เมืองไทยประกันภัย โชว์ผลงานปี 2557 เบี้ย 10,233 ล้านบาท กำไรสุทธิ 856 ล้านบาท พร้อมประกาศเป้าหมายปี 2558 "ก้าวสู่ 11,986 ล้านบาท

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday February 26, 2015 15:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--เมืองไทยประกันภัยเมืองไทยประกันภัย” แสดงผลกำไรประจำปี 2557 สุทธิ 856 ล้านบาท ด้วยยอดเบี้ยประกันภัยรับรวมสูงถึง 10,233 ล้านบาท พร้อมประกาศเป้าหมายปี 2558 "ก้าวสู่ 11,986 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นในด้านการให้บริการ “Year of Services 2558” ปีแห่งการบริการที่เป็นเลิศและครบวงจรอย่างมืออาชีพ นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน) แถลงผลการดำเนินงานประจำปี 2557 ของบริษัทฯ ซึ่งมีผลประกอบการที่ดีมากทั้งเบี้ยประกันภัยรับรวมและกำไรสุทธิ บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิสูงถึง 856 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรที่สูงสุดนับตั้งแต่บริษัทฯ ได้ควบรวมกิจการมา บริษัทฯ สามารถสร้างผลกำไรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคงมาโดยตลอด แม้ว่าจะเคยประสบผลขาดทุนจากการบันทึกสินไหมเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 แต่ปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ผลประกอบการปี 2557 นี้บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 10,233 ล้านบาทสูงขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2556 คิดเป็นร้อยละ 15.1 โดยเป็นเบี้ยประกันภัยรับตรง 10,028 ล้านบาท เป็นอันดับที่ 4 ของอุตสาหกรรมเป็นผลมาจากความพยายามในหลายด้านด้วยกัน ทั้งการปรับกลยุทธ์การจำหน่ายโดยการกำหนดสัดส่วนผลิตภัณฑ์และการบริหารช่องทางการขายให้เหมาะสม การวางแผนการประกันภัยต่อ การพัฒนาระบบงานและเทคโนโลยีภายในให้รองรับการขยายตัวของธุรกิจ และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เบี้ยประกันที่ถือเป็นรายได้สำหรับปีมีจำนวน 5,241 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากมีขยายตัวของธุรกิจทั้งการรับประกันภัยรถยนต์และประกันภัยทั่วไปค่อนข้างสูงอีกทั้งมีการจัดโครงสร้างการประกันภัยต่อให้สอดรับกับความเสี่ยงและการขยายธุรกิจ บริษัทฯ มีรายได้ค่าจ้างและบำเหน็จเพิ่มขึ้นเป็น 1,287 ล้านบาทสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 28.4 จากการจัดการด้านประกันภัยต่อข้างต้น รายได้และผลกำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์รวม 405 ล้านบาท โดยรายได้ทั้งหมดประจำปีมีจำนวน 6,946 ล้านบาทเติบโตสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาจำนวน 345 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 5.2 ในส่วนของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบริษัทประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เงินสมทบฯ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีจำนวน 5,899 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 322 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าจำนวนรายได้ที่เพิ่ม ในภาพรวมบริษัทฯ มีกำไรก่อนหักภาษีเงินได้ 1,047 ล้านบาทและกำไรสุทธิ 856 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 772 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ผลการดำเนินงานที่ดีของปี 2557 มาจากความพยายามในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะกลยุทธ์การจัดการผลิตภัณฑ์และช่องทางขาย การประกันภัยต่อ การบริหารค่าใช้จ่าย การพัฒนาทักษะของบุคลากร การปรับกระบวนการทำงานตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้ามาช่วยในการทำงาน ทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ มีผลประกอบการที่ดี และการเติบโตของธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง” “สำหรับในปี 2558 นี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยประกันรับตรงอยู่ที่ 11,986 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนเป็นประกันภัยรถยนต์ (Motor) 48% และเป็นประกันภัยทั่วไป (Non-Motor) 52% นางนวลพรรณ กล่าวต่อว่า ในปี 2558 นี้ บริษัทฯ มีแผนงานและทิศทางการดำเนินงานประจำปี 2558 แบ่งเป็นแผนการพัฒนาในหลายๆ ด้านดังนี้ แผนการพัฒนาด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เมืองไทยประกันภัยพัฒนาช่องทางการขายที่หลากหลาย (Multi-channels) ต่อเนื่องจนกระทั่งในปัจจุบัน ผลของการขยายฐานช่องทางการขายทำให้บริษัทสามารถขยายยอดขาย ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีความเหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าของแต่ละช่องทาง ทั้งนี้บริษัทมีแผนงานที่จะพัฒนาช่องทางให้สามารถรองรับการให้บริการลูกค้าทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละช่องทางมีแผนงานพัฒนาดังต่อไปนี้ 1. ช่องทางฝ่ายขายธุรกิจตัวแทน เป็นช่องทางหลักของบริษัทที่สำคัญ เพื่อการขยายฐานช่องทางขายนี้ให้มากขึ้นบริษัทจะเปิดเป็นศูนย์การบ่มเพาะ (MTI Incubation center) ตัวแทนรายใหม่เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการด้านประกันภัย (Insureprenuership) ที่มีความรู้ทั้งด้านประกันภัยและการบริหารสำนักงานเพื่อให้มีความยั่งยืนในอาชีพ สามารถให้บริการลูกค้าของบริษัทเมืองไทยประกันภัยทั่วประเทศต่อไป 2. ช่องทาง ธุรกิจฝ่ายขายนายหน้า บริษัทบริหารช่องทางนายหน้าโดยแบ่งกลุ่มที่เน้นประกันภัยรถยนต์และประกันวินาศภัย ซึ่งบริษัทได้ขยายกลุ่มคู่ค้าที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่และขนาดย่อม เพื่อสามารถนำผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของนายหน้าที่เป็นคู่ค้าแต่ละราย แนวโน้มในการให้บริการผ่าน Digital ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทำให้บริษัทต้องมีความพร้อมในการให้บริการช่องทางนี้กับคู่ค้าเช่นกัน 3. ช่องทางพันธมิตรธุรกิจรถยนต์ ช่องทางพันธมิตรธุรกิจรถยนต์ยังประสบปัญหาในการขยายการขาย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ปริมาณรถยนต์รายใหม่กำลังซื้อหดตัวลง บริษัทได้วางแผนงานในการขยายช่องพันธมิตรธุรกิจรถยนต์โดยเปิดการขายประกันภัยกับตัวแทนจำหน่ายทั่วภูมิภาคในยี่ห้อหลัก ๆ อีกทั้งการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อให้ครอบคลุมกับความเสี่ยงของลูกค้ากลุ่มลิสซิ่งเพื่อสามารถขยายการขายแบบ cross-selling ให้แก่ลูกค้าในช่องทางนี้ 4.ช่องทางฝ่ายธุรกิจขายตรง บริษัทมีฐานลูกค้าขยายกลาง ถึงขนาดใหญ่ที่มีผลิตที่ครบวงจรเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ได้ครบทุกกิจกรรมทางธุรกิจให้แก่ลูกค้าของบริษัท บริษัทมีทิศทางการขยายฐานการขายลงไปสู่ กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือ และ พนักงานของบริษัทเหล่านี้ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบโดยเฉพาะ 5.ช่องทางขายแบงก์แอสซัวรันส์ บริษัทได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าป้าหมาย (Segmentation) ของธนาคาร ทั้งรายย่อย รายขนาดกลางและรายขนาดใหญ่ ให้มีความครอบคลุมกับธุรกรรมของบริษัทต่าง ๆ เพื่อดูแลด้านความเสี่ยงของลูกค้าให้ครบถ้วน ตั้งแต่การส่งวัตถุดิบ การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ การส่งออกสู่ตลาด การขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง การรับประกันภัยผลิตภัณฑ์เมื่อลูกค้าใช้หรือบริโภคแล้วเกิดปัญหาเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่บริษัทมีผลิตภัณฑ์คุ้มครองทั้งสิ้น สำหรับลูกค้ารายย่อย บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทั้งตัวและทรัพย์สินของลูกค้าอย่างครบถ้วน 6.ช่องทางศูนย์บริการ สาขาย่อยของบริษัท (Customer Service Center-CSC) และสาขาย่อยของบริษัท บริษัทมีแผนการพัฒนาช่องทางนี้ให้มีขอบเขตของการขายและการให้บริการอย่างครบวงจรในทุกด้าน เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น บริษัทจะพัฒนาช่องทางนี้เป็นทั้งสนับสนุนคู่ค้าของบริษัทและลูกค้าให้มีความสะดวกและ รวดเร็วในการรับบริการ 7.ช่องทางพันธมิตรที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ เช่น Counter Service, นกแอร์ บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตลอดมา ในปัจจุบันบริษัทได้ขยายฐานลูกค้า กับกลุ่ม Tesco Lotus โดยเป็นรายแรกที่ขายผลิตภัณฑ์ในลักษณะ 0ff-the shelf เป็นกล่อง สำเร็จรูป ซึ่งลูกค้าสามารถหยิบ จ่ายแล้วโทรแจ้งทำประกันภัยบริษัทเริ่มต้นกับประกันภัยประเภท พรบ ทั่วประเทศกว่า 500 สาขา นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งความร่วมมือ คือ การเข้าร่วมเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเปิดให้บริการที่เคาน์เตอร์ ใน เทสโก้ โลตัส อินสโตร์ กว่า 170 สาขาทั่วประเทศ พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัย ที่หลากหลาย ไว้คอยให้บริการ อาทิเช่น ประกันชั้น 1 แบบไม่ต้อง ตรวจสภาพรถ ประกันรถยนต์ 2+ ที่ให้ทุนสูงถึง 500,000 บาทมาพร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินฟรี 24 ชั่วโมง ในราคาสุดคุ้ม 8.ช่องทาง Alternative Channels-e-Commerce และ M-Commerce เป็นช่องทางที่บริษัทได้พัฒนาเพื่อรับรองกระแสของโลก Digital ที่บริษัทวางกลยุทธ์ในการเป็นผู้นำ ที่จะทำให้ประกันเป็นเรื่องง่าย เลือกซื้อได้ทุกที่ (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime) บริษัทเริ่มเปิดขายผ่าน e-Commerce ที่สามารถซื้อและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตได้ทันที ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าจะได้รับความสะดวกในการซื้อมากคือ ประกันเดินทาง Enjoy Travel เพื่อขอ วีซ่าไปยังประเทศต่าง ๆ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันภัยรถยนต์ประเภทต่าง ๆ แม้การประกันภัยประเภทอื่น ๆ ที่ลูกค้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพียงลูกค้ากรอกข้อมูล e-Sales ของบริษัทจะติดต่อกลับไป ขณะเดียวกัน บริษัทได้กำหนดกลยุทธ์ในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางด้าน Digital โดยมุ่งมั่นพัฒนาบริการใหม่ ๆ ด้านการขาย ข้อมูลที่สำคัญและการให้บริการเคลม โดยนำเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ให้บริษัทก้าวล้ำเป็นผู้นำทางด้าน Digital Insurance อย่างครบวงจร เพื่อตอบรับกับกระแส (Trends) และพฤติกรรมของลูกค้าในยุคปัจจุบันและอนาคตด้วยบริการที่ดีต่อไป แผนการบริการสินไหมรถยนต์ จากภาวะการแข่งขันในธุรกิจประกันภัย ทำให้หลายบริษัทหันมาให้ความสนใจในการนำ technology บน smartphone มาช่วยให้ลูกค้าสะดวกสบายในการใช้บริการยิ่งขึ้น เมืองไทยประกันภัยเป็นหนึ่งในบริษัทประกันภัยที่มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วนำหน้าคู่แข่ง เราได้ทำการวิจัยความต้องการของลูกค้าอย่างจริงจัง จึงได้ออกแบบการให้บริการที่ตอบโจทย์อย่างครบถ้วน เพียงมี Smartphone หรือ Tablet สามารถได้กดปุ่มเพื่อขอรับบริการที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เมืองไทยประกันภัยพัฒนา application บนมือถือ ระบบการตรวจสภาพรถก่อนทำประกัน (Car Inspection)ที่ช่วยให้ลูกค้าและคู่ค้าทำงานได้เร็วขึ้น และ การแจ้งสถานที่เกิดอุบัติเหตุด้วย smartphone (Muangthai I Lert U) สำหรับลูกค้าแจ้งสถานที่เกิดเหตุโดยเพียงกดปุ่นใน application ระบบจะส่งพิกัดสถานที่เกิดเหตุมาที่บริษัททันที ช่วยให้ลูกค้าที่ไม่รู้จักสถานที่สบายใจ ไม่กังวล ลูกค้าทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นี้เมืองไทยประกันภัยออกผลิตภัณฑ์ เข้าใจและเข้าถึง ไลฟ์สไตล์ ของคนในปัจจุบัน ที่ใส่ใจดูแลในทุกๆเรื่อง ต้องครอบคลุม และคุ้มค่า มีความทันสมัย อินเทรน ด้วยผลิตภัณฑ์ ที่รวมเป็น Collection มีทั้งประกันภัย บ้าน,รถยนต์,และจักรยาน ในชื่อว่า “เมืองไทยดี ยกกำลัง 8” โดยเอาใจคนทันสมัยต้อนรับปี 2558 ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าอินเทรน เริ่มจากแผนประกันภัยรถยนต์ “เมืองไทย ขับดียกกำลัง 8” แผนประกันภัยบ้าน “เมืองไทย อยู่ดียกกำลัง 18 ” และแผนประกันภัยจักรยาน “เมืองไทย ปั่นดียกกำลัง 8” ทำให้ชีวิตมีแต่เรื่อง ดี๊ ดี เมื่อมี “เมืองไทยดี ยกกำลัง 8” โดยแนวโน้มการทำการตลาดในปีนี้ จะมุ่งเน้นการออกผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้สนใจทำประกันภัยในแต่ละกลุ่ม พร้อมยังคงมอบสิทธิพิเศษและบริการเสริม ภายใต้ “เมืองไทยดี ยกกำลัง 8” ที่ให้ความคุ้มครองสูงกว่าใคร และดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ประกันภัยดังกล่าว เริ่มจากประกันภัยรถยนต์ “เมืองไทย ขับดียกกำลัง 8” เป็นแผนประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองมากถึง 8 อย่าง อาทิ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างนำรถเข้าซ่อม 2,000 บาท ต่อครั้ง สูงสุด 3 ครั้ง ต่อปี พร้อมด้วยบริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ฟรี! ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สุดคุ้ม...กับเบี้ยประกันภัยเพียง 8,888 บาท ในส่วนประกันบ้าน “เมืองไทย อยู่ดียกกำลัง 18” ให้ความคุ้มครองถึง 18 อย่าง อาทิ ค่าใช้จ่ายสำหรับที่พักอาศัยชั่วคราว 1,000 บาทต่อวัน, ความรับผิดต่อความเสียหายของบุคคลภายนอกจากอุบัติเหตุ, การโจรกรรม การลักทรัพย์ และการปล้นทรัพย์ เริ่มที่ทุนประกันภัย 5 แสน – 10 ล้านบาท เบี้ยประกันภัย 1,600 – 18,200 บาท สำหรับประกันภัยจักรยาน “เมืองไทย ปั่นดียกกำลัง 8” ให้คุ้มครอง อาทิ เงินชดเชยรายวัน กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน เนื่องจากอุบัติเหตุ 500 บาท ต่อวัน สูงสุด 30 วัน ต่ออุบัติเหตุ1 ครั้ง ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในขณะปั่นจักรยานสูงถึง 300,000 บาท กล่าวคือ คุ้มครองจากกรณีอุบัติเหตุทั่วไป 100,000 บาท และขณะขณะขับขี่จักรยาน 200,000 บาท ในส่วนความเสียหายสิ้นเชิงของรถจักรยาน เนื่องจากอุบัติเหตุมี 3 แผนประกันภัยให้เลือก คือ 15,000 บาท, 25,000 บาท, 35,000 บาท และเหนือกว่าด้วยบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ด้วยเบี้ยประกันภัยเพียง 1,388 บาท, 1,588 บาท, 1,788 บาทตามลำดับ สำหรับรายละเอียดผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สามารถแจ้งขอรับบริการได้ที่ “เมืองไทยประกันภัย Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 1484” ส่วนในด้านของการบริหารความเสี่ยงและการจัดการด้านประกันภัยต่อ ปี 2558 การบริหารความเสี่ยง Risk Management บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) เพื่อวางกรอบในการจัดทำงบประมาณและการจัดโครงสร้างการทำสัญญาประกันภัยต่ออย่างเหมาะสม ในปี 2557 ที่ผ่านมาหน่วยงานธุรกิจและหน่วยงานสนับสนุน ของ บริษัทฯ มีการการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมด้วย ตนเอง (Risk and Control Self-Assessment: RCSA) รวมทั้งเริ่มมีการรวบรวมข้อมูลความสูญเสียด้านต่างๆในด้านปฏิบัติการ (Loss Event Data) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้พนักงานทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติการรวมทั้งและเข้าใจถึงบทบาทของตนในฐานะที่เป็นเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ในส่วนของการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ( Business Continuity Management : BCM) บริษัทฯได้มีการทบทวนแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ของหน่วยงานสำคัญพร้อมทั้งมีการทดสอบการปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติงานสำรองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินของบริษัทซึ่งในปี 2558 จะมีการทดสอบในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้มีความมั่นใจอย่างเต็มที่ บริษัทฯมีความมุ่งหวังที่จะให้การบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านต่างๆเป็นกลไกที่ฝังอยู่ในกระบวนการทำงานที่พนักงานทุกระดับเห็นความสำคัญและเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ การจัดการด้านประกันภัยต่อปี 2558 นอกเหนือจากที่บริษัทฯมีการทดสอบภาวะวิกฤติประกอบการบริหารจัดการโครงสร้างงานด้านประกันภัยแล้ว บริษัทฯยังให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลการทำประกันภัยโดยผู้เชี่ยวชาญจากพันธมิตรนายหน้าประกันภัยต่อ เพื่อประเมินความเหมาะสมในการจัดทำโครงสร้างสัญญาประกันภัยต่อในปี 2558 ซึ่งบริษัทฯได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และได้จัดทำสัญญาประกันภัยต่อสำหรับปี 2558 ที่เหมาะสมในการรองรับการขยายธุรกิจทั้งในส่วนประกันภัยรถยนต์และประกันภัยทั่วไป รวมทั้งกรณีที่อาจเกิดภาวะวิกฤตจากเหตุการณ์ต่างๆนอกจากนี้บริษัทฯยังมีกรอบนโยบายในการบริหารจัดการด้านประกันภัยต่อที่รัดกุมในการคัดเลือกพันธมิตรด้านประกันภัยต่อและการกระจายความเสี่ยงเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯสามารถขยายธุรกิจได้อย่างมีคุณภาพและมีความมั่นคง ทั้งนี้ “ผลการดำเนินงานที่ดีของปี 2557 เป็นผลมาจากความพยายามในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะกลยุทธ์การจัดการผลิตภัณฑ์และช่องทางขาย การประกันภัยต่อ การบริหารค่าใช้จ่าย การพัฒนาทักษะของบุคลากร การปรับกระบวนการทำงานตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้ามาช่วยในการทำงาน ทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ มีผลประกอบการที่ดี และการเติบโตของธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง” ส่วนประชาสัมพันธ์ / ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-665-4000 ต่อ 4261

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ