เอชเอสบีซี เผยผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังมองหุ้นเป็นบวกในไตรมาส 2/56

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 22, 2013 16:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 เม.ย.--เอชเอสบีซี เอชเอสบีซี เผยผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังมองหุ้นเป็นบวกในไตรมาส 2/56ครึ่งหนึ่งของผู้จัดการกองทุนชอบลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น3 ใน 4 ของผู้จัดการกองทุน เพิ่มน้ำหนักลงทุนในพันธบัตรสกุลเงินเอเชียเงินไหลเข้าลงทุนในกองทุนพันธบัตรสูงถึง 56 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 4/55 เอชเอสบีซี เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนทั่วโลกล่าสุด พบว่า ร้อยละ 57 ของผู้จัดการกองทุนทั่วโลก (เทียบกับร้อยละ 75 ในไตรมาส 1/56) ยังคงสนใจลงทุนในหุ้นในไตรมาส 2/56 โดยที่ไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดเลยที่ลดน้ำหนักลงทุนในหุ้น 1 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (หรือร้อยละ 14) ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรและการถือครองเงินสดในไตรมาส 2/56 จากไตรมาสก่อนที่มองว่าไม่น่าสนใจเลย (ร้อยละ 0 สำหรับการลงทุนในพันธบัตรและการถือครองเงินสดในไตรมาส 1/56) และผู้จัดการกองทุนเกิน 2 ใน 5 (ร้อยละ 43) ลดน้ำหนักลงทุนในพันธบัตรและลดการถือครองเงินสด เทียบกับร้อยละ 38 และร้อยละ 63 ตามลำดับในไตรมาส 1/56 นายวินีต โวฮ์รา ผู้อำนวยการบริหารระดับภูมิภาค ฝ่ายการพัฒนาความมั่งคั่ง ธนาคารเอชเอสบีซี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังคงมีมุมมองเป็นบวกต่อการเติบโตของตลาดหุ้น ซึ่งตลาดหุ้นเกิดใหม่รวมทั้งตลาดหุ้นเอเชีย ยังคงน่าสนใจลงทุน เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีกว่าตลาดอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีผู้จัดการกองทุนบางรายที่เริ่มระมัดระวังในการลงทุน เนื่องจากกลับมากังวลต่อปัญหาวิกฤตหนี้ในยูโรโซนอีก ก็ไม่ใช่เรื่องน่าวิตกแต่อย่างใด” ตลาดหุ้นเกิดใหม่กลับมาโดดเด่นอีกครั้งในไตรมาส 2/56 เนื่องจากผู้จัดการกองทุนเกินครึ่ง (ร้อยละ 57) มีมุมมองเป็นบวก เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีเพียงร้อยละ 29 ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาเหนือเริ่มคลายความนิยมลงจากร้อยละ 75 เหลือร้อยละ 57 ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น ผู้จัดการกองทุนชอบลงทุนมากขึ้นจากร้อยละ 43 มาเป็นร้อยละ 50 และไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดเลยที่ลดน้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นกลุ่มประเทศจีน ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดหุ้นเอเชีย ส่วนอีกร้อยละ 14 ลดน้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ (เทียบกับร้อยละ 25 ในไตรมาส 1/56) ด้านตลาดพันธบัตร พบว่า ร้อยละ 75 ของผู้จัดการกองทุนชื่นชอบลงทุนในพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของเอเชีย เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของภูมิภาคเอเชียยังแข็งแกร่งกว่าที่อื่น ๆ และสกุลเงินเอเชียมีทิศทางแข็งค่าขึ้น การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงสนับสนุนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกดดันต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ 4 ใน 5 ของผู้จัดการกองทุนลดน้ำหนักลงทุนในพันธบัตรดอลลาร์สหรัฐ และไม่มีรายใดเลยที่เพิ่มน้ำหนักลงทุนในพันธบัตรดอลลาร์สหรัฐ กลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุน ลดน้ำหนักการลงทุน(Underweight) คงน้ำหนักการลงทุน เพิ่มน้ำหนักการลงทุน(Overweight) (Neutral) ไตรมาส2/56 ไตรมาส 1/56 ไตรมาส2/56 ไตรมาส1/56 ไตรมาส2/56 ไตรมาส 1/56 ตลาดหุ้น 0% 0% 43% 25% 57% 75% -ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ 14% 25% 29% 0% 57% 75% -ตลาดหุ้นยุโรป 14% 25% 43% 25% 43% 50% (ยกเว้นสหราชอาณาจักร) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น 0% 25% 71% 63% 29% 13% -ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก 0% 0% 50% 57% 50% 43% ยกเว้นญี่ปุ่น -ตลาดหุ้นเกิดใหม่ 0% 14% 43% 57% 57% 29% -ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศจีน 0% 0% 40% 50% 60% 50% ตลาดพันธบัตร 43% 38% 43% 63% 14% 0% ตลาดพันธบัตรดอลลาร์สหรัฐ 80% 29% 20% 29% 0% 43% ตลาดพันธบัตรสกุลเงินเอเชีย 0% 33% 25% 33% 75% 33% -ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่ทั่วโลก 0% 0% 29% 38% 71% 63% -ตลาดพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูง 14% 0% 14% 29% 71% 71% เงินสด 43% 63% 43% 38% 14% 0% การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนทั่วโลกในไตรมาส 4/55 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกทั้ง 10 แห่ง ที่ร่วมในการสำรวจ พบว่า มีมูลค่าเกือบ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส 4/55 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 หรือ 124 พันล้านเหรียญสหรัฐจากไตรมาสก่อน ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการที่เติบโตเพิ่มขึ้น เป็นผลจากกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเป็นหลัก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 หรือประมาณ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐของเงินลงทุนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น เงินลงทุนสุทธิที่ไหลเข้าลงทุนในกองทุนพันธบัตรมีมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับสองนับตั้งแต่ปี 2551 รวมมูลค่าทั้งสิ้น 55.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเอเชียเติบโตร้อยละ 11 ส่วนกองทุนที่ลงทุนในหุ้นยังคงมีเงินทุนไหลออกสุทธิ คิดเป็นมูลค่า 13.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 4/55 ซึ่งนับเป็นไตรมาสที่ 10 ติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเรื่องสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนจากปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรป และการหารือเพื่อแก้ปัญหาทางการคลังของสหรัฐ การเคลื่อนย้ายเงินทุนสุทธิ (เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมทำการสำรวจ) ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน สิ้นไตรมาส 4/55 สิ้นไตรมาส 3/55 ตลาดพันธบัตรเอเชีย(Asian bonds) +10.7% +2.7% ตลาดพันธบัตรตลาดเกิดใหม่/พันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูง(Emerging markets/High yield bonds) +6.7% +5.3% ตลาดหุ้นเกิดใหม่(Emerging markets equities) +4.4% +1.8% ตลาดพันธบัตรอเมริกา(US bonds) +3.8% -0.2% ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น(Asia-Pacific ex-Japan equities) +1.5% -6.4% พันธบัตรทั่วโลก(Global bonds) +0.8% +4.0% ตลาดหุ้นทั่วโลก(Global equities) +0.01% -4.0% ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ(North American equities) -0.4% -1.1% ตลาดหุ้นยุโรป รวมสหราชอาณาจักร(Europe including UK equities) -2.2% +0.9% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น(Japan equities) -4.1% -1.9% ตลาดพันธบัตรยุโรป รวมสหราชอาณาจักร(Europe including UK bonds) -5.0% -9.2% ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศจีน(Greater China equities) -17.2% -5.2% ผลการดำเนินงานของตลาดในไตรมาส 4/55 เทียบกับไตรมาส 3/55 ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรทุกแห่ง ยกเว้นตลาดหุ้นอเมริกาเหนือและตลาดพันธบัตรทั่วโลก มีผลการดำเนินงานที่ดีในไตรมาส 4/55 โดยตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศจีนมีผลงานโดดเด่นที่สุด ซึ่งมีอัตราการเติบโตร้อยละ 12.9 รองลงมา คือ ตลาดหุ้นยุโรปรวมสหราชอาณาจักรที่เติบโตร้อยละ 7 และตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นที่ขยายตัวร้อยละ 6 ส่วนตลาดตราสารหนี้ พบว่า ตลาดพันธบัตรยุโรปรวมสหราชอาณาจักรให้ผลตอบแทนที่ร้อยละ 4.6 และตลาดพันธบัตรตลาดเกิดใหม่/ให้ผลตอบแทนสูงมีอัตราผลตอบแทนขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.9 นายวินีต กล่าวเพิ่มเติมว่า “กองทุนหุ้นกลุ่มประเทศจีนเผชิญกับเงินทุนไหลออกสุทธิกว่าร้อยละ 17 เนื่องจากแรงขายทำกำไรของนักลงทุนจากการที่ตลาดผันผวนอย่างหนักในไตรมาส 4/55 หากตัดเรื่องนี้ออกไป ตลาดหุ้นเกิดใหม่โดยรวมแล้วยังอยู่ในทิศทางที่ดี และยังเป็นตลาดที่สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 3/54 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจเอเชียที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เงินทุนที่ไหลเข้าลงทุนอย่างมากในกองทุนพันธบัตรสะท้อนว่า นักลงทุนยังคงพยายามหาผลตอบแทนจากตลาดในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ และการที่ไม่มีสินทรัพย์ลงทุนใดที่ให้ผลตอบแทนยอดเยี่ยมได้ตลอดเวลา นักลงทุนจึงต้องหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง และวางแผนการลงทุนโดยกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ให้มีความหลากหลาย” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 02-614-4609, 02-614-4606

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ