กลุ่มปลาร้าสมุนไพร

ข่าวทั่วไป Monday March 25, 2013 16:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--กรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดมหาสารคามชาวบ้านอำเภอเชียงยืนรวมกลุ่มผลิตปลาร้าหรือปลาแดก ให้เป็นอาหารท้องถิ่นและเป็นอาหารเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน พร้อมพัฒนาเป็นปลาร้าบองสมุนไพร และสร้างเครือข่ายผลิตขนมไทย สามารถสร้างรายได้อย่างงดงม ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ที่บ้านหนองล่าม หมู่ที่ 1 ตำบลเหล่าบัวบาน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซากทุกปี สมาชิกแม่บ้าน 40 รายจึง ได้มีการรวมกลุ่มกันสร้างอาชีพเสริมคือการผลิตปลาร้า พร้อมจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเมื่อปี 2548 สามารถแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมและภัยแล้งได้เป็นอย่างดี นางทองม้วน ศรีทัศยศ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าหมักบ้านหนองล่าม เล่าวว่า เมื่อฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมที่นาชาวบ้านจะจับปลาหลากหลายชนิดและจับได้เป็นจำนวนมาก จึง มีแนวคิดที่จะหาวิธีเก็บไว้กินได้นาน จึงนำปลาไปคลุกกับเกลือ รำ ข้าวสุก แรกๆนำไปใส่ไหเก็บไว้กินได้นาน 6 เดือนถึง 1 ปี ก่อนนำไปแลกข้าวเนื่องจากน้ำท่วมนาข้าวชาวบ้านไม่มีข้าวกิน จึงเป็นที่มาของปลาแดกแลกข้าวกิน บางส่วนก็นำไปขายนำเงินมาเข้ากลุ่มแบ่งเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเก็บไว้ทำอาหารกินในครอบครัว ต่อมาได้มีหน่วยงานข้าราชการจากหลายส่วนเข้ามาดูแล รวมถึงองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าบัวบาน ได้สร้างอาคารหรือโรงเรือนสำรับผลิตปลาร้า มีโอ่งไว้ใส่และหมักปลาร้าให้ถูกสุขลักษณะ ขณะที่ทางจังหวัดและอำเภอได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ SML ด้านการตลาดมีทั้งการขายด้วยตนเองและ ขายในวาระกลุ่มแต่กำหนดราคาขายมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ลูกกลุ่มมีรายได้เลี้ยงครอบครัว กลุ่มปลาร้าเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งด้วยความสามัคคี ความซื่อสัตย์ต่อกันจึงทำให้ทุกคนมีรายได้ที่ยั่งยืน โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 8,000 ต่อราย โดยขายในราคาปี๊บๆ ละ 10 กิโล ขายกิโลกรัมละ 25-30 บาท นอกจากนี้กลุ่มยังได้หมักปลาร้าตัวใหญ่มีทั้งปลาช่อน ปลาดุก และปลาตะเพียน ราคาจะสูงกว่าปลาร้าตัวเล็กคือขายกิโลกรัมละ 50-70 บาท 1 โอ่งบรรจุได้ 200 กิโลกรัม ขณะเดียวกันในช่วงฤดูแล้งปลาร้าที่มักได้ที่แล้วกลุ่มจะนำไปแปรรูปเป็นอาหารอย่างอื่นไว้ขายเช่นปลาร้าทอด ปลาร้าบอง ปลาร้าสับปรุงรสสมุนไพร หลนปลาร้า น้ำปลาร้าพร้อมใช้ระบบพลาสเจอร์ไรส์ที่กำลังได้รับความนิยมเนื่องจากพกพาสะดวกไม่มีกลิ่นราบกวน ปัจจุบันกลุ่มมีเงินทุนเรือนหุ้น กว่า 1.75 ล้านบาท และแต่ละปีกลุ่มมีผลกำไรไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท จึงนับเป็นความสำเร็จของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่พลิกวิกฤตน้ำท่วมนาข้าวจับปลาไปหมักเป็นปลาร้าและนำไปแปรรูปสร้างรายได้ในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรที่สนใจ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัด/สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือขอคำปรึกษาและแก้ปัญหาการเกษตร โดยตรงกับเกษตรจังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑-๗๙๐๕๒๕๖ และหมายเลข ๐๘๘-๕๔๙๗๙๔๔
แท็ก ตำบล   ขนม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ