ทบวงมหาวิทยาลัยประชุม "รูปแบบวิธีการได้มาซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เหมาะสม"

ข่าวทั่วไป Monday November 17, 1997 16:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--17 พ.ย.--จุฬาฯ
เมื่อวันพุธที่ 22 ตุลาคม 2540 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารจามจุรี สำนักงานมหาวิทยาลัย รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานในการเปิดประชุม "รูปแบบวิธีการได้มาซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เหมาะสม" โดยมีนายกสภามหาวิทยาลัย อธิบดีจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งจากของรัฐและสถาบันในกำกับเข้าร่วมประชุมเพื่อให้จ้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวของ อ.ก.ม.วิสามัญเฉพาะกิจฯ ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมี รศ.ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นประธานสรุปได้ว่า อ.ก.ม.วิสามัญเพาะกิจฯ ได้ศึกษารูปแบบการได้มาซึ่งอธิการบดี คณบดี และรองคณบดี ในปัจจุบันมี 3 แบบ คือ การเลือกตั้ง การสรรหา และการกลั่นกรอง แต่เห็นว่าการเลือกตั้งไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการเลือกสรรผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุน ส่วนการสรรหาและการกลั่นกรองนั้น ข้อสำคัญที่ควรคำนึงคือ คณะกรรมการสรรหาจะองได้คนที่เป็นกลาง ต้องเป็นตัวแทนของประชากรของส่วนต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจให้ศิษย์เก่าเข้าร่วมด้วย ส่วนนักศึษาปัจจุบันน่าจะได้เข้าร่วมเป็นผู้ให้ข้อมูลและร่วมสังเกตการณ์ให้เกิดความโปร่งใส แต่ไม่ควรให้มีส่วนร่วมในการตัดสิน วิธีการได้มาซึ่งกรรมการสรรหามีหลากหลาย ได้แก่ จากการแต่งั้ง โดยสภาหมหาวิทยาลัยบางสถาบันตัวแทนบางกลุ่มประชากรได้มาจากการเลือกตั้งเป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าการสรรหาซึ่งเป็นการเสนอชื่ผู้บริหารเพียง 1 ชื่อให้สภามหาวิทยาลัยลงมติรับหรือไม่รับนั้น น่าจะดีกว่าการกลั่นกรองซึ่งเสนอ 3-4 ชื่อให้สภามหาวิทยาลัยเลือก เพราะอาจจะมีการวิ่งเต้นกับกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ที่อาจจะรู้จักบุคคลเหล่านั้นไม่ดีพอ ทางออกอีกประการที่บางมหาวิทยาลัยใช้คือ การให้ผู้ผ่านการกลั่นกรองทุกคนเสนอและตอบข้อซักถามแนวนโยบายต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัย ส่วนการเปิดโอกาสให้คนนอกเข้าเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยนั้น มีข้อดีต่อสถาบันใหม่และสถาบันเล็ก อย่างไรก็ตามพบว่า ทุกมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องสร้างระบบการพัฒนาผู้บริหารทุกระดับ เพราะมหาวิทยาลัยจำเป็นต้อสร้างระบบการพัฒนาผู้ริหารทุกระดับ เพราะมหาวิทยาลัยของรัฐไมาอาจพึ่งพานักริหารมืออาชีพจากภายนอกได้ ด้วยของจำกัดของการเป็นระบบราชการ อัตราค่าจ้าง ตลอดจนความต้องการบุคคลที่เป็นนักบริหารอุดมศึกษาและความเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ ในกรณีของคณบดีและหัวหน้าภาควิชา
สุดท้ายที่ประชุมได้มอบหมายให้ อ.ก.ม.วิสามัญเพาะกิจสรุปผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวนี้ เพื่อมอบให้ทุกมหาวิทยาลัยนำไปปรับใชเห้เหมาะสมกับสถาบัน ซึ่งมีความหลากหลายในด้านที่มาขนาด ระยะเวลา และวัฒนธรรม องค์กร ตลอดจนข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยได้เคยปรารภร่วมกันถึงปัยหาวิธีการได้มา ซึ่งผู้บริหารว่ามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารมหาวิทยาลัยในการสัมมนาแนวทางการประสานนโยบายระหว่างทบวงมหาวิทยาลัยและมหาวิทาย/สถาบันของรัฐ เมื่อ 26-27 เมษายน 2540 ที่ผ่านมา อันเป็นที่มาของการตั้ง อ.ม.ก.วิสามัญเฉพาะกิจศึกษาเรื่องดังกล่าวนี้--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ