UNIDO จับมือ กนอ. ร่วมพัฒนาเครือข่าย Eco — Cities Network ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวทั่วไป Friday November 29, 2013 18:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กนอ. นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ในนิคมอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและยั่งยืน ดังตัวอย่างการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ The United Nation Development Organization: UNIDO จึงได้เลือกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็น 1 ใน 5 พื้นที่ที่มีความเป็นผู้นำทางนวัตกรรมในการพัฒนาเครือข่ายเมืองยั่งยืน (Eco CITY) นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า UNIDO ได้เชิญ กนอ. เข้าร่วมโครงการ Promotion of Eco- cities Network in South East Asia โดยเลือกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็น 1 ใน 5 พื้นที่เหมาะสมแก่การพัฒนาสู่เครือข่ายเมืองยั่งยืน (Eco CITY) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะสามารถพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการจัดวางผัง ทั้งสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างเหมาะสม รองรับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่บริหารจัดการทรัพยากร และพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนและเกื้อหนุนซึ่งกันและกันของภาคอุตสาหกรรมและชุมชน มีการนำนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการบริหารจัดการและดำเนินการที่ดี ทั้งนี้ พื้นที่เครือข่ายเมืองยั่งยืน (Eco CITY) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย 1. Pingtan ประเทศจีน 2. Iskander ประเทศมาเลเซีย 3. Cebu ประเทศฟิลิปปินส์ 4. นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประเทศไทย และ 5. Da Nang ประเทศเวียดนาม สำหรับการจัดอบรมหลักสูตร “Peer review Training and first peer review support visit” โดย กนอ. และ UNIDO มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่าย Eco—Network ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทบทวนประสบการณ์ที่ดีระหว่างประเทศที่เข้าร่วมโครงการ และเยี่ยมชมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่เป็นกรณีตัวอย่างที่สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งในด้านของความสำเร็จและปัญหาต่างๆ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการ และแปลงไปสู่การดำเนินการที่เป็นรูปธรรมภายใต้การกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม เปิดเผยและตรวจสอบได้ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ อาทิ 1. ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Monitoring & Control Center: EMCC) ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 2. ระบบสื่อสารและควบคุมการจราจรทางน้ำ (Vessel Traffic Management System: VTMS) บนหอปฏิบัติการควบคุมจราจรทางน้ำ ของท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด 3. การบริหารจัดการศูนย์ควบคุมในภาวะฉุกเฉิน ของบริษัท เอ็นพีซี เอส แอนด์ อี จำกัด 4. การบริหารจัดการด้านพลังงานของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) 5. โครงการพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย 6. ระบบแนวป้องกัน (Protection Strip) ในนิคมอุตสาหกรรม อาร์ไอแอล รวมทั้งร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมโครงการธงขาวดาวเขียว ตามหลักธรรมาภิบาล เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ ผลจากการจัดอบรม และเยี่ยมชมการบริหารจัดการที่ในพื้นที่มาบตาพุดที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญมีความประทับใจและเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของ กนอ. ซึ่งพื้นที่กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่สามารถดำเนินการด้วยกันได้อย่างกลมกลืน และร่วมกันแก้ปัญหาโดยไม่จำเป็นต้องมีพันธะสัญญาด้วยเอกสาร นอกจากนี้สามารถประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยได้สำเร็จในระยะสั้น นอกจากนี้มีความตั้งใจที่จะประสานความร่วมมือกับ กนอ. ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการจัดตั้ง “ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย” (Environmental Monitoring & Control Center: EMCC) ซึ่ง กนอ. ได้พัฒนาและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่ทันสมัย เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล และควบคุมสั่งการในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งด้าน น้ำ อากาศ กากอุตสาหกรรม ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด พร้อมสร้างความเชื่อมั่นต่อชุมชนที่อยู่โดยรอบนิคมฯ ผ่าน Displayed Board หรือแผ่นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ทุกคนในชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ได้รับทราบ ในลักษณะข้อความที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งแสดงถึงการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาประยุกต์ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างสรรค์ต่อสังคม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด ซึ่งในปี 2556 กนอ. ได้รับประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ ประจำปี 2556 จากประธานวุฒิสภา สำหรับโครงการศูนย์ EMCC นายวิฑูรย์ กล่าวสรุ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ