กรุงเทพฯ--19 ส.ค.--เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์
ข้อมูลทองคำวันนี้
- ราคาสมาคม เปิดที่ 25,800-25,900
- ราคา Gold Spot เปิดที่ 1,832
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 29.86-29.89
- GFQ11 Hi- Low 25,540-25,350 ปิดที่ 25,530
Gold & Silver Insight
สัญญาทองคำ และ โลหะเงินตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 28.2 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 1,822.00 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,786.80-1832.00 ดอลลาร์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 40.688 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 33.7 เซนต์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 419.63 จุด หรือ 3.68% ปิดที่ 10,990.58 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 53.24 จุด หรือ 4.46% ปิดที่ 1,140.65 จุด และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 131.05 จุด หรือ 5.22% ปิดที่ 2,380.43 จุด เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหม่ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเกินคาดและยอดขายบ้านมือสองที่ร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยุโรป หลังจากมีรายงานว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของสหรัฐกำลังตรวจสอบสถานะการเงินของธนาคารยุโรปรายใหญ่ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในสหรัฐ เพราะเกรงว่าวิกฤตหนี้ยูโรโซนอาจจจะลุกลามเข้าสู่ระบบการธนาคารของสหรัฐ
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 5.20 ดอลลาร์ หรือ 5.94% ปิดที่ 82.38 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 81.15-87.53 ดอลลาร์ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเกินคาด และมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจทำให้ความต้องการพลังงานซบเซาลงด้วย
กองทุน SPDR Gold Trust กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 19 สิงหาคม ซื้อเข้า 14.85ตัน เปลี่ยนแปลงการถือครองจากระดับ 1271.98ตัน เข้าสู่ระดับ 1286.83ตัน
USD/EU ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (18 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปอาจลุกลามไปยังระบบการธนาคารของสหรัฐ ขณะที่ค่าเงินฟรังค์พุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเงินฟรังค์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง 0.61% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.4335 ดอลลาร์ต่อยูโร จากระดับของวันพุธที่ 1.4423 ดอลลาร์ต่อยูโร โดยค่าเงินดอลล่าร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลยูโรเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 1.4403 ดอลล่าร์ต่อยูโร
USD/JPY ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง 0.04% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.560 เยนต่อดอลล่าร์ จากระดับ 76.590 เยนต่อดอลล่าร์ โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลเยนเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 76.65 เยนต่อดอลลาร์
USD/THB ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ อยู่ที่ระดับ 29.81-29.84 บาทต่อดอลล่าร์ ซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักระหว่างวัน โดยค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 29.86-29.89บาทต่อดอลล่าร์
ข่าวเศรษฐกิจโลก
- สมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ (NAR) รายงานว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ค.ร่วงลง 3.5% แตะที่ 4.67 ล้านยูนิตต่อปี จากระดับ 4.84 ล้านยูนิตต่อปีในเดือนมิ.ย.อย่างไรก็ตาม ยอดขายบ้านมือสองในเดือนที่แล้วยังอยู่สูงกว่าระดับ 3.86 ล้านยูนิตในเดือนก.ค.2553 ซึ่งเป็นข้อมูล ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนก.ค. ขณะที่ราคาบ้านปรับตัวลดลงอีก ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นอีกสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐยังคงอ่อนแอ ยอดขายบ้านที่ทรุดตัวลงต่ำทันทีหลังจากที่มาตรการภาษีผู้ซื้อบ้านหมดอายุลง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) เดือนก.ค.พุ่งขึ้น 0.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ส่วนดัชนีซีพีไอพื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ หลังจากที่ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย.ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีซีพีไอพุ่งขึ้น 3.6% ขณะที่ดัชนีซีพีไอพื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.8% ซึ่งทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่าสหรัฐอาจจะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อแม้เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวอยู่ก็ตาม
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วพุ่งขึ้น 9,000 ราย สู่ระดับ 408,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 400,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลง 3,500 ราย สู่ระดับ 402,500 ราย จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นเกินคาดสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงอ่อนแอและอาจจะฉุดรั้งเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวช้าลง โดยเมื่อไม่นานมานี้ ADP Employer Services ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านตลาดแรงงานในสหรัฐเปิดเผยว่า ภาคเอกชนในสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 114,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งน้อยกว่าเดือนมิ.ย.ที่เพิ่มขึ้น 145,000 ตำแหน่ง
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียเปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมการผลิตในเขตมิดแอตแลนติกของสหรัฐร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ -30.7 จุดในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2552 และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ +3.7 จุด หลังจากที่เคลื่อนไหวที่ระดับ +3.2 จุดในเดือนมิ.ย.การหดตัวลงอย่างหนักของดัชนีกิจกรรมการผลิตในเขตมิดแอตแลนติกของสหรัฐได้สร้างความวิตกกังวลในตลาดวอลล์สตรีทว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหม่