ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี (KEXIM) ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรสกุลเงินบาท เป็นครั้งที่ 4

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 28, 2011 16:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 พ.ย.--ธนาคารเอชเอสบีซี *** ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้น แม้ว่าจะมีเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ที่สุดในรอบ 50ปี *** ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี (KEXIM) ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรบัตรสกุลเงินบาทเป็นครั้งที่ 4 แม้ว่าในครั้งนี้สภาพตลาดจะผันผวนและเกิดวิกฤติอุทกภัย โดยธนาคารเอชเอสบีซีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวในการออกพันธบัตรทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา ธนาคารเอชเอสบีซี ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการออกตราสารหลัก และ bookrunner แต่เพียงผู้เดียวให้แก่ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี (KEXIM) ในการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทมูลค่า 7,500 ล้านบาท (ประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ) แบ่งเป็น 2 ชุดคู่กัน (dual-tranche) ผู้ออกหลักทรัพย์: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี(KEXIM) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ: A1 / A / A+ (Moody’s / S&P / Fitch) ระยะเวลา: 3 ปี 10 ปี มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ขาย: 6,500 ล้านบาท 1,000 ล้านบาท วันที่ออกหลักทรัพย์: 25 พฤศจิกายน 2554 25 พฤศจิกายน 2554 วันครบกำหนด: 25 พฤศจิกายน 2557 25 พฤศจิกายน 2564 อัตราดอกเบี้ย: 4.16% 4.40% นาย ยุน ยุง คิม กรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี (KEXIM) ได้กล่าวว่า “ผลงานของธนาคารเอชเอสบีซีในการออกพันธบัตรได้เน้นให้เห็นชัดว่านักลงทุนในประเทศมีความเชื่อมั่นอย่างสูงต่อทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีและรัฐบาลประเทศเกาหลี ซึ่งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีมีความภูมิใจที่ได้เป็นผู้ออกหลักทรัพย์รายแรกและเพียงรายเดียวที่เป็นผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศที่สามารถเข้าถึงตลาดพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทยได้มากถึงปีละ 2 ครั้ง รวมถึงการที่ได้เป็นผู้ออกหลักทรัพย์รายแรกและเพียงรายเดียวที่จากประเทศเกาหลีที่สามารถออกหลักทรัพย์ที่มีระยะเวลาได้นานถึง 10 ปี การที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีได้มอบหมายให้ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นผู้จัดการออกตราสารเป็นครั้งที่ 4 นี้ เป็นการตอกย้ำความเชื่อถือและความไว้ใจต่อธนาคารเอชเอสบีซีในความสามารถที่จะผลักดันให้รายการออกหลักทรัพย์ในตลาดพันธบัตรสกุลเงินบาทประสบผลสำเร็จ” แต่เดิมนั้นธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีมีแผนที่จะออกพันธบัตรพร้อมกับ Greenshoe option ในจำนวนเพียง 5,000 ล้านบาท แต่หลังจากทำการสำรวจความต้องการซื้อพันธบัตรแล้วพบว่ามีความต้องการเกินไปเกือบ 2 เท่า ดังนั้นธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีจึงตัดสินใจเพิ่มพันธบัตรที่ขายเป็น 7,500 ล้านบาท จึงทำให้ยังสามารถออกพันธบัตรได้ในช่วงราคาที่กำหนดไว้เดิมทั้งสำหรับรายการพันธบัตรอายุ 3 ปี และ 10 ปี นาย แมตทิว ล็อบเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ธนาคารเอชเอสบีซีได้ประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็น bookrunner และเป็นผู้จัดการออกตราสารหลักแต่เพียงผู้เดียว ในการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทให้แก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี (KEXIM) ทั้ง 4 ครั้ง ความสำเร็จในการออกพันธบัตรครั้งล่าสุดนี้เป็นการสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่อธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีว่าเป็นสถาบันที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สูงในระดับโลก ด้วยประวัติเครดิตที่มั่นคงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีและประสิทธิภาพในการสื่อสารกับนักลงทุนในประเทศของธนาคารเอชเอสบีซีทำให้การออกพันธบัตรในครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจากกลุ่มนักลงทุนที่มีคุณภาพสูง นอกจากนั้นความสำเร็จของการออกพันธบัตรครั้งนี้ยังได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างธนาคารเอชเอสบีซีกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของธนาคารเอชเอสบีซีในการประสานงานข้ามระบบงานในการทำรายการของตลาดพันธบัตรระดับโลก และความสามารถในการจัดการและปฏิบัติงานข้ามชาติในการทำรายการที่เป็นสกุลเงินบาท” ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลี (KEXIM) เป็นสถาบันการเงินภายใต้รัฐบาลเกาหลีและดำเนินกิจกรรมหลักเพื่อการสนับสนุนธุรกิจส่งออกของประเทศและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก Moody’s ในระดับ A1 และจาก S&P ในระดับ A และจาก Fitch ในระดับ A+ ที่ผ่านมาทางธนาคารฯ ได้มีการสนับสนุนการขยายงานของธุรกิจต่างๆ จากประเทศเกาหลี ในประเทศไทย ทั้งนี้ทางธนาคารฯ ก็มีแผนการให้ความช่วยเหลือกับธุรกิจในประเทศไทยทีได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเช่นกัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ