ตลาดหลักทรัพย์แถลงผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนปี 2541

ข่าวทั่วไป Thursday July 30, 1998 15:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--30 ก.ค.--กลต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แถลงถึงภาระการซื้อขายหลักทรัพย์และผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน) ปี 2541 สรุปได้ดังนี้ ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ 1998 1997 JAN JAN-JUN Corporate Securities Total Turnovr- Volume (Mil.Shares) 21,870.38 13,995.61 - Value (Mil.Baht) 361,985.08 479,636.14 Daity Average Turnover Value (Mil.Baht) 2,991.61 3,963.94 Newly Listed companies 1 3 Delisted Companies 4 2 Number of Listed Companies 428 455 Total Capitalization -Par Value (Mil.Baht) 638,044.28 618,920.59 -Market Value (Mil.Baht) 924,222.95 1,614,919.75 Market Statistics SET Index 267.33 527.28 SET 50 Index 17.84 38.20 Market Divided Yield (%) 2.50 4.75 Market P/E Ratio 10.72 8.57 Capital Mobilized by Listed Companies (Mil.Baht) 24,965.72 15,925.27ผลการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ได้ตระหนักและเข้าใจถึงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่องค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจหลักทรัพย์เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ในปี 2541 จึงได้มีการกำหนดแผนงานของตลาดหลักทรัพย์เป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มแผนงานเพื่อตอบรับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic-Crisis Responding Plan) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือองค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจหลักทรัพย์ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นมาตรการด้านการรักษาและขยายรายได้การลดต้นทุน และการปรับระบบงานให้เหมาะสม และกลุ่มแผนงานเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง (On-going Developrnent Plan) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบและการปฏิบัติงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและการพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวม ซึ่งในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมาสรุปผลการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ตามแผนงานดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้1. แผนงานเพื่อตอบรับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ (Economic-Crisis Reponding Plan) - การสร้างอุปสงค์ที่เพียงพอต่อการลงทุน (Sufficient Volume) โดยการเพิ่มปริมาณและยกระดับคุณภาพสินค้าของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขยายผลประโยชน์และเพิ่มความสะดวกในการลงทุนให้กับนักลงทุน 1. ศึกษาและเสนอแนะในหลักการ ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้มีการจัดตั้งตลาดซื้อขายสำหรับหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small and Medium-Sized Enterprises (SME)) โดยให้มีเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ที่ผ่อนคลายกว่าเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถระดมทุนได้โดยตรงจากประชาชน และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนในสินค้าที่หลากหลายและแตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มปริมาณธุรกิจให้กับบริษัทสมาชิกด้วย 2. อนุญาตให้มีการซื้อเพื่อสั่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน (Stabilization) โดยกำหนดให้สมาชิกรายหนึ่งที่เป็นแกนนำหรือตัวแทนของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) สามารถขออนุญาตซื้อหลักทรัพย์นั้นในตลาดหลักทรัพย์ในจำนวนที่ได้จัดสรรเกินไว้เมื่อตอนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวโดยมีจุดประสงค์ในการนำหุ้นจำนวนที่ซื้อนั้นไปส่งคืนแก่เจ้าของหลักทรัพย์ที่ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นยืมไปส่งมอบหุ้นเพื่อการจัดสรรเกิน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เรื่องการจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย และเรื่องการให้สิทธิผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ซื้อหุ้นภายหลังการจัดจำหน่ายหุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน เพื่อเป็นการส่งเสริมการจำหน่ายหลักทรัพย์ในตลาดแรก 3. ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Good Corporate Governance) เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีกระบวนการบริหารงานอย่างมืออาชีพ เป็นสากลและมีกระบวนการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนระบบการรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลโดยได้ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องจัดให้มี Audit Committee ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 นอกจากนี้ บริษัทที่ยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2541 เป็นต้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการของบริษัทด้วย อนึ่งจนถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2541 มีบริษัทจดทะเบียนที่แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแล้วจำนวน 31 บริษัท การเพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุน (Cost Efficiency) เพื่อเป็นการลดต้นทุนและการแบ่งปันต้นทุนดำเนินการให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง (Related Mareket Participants) 1. เสนอแนวทางและวิธีการในการใช้ระบบบัญชีต้นทุนกิจกรรม เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบต้นทุนที่แท้จริงในการประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และสามารถกำหนดอัตราค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุนได้อย่างเหมาะสม 2. ให้บริการระบบซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลแก่ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพ (BSDC) ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (BDC) และสมาชิกของศูนย์ซื้อขายฯ ทั้งสองแห่ง 3. ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. ในการสำรวจความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทสมาชิกและบริษัทจดทะเบียนในการรองรับปี ค.ศ. 2000 และจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เรื่องปัญหา Y2K และแนวทางดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ บริษัทสมาชิก Sub-Broker บริษัทจัดการลงทุนและบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งติดตามความคืบหน้าและให้คำแนะนำในการดำเนินการแก้ไขปัญหา Y2K ของบริษัทต่างๆ(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ