สินค้าเกษตรควรเพิ่มราคา แต่ต้องเพิ่มอย่างเหมาะสมและมีนโยบายดีรองรับ

ข่าวทั่วไป Tuesday February 1, 2011 12:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--สนง.เกษตรปักกิ่ง คุณเฉียน เค่อหมิง อธิบดีกรมข้อมูลข่าวสารตลาดและเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตร ได้ออกมาไขข้อข้องใจและอธิบายปัญหาราคาสินค้าเกษตร ซึ่งสรุปได้ดังนี้ สินค้าเกษตรปรับขึ้นราคา จึงจะสามารถหักกลบต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับสูงได้ ควรอนุญาตให้สินค้าเกษตรขึ้นราคาอย่างเหมาะสมและค่อยเป็นค่อยไป เพราะราคาสินค้าเกษตรจีนโดยรวมแล้วค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถสะท้อนระดับความขาดแคลนที่ดินเพาะปลูกและทรัพยากรเกษตรเช่นน้ำจืดได้อย่างแท้จริง จึงทำให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เกษตรกรรายได้ต่ำ การรับประกันคุณภาพสินค้าเกษตรเป็นไปได้ยาก ตามความเป็นจริงแล้ว แรงงาน ปัจจัยการผลิต และค่าใช้จ่ายในการขนส่งเป็นต้นล้วนขึ้นราคา สินค้าเกษตรต้องเพิ่มราคาให้เหมาะสม จึงจะสามารถหักกลบต้นทุนต่างๆที่แพงขึ้น แล้วคงความกระตือรือร้นในการผลิตของเกษตรกรไว้ได้ ปัจจุบันราคาสินค้าเกษตรทั่วโลกอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ผู้บริโภคต้องปรับตัวให้ได้กับเหตุการณ์ที่ราคาอาหารปรับขึ้นสูงเรื่อยๆ ส่วนรัฐบาลมีหน้าที่กำหนดนโยบายช่วยลดผลกระทบราคาอาหารแพงที่เกิดในกลุ่มคนรายได้น้อย ปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ต้นทุนการผลิตผักโดยรวมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ ๑๕ แต่เนื่องจากอัตราการปรับขึ้นราคาผักมีมากกว่าต้นทุน เกษตรกรจึงมีกำไรบ้าง ซึ่งจากการประมาณรายได้สุทธิของเกษตรกรผักเพิ่มขึ้นประมาณ ๑๕๑,๖๐๐ ล้านหยวน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ ๒๑๐ หยวนต่อคน ป้องกันการปรับขึ้นราคาอย่างเฉียบพลัน แต่ไม่กดราคาสินค้าเกษตรที่สมควรขึ้น ปัจจุบันการจับจ่ายใช้สอยในส่วนอาหารการกินถือเป็นส่วนสำคัญในการคำนวณดัชนีCPI แต่ที่อยู่อาศัยกลับมีสัดส่วนน้อยเกินไปในการคำนวณ ดัชนีนี้จึงไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์เงินเฟ้อได้อย่างแท้จริง ดังนั้นประชาชนต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าเกษตรและดัชนีCPI (ดัชนีผู้บริโภค) อย่างถูกต้อง รัฐไม่เพียงแต่ต้องป้องกันการขึ้นราคาสินค้าเกษตรอย่างเฉียบพลัน ยังต้องระวังไม่ไปควบคุมราคาสินค้าเกษตรที่สมควรขึ้นราคาอีกด้วย จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลปี ๒๕๕๓ ที่ราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับสูง พบว่าเกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นราว ๒๑๖,๑๐๐ ล้านหยวน ซึ่งนำมาใช้เพื่อบริโภคเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ ๗๐ ของรายได้สุทธิดังกล่าว สามารถขยายอุปสงค์ภายในประเทศโดยตรงได้ประมาณ ๑๕๑,๓๐๐ ล้านหยวน ให้เกษตรกรได้ผลประโยชน์จากการปรับขึ้นราคาสินค้าเกษตรอย่างแท้จริง หลายปีมานี้ราคาสินค้าเกษตรผันผวนบ่อยครั้ง เมื่อราคาตกต่ำเกษตรกรขาดทุน เมื่อราคาปรับขึ้นสูงมากและเร็วจนเกินไป เกษตรกรก็ต้องแบกรับความเสี่ยง เพราะเกษตรกรจะผลิตมากจนล้นตลาดแล้วต้องแบกภาระเอง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปรับขึ้นราคาอย่างเหมาะสมและปรับขึ้นอย่างมั่นคง เกษตรกรไม่มีกำลังพอในการตั้งหรือต่อรองราคา ปัจจุบันจึงต้องเร่งพัฒนากลุ่มความร่วมมือสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้วยกันเอง ส่วนรัฐบาลต้องมีนโยบายหรือมาตรการ ในการกระตุ้นสินค้าที่มาจากสหกรณ์ความร่วมมือของเกษตรกรเข้าสู่ตลาดค้าส่งโดยตรง สนับสนุนวิธีค้าขายแบบ “สินค้าเกษตรสู่ซุปเปอร์มาร์เก็ต” เพื่อลดจำนวนห่วงโซ่อุปทานและค่าใช้จ่ายต่างๆ ขณะเดียวกันต้องโน้มนำบริษัทโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ร่วมมือกับสหกรณ์ความร่วมมือเกษตรกรสร้างฐานการผลิตที่มั่นคง แบ่งรับผลประโยชน์และความเสี่ยงร่วมกับเกษตรกร สุดท้ายสำหรับสินค้าเกษตรประเภทสินค้าสด ต้องเพิ่มการลงทุนในส่วนตลาดค้าส่ง และการจัดการด้วยความเย็นในฐานผลิตเป็นต้น ให้ต้นทุนการผลิตสัมพันธ์กับระดับความเป็นอยู่ขั้นต่ำ สินค้าเกษตรปรับขึ้นราคาในอัตราปีละร้อยละ ๑๐ เป็นเรื่องปกติ สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือสร้างกลไกการตั้งราคาที่มีความสัมพันธ์กัน นั่นคือให้ราคาสินค้าเกษตรสัมพันธ์กับต้นทุนการผลิตและระดับความเป็นอยู่ขั้นต่ำในตัวเมืองและชนบท รัฐต้องออกนโยบายจัดการและสนับสนุนให้เหมาะกับสินค้าชนิดนั้นๆ นอกเหนือจากนี้ต้องป้องกันการไหลเข้ามาของเงินทุนที่หวังาเก็งกำไรส่งผลให้สินค้าเกษตรราคาสูงอย่างไม่เป็นจริง และที่สำคัญนโยบายของรัฐต้องคุ้มครองและกระตุ้นเกษตรกรให้มีความกระตือรือร้นในการผลิต รวมทั้งป้องกันการปรับขึ้นราคาของสินค้านอกภาคเกษตรถ่ายทอดสู่สินค้าเกษตร การผลิตทางการเกษตรเป็นหนทางในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน จีนต้องเร่งพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ เพิ่มความสามารถการผลิตธัญญหาร ภาระกิจดังกล่าวรวมถึงการปฎิบัติตามกฎระเบียบป้องกันคุ้มครองพื้นที่เกษตรและใช้พื้นที่เกษตรแบบประหยัดอย่างเคร่งครัด ปรับปรุงไร่นาคุณภาพต่ำให้กลายเป็นไร่นาที่ให้ผลผลิตสูง เพิ่มการสร้างระบบชลประทานในไร่นาโดยให้รัฐบาลเป็นแกนนำในการดึงดูดเงินทุนในสังคมเข้ามาลงทุนเป็นต้น ขณะเดียวกันต้องดำเนินโครงการ “ตะกร้าผัก” ต่อเนื่อง รัฐบาลต้องเพิ่มการลงทุนสนับสนุนการสร้างเขตผลิตที่ได้มาตรฐาน“ตะกร้าผัก” เพิ่มความสามารถในการป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงจากโรคภัย รัฐต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยชักจูงธนาคารให้เงินทุนสนับสนุนการปรับปรุงตลาดค้าส่งและการจัดการสินค้าเกษตรด้วยความเย็น เพิ่มระดับการสนับสนุนสหกรณ์ความร่วมมือเกษตรกร สำหรับการรับซื้อขนส่งสินค้าเกษตรแบบค้าส่งข้ามพื้นที่ให้ลดอัตราการเก็บภาษี เพื่อกระตุ้นตลาดเป็นต้น ที่มา http://www.moa.gov.cn/zwllm/zwdt/201101/t20110120_1810468.htm วันที่ ๒๐ ม.ค. ๕๔

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ