ อาเซียน ต่อไป เนื่องจากเป็นภูมิภาคเดียวที่ยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงอยู่ ดอกเบี้ยนโยบาย ธปท. กับการแข็งค่าของเงินบาท ประเทศไทยในช่วงปี 2553 ดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. มีการปรับขึ้นมา 2 ครั้ง โดยปัจจุบันอยู่ในระดับ 1.75 ถึงแม้ว่าทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยนโยบายจะไม่มีผลโดยตรงต่อกระแสเงินไหลเข้า แต่โดยข้อเท็จจริง อัตราผลตอบแทน หรือ ดอกเบี้ยพันธบัตร จะมีผลผันแปรไปตามดอกเบี้ยนโยบาย เห็นได้จาก ดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล และ ธปท. อาทิ พันธบัตรอายุ 1-2 ปี ให้ผลตอบแทนร้อยละ 1.3 ปีที่ 3-4 ร้อยละ 4 และ ปีที่ 5 ร้อยละ 5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูง กว่าหลายประเทศในภูมิภาค กล่าวได้ว่า ดอกเบี้ยนโยบายไม่มีผลโดยตรงต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ แต่มีนัยสำคัญต่อการกำหนดอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ จากตารางข้างล่างแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยมีอัตราที่สูงเป็นสาเหตุสำคัญที่มีกระแสเงินไหลเข้ามาในประเทศไทย เงินที่เข้ามามากในลักษณะนี้ มีความผิดปกติ เพราะเศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้ดีกว่ามาเลเซีย เกาหลี หรือไต้หวัน ซึ่งค่าเงินบาทของประเทศเหล่านี้ในช่วง 2 เดือนเศษที่ผ่านมา แข็งค่าเฉลี่ยที่ระดับร้อยละ 3.199 ขณะที่ประเทศไทยแข็งค่าร้อยละ 7.389 ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินที่เข้ามาส่วนใหญ่ เพื่อการเก็งกำไร และมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าผันผวนอย่างผิดปกติ จากกระแสเงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยประมาณร้อยละ 80 เป็นเงินสกุลดอลลาร์และกว่าร้อยละ 70 ของ capital inflow ที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ประกอบด้วย พันธบัตรของรัฐบาล และ พันบัตรของ ธปท. ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามาซื้อพันธบัตรในตลาดหลัก จากตัวเลขในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 มีพันธบัตรตราสารหนี้ซึ่งชาวต่างชาติถือรวมกันถึง 220,000 ล้านบาท โดยมียอดซื้อสุทธิ 140,000 ล้านบาท สำหรับเงินที่ไหลเข้ามาซื้อเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล และ ธปท. ประกอบด้วย 1. พันธบัตรรัฐบาล การซื้อในปี 2552 มีมูลค่าการซื้อ 575,066 ล้านบาท และ ในปี 2553 (เดือนมกราคม - กันยายน) มูลค่าการซื้อ 163,233.75 ล้านบาท มูลค่าน้อยกว่าปี 2552 ร้อยละ 71.61 2. พันธบัตร ธปท. การซื้อในปี 2552 มูลค่าการซื้อ 482,158.47 ล้านบาท และในปี 2553 (เดือนกันยายน) มูลค่าการซื้อ 1,492,333.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2.09 เท่า เป็นการออกพันธบัตรเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน คิดเป็นร้อยละ 51.42 ของทั้งช่วง 9 เดือน เป็นมูลค่า 767,431 ล้านบาท จากตัวเลขข้างต้น เงินที่ไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรของรัฐบาล และ ธปท. เฉพาะในช่วง 9 เดือน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.14 เฉพาะในเดือนกันยายนเพียงหนึ่งเดือนมีเงินเข้าไหลเข้ามากกว่า 70,000 ล้านบาท ซึ่งเงินส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนซื้อพันธบัตร ธปท. เมื่อเทียบกับในปี 2552 เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า และน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ ธปท. มีความจำเป็นต้องใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อที่จะขายพันธบัตรให้กับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจากตัวเลขของเงินที่ไหลเข้าแสดงให้เห็นเป็นนัยชัดเจนได้ว่า เงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดการเงิน และ ตลาดทุน จะมีลักษณะของการเก็งกำไร โดยธุรกรรมส่วนใหญ่ของการออกพันธบัตรของ ธปท.เดือนสิงหาคม — กันยายน มีมูลค่าพันธบัตรที่ออกเป็นมูลค่า 767,431 ล้านบาท เทียบจากมกราคม ถึง กรกฎาคม มีมูลค่า 724,902 ล้านบาท เพียงระยะเวลา 2 เดือน พันธบัตร ธปท. ที่คิดเป็นครึ่งหนึ่งของที่ออกทั้งหมด (9 เดือน) ตัวเลขนี้สอดคล้องกับช่วงดังกล่าวเป็นจังหวะการแข็งค่าของเงินบาทอย่างผิดปกติพอดี ภายใต้มาตรการของรัฐบาลเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 โดยเฉพาะมาตรการการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ร้อยละ 15 รวมถึง มาตรการอื่น ๆ ซึ่งได้รับการวิจารณ์ว่ายังคงเป็นมาตรการที่ไม่พอเพียงต่อการรับมือของเงินร้อนที่จะยังคงไหลเข้า โดยตลาดเงินตราต่างประเทศตอบสนองในวันรุ่งขึ้น หลังจากการออกมาตรการ ค่าเงินบาทของไทยมีการแข็งค่าสูงสุด (high-end) 29.616 บาท ต่อ ดอลลาร์ สรอ. และอัตราถัวเฉลี่ยที่ระดับ 29.714 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินบาท Off Shore อยู่ที่ระดับ 29.85 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเงินบาทในช่วง 1 วัน นับแต่วันออกมาตรการของกระทรวงการคลังแข็งค่าถึง 0.21 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.71 ทั้งนี้ เมื่อเทียบจากวันที่ 1 สิงหาคม 2553 อัตราซื้ออยู่ที่ 31.979 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ระยะเวลา 2 เดือนครึ่ง เงินบาทแข็งค่าไปถึง 2.363 บาทคิดเป็นอัตราแข็งค่าร้อยละ 7.389 แข็งค่าเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาค อันดับที่ 2 เงินเปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่า 5.101% อันดับที่ 3 เงินวอนของเกาหลีแข็งค่า 4.319% อันดับที่ 4 เงินดอลลาร์สิงค์โปร์แข็งค่า 3.897% อันดับที่ 5 เงินดอลลาร์ไต้หวัน แข็งค่า 3.193% อันดับ 6 เงินริงกิตของมาเลเซียแข็งค่า 2.102% สำหรับเงินหยวนของจีนแข็งค่าเป็นอันดับ 7 ที่ระดับ 1.488% ขณะที่เวียดนามเงินอ่อนค่า 1.956% อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าเงินบาทเฉพาะวันที่ 13 ตุลาคม 2553 เป็นการแข็งในระดับที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค เพราะประเทศอื่นๆ กลับมีการแข็งค่ามาก โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียมีการแข็งค่าสูงกว่าไทยติดต่อมา 3 วัน เฉลี่ยแข็งค่า 0.420% (เทียบกับไทยที่แข็งค่า 0.706%) แสดงให้เห็นว่ากระแสเงินไหลเข้าเอเชียในช่วงนี้แรงมาก และอย่างน้อยมาตรการของรัฐบาลก็มีผลอยู่บ้าง จึงทำให้การแข็งค่าในช่วง 3 วันที่ผ่านมา เงินบาทของไทยจึงแข็งค่าต่ำกว่าหลายประเทศ โดยภาพรวมแล้วมาตรการของรัฐบาลที่ออกในระยะสั้นเงินไหลเข้า (Capital Inflow) อาจมีการชะลอตัวบ้างหรือแข็งค่าเล็กน้อย เพราะต่างชาติจะรอดูมาตรการที่จะออกมาใหม่ว่าจะมีความเข้มงวดมากขึ้นหรือไม่ แต่หาก ธปท. และกระทรวงการคลังยังไม่มียาแรงในการสกัดกั้นการเก็งกำไรของเงินทุนต่างชาติ (Carry Trade) เช่น มาตรการด้านการเก็บภาษีจากเงินลงทุนอย่างที่หลายประเทศเริ่มนำมาใช้ บวกกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงไปอีก จำเป็นที่ ธปท. ควรจะมีการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือ 1.50 ไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2554 เพราะสถานการณ์เงินดอลลาร์อ่อนค่าจะคงมีอยู่ต่อไปอย่างน้อยไปต้นไตรมาสของปี 2554 หรือจนกว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างเป็นนัย ซึ่งก็จะยังไม่เห็นได้ในเร็วๆ นี้ มาตรการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขอให้ ธปท. และ กระทรวงการคลัง พิจารณา 1. ขอให้ ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ขอให้ลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลืร้อยละ 1.50 และ/หรือ ให้มีการตรึงอัตราดอกเบี้ยอัตราปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี หรือ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เป็นอย่างน้อย โดยมีเหตุผล ดังนี้ 1.1 ดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในอัตราร้อยละ 1.5 — 1.75 ไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างเป็นนัยสำคัญ เห็นได้จากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้มีการปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. อยู่แล้ว กอปร์กับ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ก็มีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย จึงไม่มีเหตุผลให้สถาบันการเงินเร่งการปล่อยกู้ หรือ ทำให้เกิดการใช้จ่ายจนเป็นปัญหาของฟองสบู่เหมือนในอดีต 1.2 แนวความคิดต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขอให้ ธปท. อย่ามีการปรับอัตราดอกเบี้ยโดยใช้เหตุผลของเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจาก ปัจจุบันประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 และเงินเฟ้อพื้นฐานก็อยู่ในอัตราที่ต่ำมาก คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ถึงแม้ว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการติดลบบ้างก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย 1.3 สภาวะความไม่ปกติของการไหลเข้าของเงินต่างประเทศ ภายใต้ความแปรปรวนของระบบการเงินโลก ธปท. ไม่ควรใช้นโยบายการเงินในการควบคุมเงินเฟ้อ 1.4 ภายใต้วิกฤติ Currencies War Crisis ธปท. ไม่ควรใช้ดอกเบี้ยนโยบายสูง และไม่สามารถปล่อยระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด เพราะมีปัจจัยตัวแปร จากการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน และการปั่นเงินผ่านตลาดทุนและตราสารหนี้ 2. มาตรการต่าง ๆ ทั้งของกระทรวงการคลัง และ ธปท. ที่ออกมาแล้ว ขอให้ผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติ การตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ซึ่งไม่ใช่มีแต่มาตรการแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งต่างชาติจะเห็นช่องโหว่และเร่งเข้ามาเก็งกำไร เช่น การชำระค่าระวางเรือและค่าสินค้า ซึ่งยังติดปัญหาด้านเทคนิคกับกรมสรรพากร รวมถึง การปล่อยสินเชื่อภายใต้โครงการ Packing Loan และ Soft Loan ขอให้มีการกำหนดการพิจารณาหลักประกันในลักษณะผ่อนปรนหลักประกันหรือ PSA ฯลฯ 3. ธปท. ต้องส่งสัญญาณอย่างจริงจังในการดูแลไม่ให้เงินผันผวนไปตามการเก็งกำไร โดยจะต้องมีมาตรการในการตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีของผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (non resident) โดยให้มีการตรวจสอบตัวเลขยอดเงินฝากไม่ให้เกินกว่ากฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติจะต้องเร่งนำเงินที่ขายหรือได้กำไรจากตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น ออกนอกราชอาณาจักร 4. ขอให้ ธปท. เข้มงวดเงินที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไรทั้งในตลาดทุน และ ตลาดตราสารหนี้ โดยอาจจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบติดตามและควบคุมเงินเข้าและออกซึ่งมีลักษณะเก็งกำไร โดยเฉพาะควรต้องเพิ่มแบบฟอร์มให้นักลงทุนต่างชาติต้องระบุว่าจะนำมาเงินมาใช้ในกิจกรรมใด ในธุรกิจประเภทใด และ เมื่อมีการนำเงินออก แหล่งที่มาของรายได้นั้นมาจากใด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมมีความเข้มงวด รัดกุม 5. ขอให้ ธปท. ออกกฎเกณฑ์ควบคุมและจำกัดจำนวนเงินกู้ยืม และ แลกเปลี่ยนเงินบาท ของสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเงิน รวมถึง บริษัทในเครือ ในการจำกัดการกู้เงินบาทไปแลกดอลลาร์ เพื่อเป็นการจำกัดการเก็งกำไรเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายในต่างประเทศ 6. ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลัง ร่วมมือ ในการหามาตรการที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นกว่าที่ออกมาแล้ว โดยใช้นโยบายทั้งการเงิน และ การคลัง สอดประสานในการสกัดกดดัน เพื่อลดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น แถลงการณ์การประชุมหารือระหว่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมภาคการค้า 1. ขอให้ ธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ขอให้ลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือร้อยละ 1.25 โดยมีเหตุผล ดังนี้ 1.1 ดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในอัตราร้อยละ 1.25 — 1.75 ไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างเป็นนัยสำคัญ เห็นได้จากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้มีการปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. อยู่แล้ว กอปร์กับ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ก็มีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย จึงไม่มีเหตุผลให้สถาบันการเงินเร่งการปล่อยกู้ หรือ ทำให้เกิดการใช้จ่ายจนเป็นปัญหาของฟองสบู่เหมือนในอดีต 1.2 แนวความคิดต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขอให้ ธปท. อย่ามีการปรับอัตราดอกเบี้ยโดยใช้เหตุผลของเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจาก ปัจจุบันประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 และเงินเฟ้อพื้นฐานก็อยู่ในอัตราที่ต่ำมาก คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ถึงแม้ว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการติดลบบ้างก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย 1.3 สภาวะความไม่ปกติของการไหลเข้าของเงินต่างประเทศ ภายใต้ความแปรปรวนของระบบการเงินโลก ธปท. ไม่ควรใช้นโยบายการเงินในการควบคุมเงินเฟ้อ 1.4 ภายใต้วิกฤติ Currencies War Crisis ธปท. ไม่ควรใช้ดอกเบี้ยนโยบายสูง และไม่สามารถปล่อยระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด เพราะมีปัจจัยตัวแปร จากการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน และการปั่นเงินผ่านตลาดทุนและตราสารหนี้ 2. มาตรการต่างๆ ทั้งของกระทรวงการคลัง และ ธปท. ที่ออกมาแล้ว ขอให้ผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติ การตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ซึ่งไม่ใช่มีแต่มาตรการแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งต่างชาติจะเห็นช่องโหว่และเร่งเข้ามาเก็งกำไร เช่น การชำระค่าระวางเรือและค่าสินค้า ซึ่งยังติดปัญหาด้านเทคนิคกับกรมสรรพากร รวมถึง การปล่อยสินเชื่อภายใต้โครงการ Packing Loan และ Soft Loan ขอให้มีการกำหนดการพิจารณาหลักประกันในลักษณะผ่อนปรนหลักประกันหรือ PSA ฯลฯ 3. ธปท. ต้องส่งสัญญาณอย่างจริงจังในการดูแลไม่ให้เงินผันผวนไปตามการเก็งกำไร 4. ขอให้ ธปท. เข้มงวดเงินที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไรทั้งในตลาดทุน และ ตลาดตราสารหนี้ โดยอาจจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบติดตามและควบคุมเงินเข้าและออกซึ่งมีลักษณะเก็งกำไร โดยเฉพาะควรต้องเพิ่มแบบฟอร์มให้นักลงทุนต่างชาติต้องระบุว่าจะนำมาเงินมาใช้ในกิจกรรมใด ในธุรกิจประเภทใด และ เมื่อมีการนำเงินออก แหล่งที่มาของรายได้นั้นมาจากใด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมมีความเข้มงวด รัดกุม 5. ขอให้ ธปท. ออกกฎเกณฑ์ควบคุมและจำกัดจำนวนเงินกู้ยืม และ แลกเปลี่ยนเงินบาท ของสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเงิน รวมถึง บริษัทในเครือ ในการจำกัดการกู้เงินบาทไปแลกดอลลาร์ เพื่อเป็นการจำกัดการเก็งกำไรเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายในต่างประเทศ 6. ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลัง ร่วมมือ ในการหามาตรการที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นกว่าที่ออกมาแล้ว โดยใช้นโยบายทั้งการเงิน และ การคลัง สอดประสานในการสกัดกดดัน เพื่อลดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น 7. ขอให้พิจารณาดำเนินการออกมาตรการชั่วคราวในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของเงินทุนที่ไหลเข้ามาในประเทศ ในอัตราร้อยละ 2.0- 4.0 ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศที่ทำอยู่ อาทิ อินโดนีเซีย เพื่อลดการไหลเข้าของเงินจนกว่าจะอยู่ในสภาวะปกติ ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ฝ่ายเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร. 0 2345 1147 , 1151 หรือ สามารถดาวน์โหลดได้ใน www.fti.or.th . www.tanitsorat.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ