วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรมเรื่อง ปัญหา เทคนิค และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ทำงานล่วงเวลา และการจ่ายค่าล่วงเวลา

ข่าวทั่วไป Tuesday February 22, 2011 17:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--วาโซ่ เทรนนิ่ง ปัญหา เทคนิค และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ทำงานล่วงเวลา และการจ่ายค่าล่วงเวลา Overtime Work and OvertimeCompensation วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2554 ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปร) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance เรื่องของการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ที่คนทำงานมักเรียกกันสั้นๆที่ไม่ถูกต้องว่า “ทำโอที (OT)” นั้น เป็นมุมเล็กๆ ที่คน HR ต้องดูแลให้แน่ใจว่า การปฏิบัติที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบันนั้น ผิดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือไม่ และจากประสบการณ์ที่วิทยากรท่านได้ตอบคำถามในปัญหาด้านแรงงาน และทรัพยากรบุคคล ให้แก่กิจการต่างๆมามากกว่า 30 ปี ได้พบว่า ปัญหาในทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับเรื่องการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นั้น มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่คำถามเล็กๆน้อยๆ จากพนักงาน เช่น “ให้เข้าไปรับการอบรมในวันหยุดทำไมไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด” ไปจนกระทั่งถึงปัญหาการทุจริตโกงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือการปฏิบัติต่างๆที่ถือเป็นการทำผิดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รวมทั้งกรณีที่ต้องจ่ายและไม่จ่าย เงินเพื่อตอบแทนการทำงานดังกล่าว เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของงาน HR และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดด้วย เพราะหากมีการปฏิบัติฝ่าฝืนกฏหมายแล้วปล่อยไว้ มีเรื่องขึ้นเมื่อไหร่ กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 144 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่จะต้องถูกลงโทษในความผิดดังกล่าวนั้น มิใช่ตัวบริษัท ทั้งนี้ เพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 158 คือ ผู้ใดสั่งการไม่จ่าย หรือผู้ใดกระทำการไม่จ่ายให้ถูกกฎหมาย หรือ ผู้ใดไม่สั่งการให้จ่ายให้ถูกกฎหมาย หรือไม่กระทำการจ่ายให้ถูกกฎหมาย ผู้ใดผู้นั้น ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ นอกจากคน HR จะเป็นด่านแรกที่ถูกลงโทษแล้ว ผ่ายบัญชีและการเงิน ผ่ายกฎหมาย ฝ่ายนโยบายและกำกับ ผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลงาน HR งานบัญชีและการเงิน งานกฎหมาย และงานนโยบายและกำกับ รวมตลอดถืงผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ และ กรรมการผู้จัดการ ก็อาจถูกลงโทษด้วย ในความผิดฐานไม่สั่งการให้จ่ายให้ถูกกฎหมาย ตลอดจน มีความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ที่โกงค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดของลูกจ้าง ซึ่งอาจเกิดจากความใจผิดในตัวบทกฎหมายก็ได้ Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น - สิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด หรือทำงานล่วงเวลาในวันหยุดมีเพียงไร - งานอะไรที่นายจ้างสั่งได้โดยไม่ต้องถามความยินยอมของลูกจ้าง - งานอะไรที่นายจ้างสั่งให้ทำไม่ได้ ต้องให้ลูกจ้างยินยอมก่อน - หากนายจ้างฝ่าฝืน ข้อ 3 มีโทษจำคุก และ/หรือปรับเพียงไร มาตราไหน - งานอะไรบ้างที่นายจ้างสั่งให้ทำล่วงเวลา โดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย - ทำไมตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาฯเป็นการเหมาส่วนใหญ่ตกเป็นโมฆะ มากกว่า 90 % - ทำไมให้ลูกจ้างหยุดงานแทนการจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นโมฆะ - หากจะไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยให้หยุดงานแทนต้องทำอย่างไร - การให้ลูกจ้างเดินทางไปทำงานที่อื่นนอกเวลาทำงาน ทำไมไม่จ่ายค่าล่วงเวลา จึงไม่ผิดกฎหมายแรงงาน - ค่า OT จ่ายเท่าไหร่จึงจะถูกต้อง? - วันเสาร์ทำงานปกติ 4 ชั่วโมง จ่าย OT อย่างไร? - ปัญหาการจ่าย OT วันหยุดประจำสัปดาห์ จ่ายให้ถูกค้อง จ่ายเท่าไร ? - ใช้แค่ “เงินเดือน” เป็นฐานคิด OT ผิดไหม? - เงินเดือนสูงแล้วไม่ต้องจ่าย OT ได้ไหม? - จะไม่จ่าย OT ให้หัวหน้างานจะได้ไหม? - จะไม่จ่าย OT ให้ผู้ที่มีเงินเดือนๆละ 200.000 บาทขึ้นไปจะได้ไหม? - บริษัทประกาศไม่มีนโยบายการจ่าย OT ได้หรือไม่ ? - ให้ทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด เกินสัปดาห์ละ 36 ชั่วโมงผิดกฎหมายหรือไม่? - ให้ไปเข้าอบรมในวันหยุดต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดไหม? - เขียนระเบียบไม่ดี จ่ายโอทีหัวโต จนนายจ้างเจ๊ง ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เช่นคดีใด - กรณีใดนายจ้างสั่งให้ทำ OT ได้ โดยไม่ต้องถามความสมัครใจ - ให้ค่ารถ + ค่าอาหารแทนการจ่ายค่า OT จะได้หรือไม่ ? - ให้หยุดงานแทนการจ่ายค่า OT จะได้หรือไม่ ? - จ่ายค่า OT แบบเหมาจ่ายได้ไหม ? - เด็กและหญิงมีครรภ์ต้องการทำ OT หากนายจ้างยอมให้ทำมีผิดหรือไม่ ? - กฎหมายมาตราต่างๆ ที่เกี่ยวกับ OT และบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนมีอย่างไร ? - ถาม — ตอบ ปัญหาข้อสงสัยข้องใจ Instructor อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์ - อดีตประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง - ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน ฯลฯ Registration Fee ท่านละ 3,200 บาท รวม ภาษี 7 % = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply 1. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิ๊กที่นี่ 2. แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 3. สมัคร Online คลิ๊กที่นี่ 4. E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ 5. ดาวน์โหลด แผนที่ สถานที่อบรม คลิ๊กที่นี่ Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือโอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ