ความสำเร็จของสายการบินเอทิฮัดจากการวางรูปแบบการดำเนินงานแบบใหม่

ข่าวท่องเที่ยว Friday August 9, 2013 12:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ สายการบินเอทิฮัดกลายเป็นสายการบินที่เติบโตรุดหน้าได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน และหนึ่งในความสำเร็จนั้นเกิดจากการวางรูปแบบการดำเนินงานแบบใหม่ มร. เจมส์ โฮแกน ประธานและประธานกรรมการบริหาร สายการบินเอทิฮัด แถลงในงานประชุมสุดยอด CAPA Australia Pacific Aviation Summit ณ กรุงซิดนีย์ แถลงการณ์ของมร. โฮแกนเกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากที่สายการบินเอทิฮัดประกาศความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์กับรัฐบาลของสาธารณรัฐเซอร์เบีย โดยเข้าซื้อหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ในสายการบินแอร์เซอร์เบียซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติที่ได้รับการปรับปรุงอัตลักษณ์ขึ้นใหม่ พร้อมได้สัญญาในการบริหารจัดการสายการบินเป็นเวลา 5 ปี มร. โฮแกนนำเสนอโครงสร้างทางธุรกิจรูปแบบใหม่สำหรับการบินระดับโลกเพื่อหลีกหนีโครงสร้างธุรกิจแบบดั้งเดิมและก้าวข้ามความเป็นพันธมิตรทางสายการบินแบบที่เคยเป็นมา กลยุทธ์ที่ไม่ซ้ำใครของสายการบินแห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องการที่จะสร้างขนาดของธุรกิจผ่านการเจริญเติบโตแบบยั่งยืน การบินร่วม และการถือครองหุ้นส่วนน้อยในสายการบินอื่นๆ "มีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างธุรกิจแบบดั้งเดิมและความร่วมมือแบบเก่ากับสายการบินพันธมิตรจะไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการทำงานในปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว และการสร้างความเจริญรุดหน้าในอุตสาหกรรมการบินก็เป็นไปได้ยากที่จะไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย" มร. โฮแกนกล่าว "อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับธุรกิจการบินทั่วโลกจำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์และความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะทำลายกรอบประเพณีและการปฏิบัติอย่างที่เคยเป็นมา" มร. โฮแกนเสริมว่าการจัดการธุรกิจให้ไปไกลระดับโลกนั้นอยู่เหนือความสามารถของสายการบินใดเพียงสายการบินเดียว แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมมือระหว่างสายการบินด้วยกันเอง “ถ้านับรวมการเข้าถือครองหุ้นในสายการบินเจ็ทแอร์เวย์ของอินเดียที่อยู่ระหว่างการดำเนินการแล้ว สายการบินเอทิฮัดจะมีพันธมิตรการบินรวมทั้งหมด 6 ราย ให้บริการเที่ยวบินร่วมกว่า 46 เที่ยวบิน มีเครื่องบินโดยสารที่ทันสมัยราว 500 ลำ พร้อมต้อนรับอาคันตุกะผู้ทรงเกียรติกว่า 96 ล้านคน ให้เลือกเดินทางสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ ได้มากกว่า 410 แห่ง ใน 6 ทวีป” มร. โฮแกนเพิ่มเติม “ความร่วมมือร่วมกันระหว่างสายการบินจะรวมถึงการจัดหาทรัพย์สิน บริการ และอุปกรณ์ร่วมกัน เช่น เครื่องบินโดยสาร เครื่องยนต์ เชื้อเพลิง และประกันภัย ตลอดจนความร่วมมือในประเด็นการดูแลรักษา การอบรมพนักงาน และกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดต้นทุนให้กับทุกฝ่าย นี่เป็นความคุณค่าที่ได้จากการเป็นพันธมิตรร่วมกัน และผมเชื่อมั่นว่านี่เป็นสิ่งที่ควรจะดำเนินต่อไป” มร. โฮแกนชี้แจง “สายการบินเอทิฮัดรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สายการบินแอร์เซอร์เบียเข้าร่วมเป็นหนึ่งในพันธมิตรของเรา และหวังว่าการลงทุนเพื่อถือครองหุ้นในสายการบินเจ็ทแอร์เวย์ของอินเดียที่อยู่ระหว่างดำเนินการจะได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการในขั้นตอนสุดท้ายเร็วๆ นี้” ในส่วนของสิ่งที่สายการบินจะต้องทำเพื่อสร้างหลักประกันให้กับอนาคตของตัวเองนั้น มร. โฮแกนอธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงกว้างๆ ถูกกำหนดโดยรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้สายการบินปฏิบัติตาม โดยจะรวมถึงกฎระเบียบแรงงาน การปฏิรูปการจัดการน่านฟ้า นวัตกรรมเทคโนโลยี การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานให้มากขึ้น และการทำงานร่วมกันกับอุตสาหกรรมการบิน เขากล่าวว่าปัญหาหนึ่งที่สำคัญและต่อเนื่องสำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศคือ การเข้าใช้บริการที่ท่าอากาศยานหลักต่างๆที่ถูกจำกัด ซึ่งตอนนี้หลายแห่งให้บริการเต็มกำลังความจุสูงสุดและไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้หรือหากทำได้ก็จะต้องใช้เวลาหลายปี มร. โฮแกนกล่าวว่าทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณาคือการลดเสียงรบกวนในสนามบิน ซึ่งวิธีดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว เพื่อลดเสียงรบกวนจากเครื่องบินในยุค 1950 (พ.ศ. 2493-2503) รวมทั้งเครื่องบินโบอิ้ง 707s เครื่องบิน DC-8s และเครื่องบิน VC10s อย่างไรก็ตาม ในสมัยนั้น หน่วยงานกำกับดูแลไม่เห็นด้วยต่อการพิจารณาให้สายการบินลงทุนกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องบินที่มีเสียงรบกวนและมลพิษต่ำอย่างเช่นเครื่องบินแอร์บัส A380s และโบอิ้ง 787s ในปัจจุบันซึ่งยังคงระดับของเสียงรบกวนให้เป็นเช่นเดิมเหมือนกับเครื่องบินลำแรกๆ "บางที การบรรเทาความแออัดที่สนามบิน เครื่องบินรุ่นถัดไปควรจะต้องเป็นเครื่องบินที่มีเสียงรบกวนต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดเสียงรบกวน " มร. โฮแกนเสนอ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ