“จิ๋วแต่แจ๋ว โรงเรียนเล็กเรียนแบบบูรณาการ” เจาะลึกโรงเรียนวัดเหนือ พาเด็กสนุกคิด ทดลองวิทย์บูรณาการ

ข่าวทั่วไป Thursday June 21, 2012 09:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--สสวท. น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นตัวกลางของกระบวนการต่างๆในสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายและมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก วัฏจักรของน้ำ คือ การเกิดและการหมุนเวียนของน้ำที่อยู่ในโลก ตั้งแต่การระเหย การควบแน่น การรวมตัวของน้ำในอากาศเกิดเป็นฝนและหิมะตกสู่พื้นโลก และการรวมตัวของน้ำสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ การเรียนรู้เกี่ยวกับวัฎจักรของน้ำจึงจัดว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่น่ารู้ใกล้ตัวเรา วันนี้ผู้เขียนพาไปเจาะลึกชั้นเรียน ป. 5 ของโรงเรียนวัดเหนือ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่ที่อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เขากำลังเรียนรู้เรื่อง “ความหลากหลายของไอน้ำ” แบบบูรณาการหลายวิชามาไว้ด้วยกัน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาไทย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ สสวท. ได้ค้นพบจากผลการวิจัยว่า สาเหตุที่นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กทำข้อสอบวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ได้คะแนนน้อย หรือเรียนรู้ได้ไม่ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักเรียนมีปัญหาการอ่านภาษาไทย การเชื่อมโยงบูรณาการกันจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สนุก และเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เนื้อหาเดียวสามารถเรียนรู้ได้ทั้งสามวิชา และที่สำคัญคือเป็นการช่วยครู เพราะครูโรงเรียนขนาดเล็กมีครูค่อนข้างน้อย ครูคนหนึ่งสอนทุกวิชา หรือสอนหลายวิชา หลายระดับชั้น จึงเป็นที่มาของการพัฒนากิจกรรมดังกล่าวขึ้น ในการเรียนรู้ “ความหลากหลายของไอน้ำ” นักเรียนศึกษาใบความรู้วัฎจักรของน้ำ ศึกษาทบทวนใบความรู้ความหลากหลายของไอน้ำ จากนั้นก็ทำการทดลอง โดยมีอุปกรณ์การทดลองได้แก่ ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ๆ ขนาด 1.50 ลิตร น้ำหวาน น้ำแข็ง เกลือ หลอดทดลอง กรรไกร สีเมจิก ไม้บรรทัด ตะปู นาฬิกาจับเวลา จากนั้นก็สังเกต บันทึกผลการทดลอง แล้วช่วยกันสนุปผลการทดลอง การทดลองครั้งนี้นักเรียนได้ฝึกทักษะการวัด การสังเกตโดยใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ผลการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า เมื่อไอน้ำและหยดน้ำไปกระทบกับความเย็นหรืออากาศที่มีอุณหภูมิต่ำจะเกิดการเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ไอน้ำในบรรยากาศอาจมองเห็นได้ในรูปของ เมฆ หมอก และมองเห็นไม่ได้ในรูปของไอน้ำ เกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ บนผิวโลก ไอน้ำในบรรยากาศนี้ ถ้าหากมีมากขึ้นจะกลั่นตัวเป็นละอองน้ำ และรวมตัวกันเป็นหยดน้ำตกลงมาสู่ผิวโลกในหลายรูปแบบ ได้แก่ ฝน หิมะ ลูกเห็บ น้ำแข็ง น้ำค้าง และน้ำค้างแข็งตัว สาเหตุที่น้ำในหลอดทดลองที่ใส่ลงไปในน้ำแข็งแล้วหลายเป็นของแข็ง เพราะเกลือมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น และลดอุณหภูมิของน้ำแข็ง ในท้องถิ่นของเรานำหลักการนี้ไปใช้ทำไอศครีมหลอด นักเรียนสามารถนำกลับไปลองทำที่บ้านได้ สำหรับการบูรณาการกับภาษาไทย คุณครูให้เขียนเรื่องตามจินตนาการเกี่ยวกับความหลากหลายของไอน้ำ พร้อมวาดภาพประกอบและระบายสีให้สวยงาม การบูรณาการกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปริมาตร การวัด ส่วนการ บูรณาการกับภาษาอังกฤษนั้น คุณครูสอนคำศัพท์เกี่ยวกับสภาวะอากาศพร้อมทั้งทำใบงาน คุณครูกรรณิกา ภู่ระหงษ์ คุณครูประจำชั้น ป. 5 โรงเรียนวัดเหนือ เล่าว่า โรงเรียนวัดเหนือมีทั้งเรียนทั้งหมด 87 คน ชั้น ป. 5 มี 16 คน ตนเองนั้นได้รับการอบรมจาก สสวท. แล้วนำแนวทางมาใช้สอน มีการเชิญวิทยากรท้องถิ่นมาสอนร่วมด้วยในบางเนื้อหา เช่น การขยายพันธุ์พืช กิจกรรมที่นำมาใช้แต่ละเนื้อหานั้นสามารถบูรณาการได้เกือบทุกวิชา โดย สสวท. มีตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ให้ มีใบกิจกรรมการทดลอง ใบความรู้และอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เลย ในส่วนของครูที่นำไปใช้ก็จะมีการปรับใช้แบบหยืดหยุ่นได้ในแต่ละชั้นเรียนเพื่อความเหมาะสม น่าสนใจ และนำไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่มีในท้องถิ่น “ผลจากการนำแนวทางการจัดกิจกรรมของ สสวท. ไปใช้ นักเรียนกล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก ลงมือทำด้วยตัวเอง ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในส่วนของภาษาไทยได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ อ่าน เขียน คณิตศาสตร์ ได้แก้โจทย์ปัญหา สามารถแยกแยะวิเคราะห์ได้ สอดคล้องกับการประเมินของเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งต้องการวัดทักษะการอ่าน การคิดคำนวณ ทำให้นักเรียนเรียนอย่างไม่ซ้ำซากจำเจ ได้ทำกิจกรรมสนุกนอกห้องเรียน สิ่งสำคัญคือ ครูต้องกระตุ้นโดยการใช้คำถามและเน้นย้ำเพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งครูต้องไปศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาและกิจกรรมให้ถ่องแท้ชัดเจนก่อนจึงนำมาถ่ายทอดให้แก่เด็ก” เด็กหญิงธิดา (ไม่มีนามสกุล) บอกกับเราว่า ได้ฝึกการสังเกต การทดลอง ได้ความรู้หลากหลาย ชอบเรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ชอบให้ครูทำกิจกรรมการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในวิชาต่าง ๆ เรียนเนื้อหาเดียวได้ฝึกฝนความรู้หลายวิชาไปพร้อมกันก็ดีค่ะ เด็กหญิงสไตไทย ตา บอกว่า ได้ความรู้เกี่ยวกับวัฎจักรของน้ำ ไปน้ำหลายเป็นของแข็ง ของเหลว เป็นฝน เป็นหิมะ ลูกเห็บ ทำให้เราเข้าใจการเกิดสภาวะอากาศต่างๆ ดีขึ้น สิ่งที่เรียนสามารถเชิ่อมโยงกันไดหลายวิชา สิ่งที่เรียนสามารถเชื่อมโยงกันได้หลายวิชา ได้ความรู้แบบสนุกและ ไม่กดดันค่ะ เด็กชายนันทิศักดิ์ โมลา กล่าวว่า ชอบกิจกรรมนี้ตรงที่ได้ทดลอง ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง หิมะ ทำให้เข้าใจมากขึ้น คุณครูสอนแล้วเข้าใจดีค่ะ ตอบคำถามคุณครุได้ เรียนแล้วมีความสุข ชอบมาโรงเรียนทุกวัน ได้อยู่กับเพื่อนๆ แล้วสนุก เด็กชายภานุสรณ์ คงเสือ กล่าวว่า ชอบวิธีการสอนของคุณครู เวลาเรียนแล้วสนุก ความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สิ่งที่เรียนวันนี้นำไปทำไอติมหลอดได้ครับ วิทยาศาสตร์มีอยู่ในทุกที่ เรียนแบบนี้สนุกครับ
แท็ก หิมะตก   เซลล์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ