กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโครงการจุดประกายนักวิจัยไทยมืออาชีพรุ่นใหม่ (โครงการ TYPIN) จะจัดประชุมวิชาการระดับนักศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “มืออาชีพด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์” ในระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2550 ณ ห้อง N101 ตึกชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยในงานประกอบด้วยกิจกรรมเด่น อาทิ การเสวนาและบรรยายพิเศษจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ เวทีสาธารณะเพื่อร่วมเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพต่อแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของกรุงเทพมหานคร การเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งการนำเสนอแบบปากเปล่าและการจัดแสดงโปสเตอร์ ตลอดจนกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสริมสร้างทักษะให้กับคนรุ่นใหม่ที่สนใจศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงเศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม การประชุมนี้จึงเป็นความตั้งใจที่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาในสาขาความหลายหลากทางชีวภาพรุ่นใหม่ ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยรุ่นอาวุโส และองค์กรอื่น ๆ ที่สามารถเบิกทางให้เข้าถึงโลกของมืออาชีพด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ได้ กำหนดการ17 กรกฎาคม 2550: ความหลากหลายทางชีวภาพ08.30-09.00 น. ลงทะเบียน09.00-09.20 น. กล่าวต้อนรับ09.20-09.40 น. วีดีทัศน์ TYPIN reflection“จากกิจกรรมนอกหลักสูตรสู่นักวิจัยมืออาชีพ”โดย กลุ่มนักวิจัยไทยมืออาชีพรุ่นใหม่ (ไทพิน)09.40-10.40 น. เสวนา “ใครเป็นใครในวงการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย”โดย ศ.ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษา นโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT),คุณสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร IUCN ประเทศไทย และตัวแทนจากกลุ่มไทพิน10.40-10.55 น. พักรับประทานอาหารว่าง10.55-11.55 น. เสวนาประเด็นสาธารณะ “เติมความหลากหลายทางชีวภาพสู่แผนปฏิบัติการว่าด้วยการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของกรุงเทพมหานคร”โดย ผู้แทนจากกรุงเทพมหานครคุณชาญชัย พินทุเสน ประธานกรรมการมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์คุณคุณากร วาณิช์วิรุฬห์ ผู้แปลหนังสือ “โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง (An Inconvenient Truth)”รศ.ดร. สมโภชน์ ศรีโกสามาตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ตัวแทนจากกลุ่มไทพิน11.55-12.15 น. บรรยายพิเศษ “ความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงความหลากหลายของแมลงใน พื้นที่เกษตรสู่การจัดการศัตรูพืชในทางปฏิบัติ”โดย ผศ. ดร. จอห์น มิลน์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล12.15-13.15 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.15-14.15 น. การนำเสนองานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา I14.15-14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง14.30-15.30 น. การนำเสนองานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา II15.30-18.00 น. การนำเสนอโปสเตอร์ และกิจกรรมหน้าห้องประชุม N10118 กรกฎาคม 2550: การอนุรักษ์09.00-10.00 น. เสวนา “ใครเป็นใครในวงการอนุรักษ์ของประเทศไทย”โดย ดร. อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยคุณสุรพล ดวงแข และตัวแทนจากกลุ่มไทพิน10.00-10.45 น. บรรยายพิเศษ “การอนุรักษ์โดยบังเอิญ”โดย ศ. ดร. พิไล พูลสวัสดิ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ก่อตั้งมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก10.45-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง11.00-11.30 น. บรรยายพิเศษจากประสบการณ์ภาคสนาม “คณะกรรมการระดับพื้นที่ (PAC):นวัตกรรมการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ในประเทศไทย”โดย คุณทัศนัย เปิ้นสมุทรหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ11.30-12.30 น. เสวนา “การอนุรักษ์ในโลกไซเบอร์”โดย กลุ่ม Siamensis12.30-13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.30-14.30 น. การนำเสนองานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา III14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง14.45-15.25 น. การนำเสนองานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา IV15.25-16.10 น. ระดมความคิดเรื่อง “มองอนาคตผ่านแว่นขยายเกี่ยวกับงานประชุมนักศึกษา ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์”06.10-16.30 น. กล่าวปิดงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: คุณจุฑามาศ สุคนธปฏิภาค โทร. 087 - 495 -0560 หรือ คุณปีย์ชนิตว์ เกษสุวรรณ โทร. 081-765-1674