แผนงาน”กลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง” จากประเทศไทย ชนะรางวัล Sanofi-Rainbow Across Borders สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ข่าวทั่วไป Wednesday October 21, 2015 14:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--ซาโนฟี่ ผลงานที่โดดเด่นมีตั้งแต่แผนงานบริหารจัดการโรคเรื้อรังด้วยตนเอง, การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตามอาการ, ค่ายให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ไปจนถึงการฝึกอบรมสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้ป่วยโรคหายาก - เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม Partners in Patient Health Asia Pacific Forum 2015 ซึ่งจัดที่ประเทศสิงคโปร์ ได้มีการเปิดเผยผลการประกวดรางวัล Sanofi-Rainbow Across Borders สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นรางวัลแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มอบให้แก่แผนงานของชมรมผู้ป่วยและกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนผู้ป่วย (patient advocates and groups – PAG) จำนวน 10 แผนงานเพื่อเชิดชูบทบาทของชมรมและกลุ่มดังกล่าวในการเสริมสร้างให้ผู้ป่วยมีอำนาจเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้นและเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จอันดียิ่งขึ้น การประกวดผลงานครั้งนี้มีซาโนฟี่และองค์การ Rainbow Across Borders ซึ่งเป็นพันธมิตรเพื่อผู้ป่วยองค์กรแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำ การประกวดประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง มีผู้ส่งผลงานเข้าแข่งขัน 58 แผนงานจาก 12 ประเทศ ประกอบด้วยแผนงานที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่แผนงานที่มุ่งส่งเสริมผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไปจนถึงการสนับสนุนผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งด้วยแนวทางชีวันตารักษ์ (การดูแลแบบประคับประคอง) "เสียงตอบรับอย่างท้วมท้นจากกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประกวดตอกย้ำให้เห็นความกระตือรือร้นที่ชมรมผู้ป่วยและกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนผู้ป่วยต้องการจะเรียนรู้จากกลุ่มอื่น ๆ ผ่านการแลกเปลี่ยนวิธีดำเนินงานที่ดี ซึ่งก็เป็นวัตถุประสงค์หลักของรางวัลนี้ด้วยเช่นกัน" ดร. ฌอง-ลุค โลวินสกี รองประธานอาวุโสของซาโนฟี่ เอเชีย กล่าว ทุกแผนงานที่ได้รับรางวัลผ่านการพิจารณาด้านการออกแบบแผนงานและเนื้อหา รวมทั้งผลกระทบที่เกิดต่อผู้ป่วยและผลลัพธ์ที่ผู้ป่วยได้รับ หลังจากการประเมินแผนงานสองรอบโดยกลุ่มบุคลากรในสาขางานเดียวกันให้คะแนนและคณะกรรมการอิสระคัดเลือกอีกครั้งหนึ่งจึงได้ผู้ชนะ 10 แผนงานจากแปดประเทศ ผลงานที่ควรค่าต่อการเป็นแบบอย่างให้ชมรมและกลุ่มอื่น ๆ ได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. "แผนงานจัดการโรคเรื้อรังด้วยตนเอง" (Chronic Disease Self-Management Program) โดยสมาคมการจัดการโรคเรื้อรังด้วยตนเอง (Japan Chronic Disease Self-Management Association) ประเทศญี่ปุ่น "แผนงานส่งเสริมและดูแลผู้พิชิตโรคมะเร็งตามอาการ" (Cancer Survivors' Supportive Care and Empower Program) โดยมูลนิธิโรคมะเร็งแห่งฟอร์โมซา (Formosa Cancer Foundation) ประเทศไต้หวัน"เครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง" (Community Network in Palliative Care) โดยบ้านเรเชล (Rachel House) ประเทศอินโดนีเซีย"แผนงานให้การศึกษาโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวช" (FamilyLink Education Program for Carers of Psychiatric Patients) โดยสมาคมผู้สนับสนุนสุขภาพจิตโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมแห่งฮ่องกง (Hong Kong FamilyLink Mental Health Advocacy Association) ประเทศฮ่องกง"บ้านพักพิงสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง" (Shelter Home for Cancer Patients) โดยศูนย์สนับสนุนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็ง(Cancer Information and Support Center) ประเทศอินโดนีเซีย"แผนงานส่งผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังบำบัดกลับสู่สังคมไปช่วยสังคม" (Cancer Rehabilitant's Back to Society, Help the society)โดยสมาพันธ์บำบัดรักษาโรคแห่งฮ่องกง (Hong Kong Health Care Alliance) ประเทศฮ่องกง"ความฝันของเด็ก ๆ" (Children's Dreams) โดยกลุ่ม Healthy children, Happy children ประเทศเวียดนาม"ค่ายฤดูร้อนประจำปีสำหรับเด็กโรคเบาหวาน" (Annual Summer Diabetes Camp) โดยมูลนิธิค่ายสายรุ้ง (Rainbow Camp Foundation) ประเทศฟิลิปปินส์"โรคหายาก + ผู้นำ" (Rare + Leader) โดยองค์กรโรคหายากแห่งประเทศจีน (Chinese Organization for Rare Disorders)ประเทศจีน"กลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง" (Pediatric Cancer Support Group) โดยมูลนิธิสายธารแห่งความหวัง (Wishing Well Foundation) ประเทศไทยผู้ชนะแต่ละรายจะได้รับการอุปถัมภ์จากซาโนฟี่ เป็นมูลค่าสูงสุดห้าพันดอลลาร์สิงคโปร์ สำหรับใช้จัดฝึกอบรมและจัดงานสร้างศักยภาพเพื่อสร้างเสริมทักษะการดึงผู้ป่วยเข้ามีส่วนร่วมให้แก่ PAG ในอนาคต "บรรดาผลงานที่ส่งเข้าประกวดเป็นเสมือนการยกย่องผลงานที่เป็นรูปธรรมของชมรมและกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนผู้ป่วยที่มีความมุ่งมั่นมากมายหลายกลุ่มทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้นำและสมาชิกชมรมผู้ป่วยจะได้รับแรงบันดาลใจและเก็บเกี่ยวแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งจะมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการออกแบบแผนงานในอนาคตขององค์กรเหล่านั้น" นายราชคันธ์ รามาน กรรมการบริหารขององค์กร Rainbow Across Bordersกล่าว ชมรมผู้ป่วยกำลังมีบทบาทสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในการช่วยเหลือและสร้างอำนาจให้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้สามารถควบคุมภาวะของตนเองและจัดการสุขภาพของตนได้ดีขึ้น กิจกรรมของชมรมผู้ป่วยแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและโรคที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ,แผนงานให้การสนับสนุนระหว่างกลุ่มผู้มีภาวะเดียวกันและการให้คำปรึกษาในโรงพยาบาล ไปจนถึงการรณรงค์ให้มีนโยบายที่กำหนดให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลต้องคำนึงถึงทัศนะของผู้ป่วยด้วยเมื่อจะดำเนินการเรื่องใด ๆ RAB ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีวัตถุประสงค์จะส่งเสริมความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรที่ทำงานสนับสนุนผู้ป่วย รางวัลนี้เป็นการนำพันธสัญญาของซาโนฟี่ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยมาผสานเข้ากับความเชี่ยวชาญขององค์กร Rainbow Across Borders ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยที่ต้องเผชิญอุปสรรคเนื่องจากโรคเรื้อรังหรือโรคที่เป็นภัยคุกคามชีวิตให้ดีขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ