ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผย 5 แนวโน้มหลัก กำหนดทิศทางระบบไอทีและธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ปี 2016

ข่าวเทคโนโลยี Friday January 8, 2016 09:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--คอร์ แอนด์ พีค ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ชี้เทรนด์ดิจิตอลมาแรง กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศและธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกในปี 2016 ดันธุรกิจก้าวสู่การปรับตัวครั้งใหญ่ ตามด้วยเมืองอัจฉริยะ ระบบไอทีแบบ Cross-modal, Multi-Cloud และ กระแสการจ้างงานไอทียุคใหม่ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น (HDS) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เผย คาดการณ์ 5 แนวโน้มธุรกิจและไอทีของภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคในปี 2016 โดย มร. เอเดรียน เดอ ลูกา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชีย แปซิฟิก ว่าองค์กรต่างๆ จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สู่ระบบดิจิตอลในปีหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรับรูปแบบการทำงานต่างๆ ทั้งฝ่ายที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในองค์กร มร. เอเดรียน เดอ ลูกา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิตอลกำลังจะกลายเป็นประเด็นสำคัญขององค์กรอย่างรวดเร็ว โดยผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ หรือ ซีไอโอ จะไม่ได้เป็นผู้นำหลักในการเปลี่ยน แต่ผู้บริหารในทุกภาคส่วนต่างๆในองค์กรจะเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารฝ่ายการตลาด หรือ ซีเอ็มโอ จะพบว่ากลยุทธ์การตลาดแบบเดิมๆจะไม่ได้ผลอีกต่อไป ในขณะที่ผู้บริหารฝ่ายการเงิน หรือ ซีเอฟโอ จะพบว่ารูปแบบการทำธุรกรรมของลูกค้าและผู้จัดจำหน่ายได้เปลี่ยนไป ทุกภาคส่วนต้องปรับมุมมองใหม่ด้วยการใช้ระบบดิจิตอลมาช่วยในการทำงาน โดย 5 แนวโน้มหลักที่จะกำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศและธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกในปี 2016 มีดังนี้ 1: องค์กรที่ไม่เคยปรับตัวจะก้าวสู่ระบบดิจิตอล จากผลสำรวจของ Gartner CIO Agenda Insights report ปี 2015 รายงานว่า ในปีที่ผ่านมา ซีไอโอคาดหวังว่ารายได้ของธุรกิจจากช่องทางดิจิตอลเพียงร้อยละ 16 แต่ในปีนี้ตัวเลขดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเกิน 2 เท่าไปเป็นร้อยละ 37 จึงเป็นการตอกย้ำว่าการใช้ระบบดิจิตอลจะไม่ได้ถูกผลักดันจากฝ่ายสารสนเทศอีกต่อไป หากแต่ผู้นำของทุกภาคส่วนได้ริเริ่มสร้างแพลตฟอร์มและหันมาใช้ระบบดิจิตอล เพื่อการใช้งานของฝ่ายด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าฝ่ายซีเอ็มโอจะไม่ไปหาแผนกสารสนเทศเพื่อสร้างระบบอีกต่อไป แต่จะไปหาผู้ให้บริการที่ให้บริการในรูปแบบ as a service ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในภาพรวมของธุรกิจ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในเชิงรุก มากกว่าที่จะรอให้บริษัทผู้ค้าหรือคู่แข่งสร้างแพลตฟอร์มใหม่ขึ้นมา 2: บริษัทอัจฉริยะจะช่วยสร้างเมืองอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะเป็นประเด็นที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสนใจมานานแล้ว โดยมีหลายประเทศเริ่มโครงการมากมายเพื่อตอบโจทย์ด้านต่างๆ ตั้งแต่ความปลอดภัยสาธารณะจนถึงการเพิ่มศักยภาพระบบขนส่ง อย่างไรก็ดี ยังมีรัฐบาลของเพียงไม่กี่ประเทศที่มีประสบการณ์หรือช่องทางระดมทุนในการสร้างและดำเนินโครงการต่างๆ ได้ด้วยตนเอง หากแต่ต้องร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ได้ลงทุนในระบบ Internet of Things (IoT) และนำทรัพย์สินทางปัญญาของตนพร้อมกับพันธมิตรในกลุ่มเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาโซลูชั่นที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เป็นรูปธรรมได้ร่วมกัน นั่นย่อมหมายความว่าบริษัทอัจฉริยะต่างๆจะเป็นตัวกระตุ้นให้เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นได้จริง ในขณะที่รัฐบาลในประเทศต่างๆได้เปิดโอกาสสำหรับโครงการใหม่ๆ อาทิ Digital India, Smart Nation Singapore และ Digital China ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับบริษัทในธุรกิจอุตสาหกรรมนี้จะมีมาก โดยมูลค่าการลงทุนเฉพาะด้านเทคโนโลยีในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าหรือเท่ากับ 11.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 ตามที่บริษัทวิจัย Navigant Research ได้คาดการณ์ไว้ 3: ระบบสารสนเทศแบบ Cross-modal จะรวมธุรกิจเป็นหนึ่งเดียว เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์กรฝ่ายสารสนเทศมี 2 รูปแบบในการตอบสนองความต้องการขององค์กรดิจิตอล ได้แก่ รูปแบบที่ 1 – แอพพลิเคชั่นที่รองรับระบบการบันทึกแบบเดิมๆ อาทิ ระบบ CRM และอีคอมเมิร์ซ ซึ่งระบบเหล่านี้ถูกสร้างภายใต้การคาดคะเนได้ ความแม่นยำ และการพร้อมใช้งาน เพื่อรองรับข้อมูลที่มีความสำคัญกับองค์กร รูปแบบที่ 2 – ระบบสำหรับข้อมูลเชิงลึกที่ต้องอาศัยการทำงานเชิงลึก อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูล big data เพื่อนำเสนอมุมมองความเป็นไปของธุรกิจในเชิงลึกให้ผู้ใช้สามารถทดสอบสมมติฐานบางประเภทได้โดยการจัดเรียงชั้นของชุดข้อมูล ระบบเหล่านี้ต้องอาศัยความคล่องตัวและความเร็วเพื่อให้องค์กรสามารถทดลองความคิดใหม่ๆ ให้ธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและประหยัด พร้อมกับกำจัดสิ่งที่ไม่เกิดผล และพร้อมทดสอบสิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา ความจำเป็นในการรวมทั้ง 2 รูปแบบเข้าด้วยกันเพื่อสร้างระบบ cross-modal จะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความคุ้มค่าสูงสุดในการดำเนินงาน และประสานระบบสำหรับการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ และการตอบสนองของลูกค้า โดยองค์กรที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ได้แก่ องค์กรที่สามารถเลือกใช้กระบวนการที่มีความคล่องตัวในการทำงาน และพร้อมนำเสนอ application programming interfaces?(API) ซึ่งเป็นช่องทางตัวกลางการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ ทำให้เกิดความรวดเร็วสำหรับการบริการด้านธุรกิจ และองค์กรที่สามารถสร้าง data lake สำหรับสินทรัพย์ดิจิตอล และสร้างมาตรฐานให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนจะอยู่รอดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน 4: ระบบ Multi-Cloud ช่วยต่อยอดธุรกิจระหว่างภูมิภาค การเกิดขึ้นของความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Trans-Pacific Partnership (TPP) จะสร้างประโยชน์อย่างมากให้กับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกด้านเงื่อนไขการค้า และเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงการค้าดังกล่าว การลงทุนด้านโครงสร้างเทคโนโลยีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาคเศรษฐกิจนี้ หลายองค์กรได้มีการริเริ่มเพิ่มศักยภาพให้ดาต้า เซ็นเตอร์ โดยการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้งมากขึ้น นอกจากนี้ยังลงทุนด้านการพัฒนาการเชื่อมต่อความเร็วสูงระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างพื้นที่สำคัญระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ก็กำลังมีการดำเนินการไปได้ด้วยดี การเปิดตลาดจะมีผลกระทบต่อการใช้ระบบคลาวด์ และเพิ่มทางเลือกจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยกว่าร้อยละ 70 ขององค์กรได้มีการใช้หรือกำลังพิจารณาระบบ Hybrid Cloud ในปัจจุบัน รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ใน TPP เพื่อคุ้มครองข้อมูลนอกประเทศ และหลีกเลี่ยงภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญในการสร้างระบบ Multi-Cloud ระหว่างภูมิภาคเพื่อการขยายตัวทางธุรกิจต่อไปในอนาคต 5: การขาดแคลนทักษะจะสร้างกระแสการจ้างผู้เชี่ยวชาญ ในปี 2016 จะมีหลายปัจจัยกระทบต่อตลาดการจ้างงานในสายเทคโนโลยี ส่งผลให้หลายองค์กรต้องมองหาหนทางในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศนี้ไม่ได้เกี่ยวกับแค่การสร้างเด็กจบใหม่ที่มีความชำนาญเฉพาะทางอย่างสาขา data science หากต้องรวมถึงการสร้างศักยภาพให้กับพนักงานในองค์กรที่มีอยู่เดิมเพื่อเติมเต็มช่องว่างในระยะยาว มร. เอเดรียน กล่าวเพิ่มเติมว่า "การทำงานของวัยทำงานในกลุ่ม Gen Z แตกต่างจากกลุ่มอื่นก่อนหน้านี้อย่างมาก เพราะพวกเขามีแนวโน้มในการทำงานโดยเฉลี่ย 17 ตำแหน่งงานตลอดช่วงชีวิตการทำงาน ซึ่งพวกเขาจะพัฒนาทักษะต่างๆที่หลากหลาย และในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนั้น องค์กรต้องหาช่องทางใช้ประโยชน์จากจุดนี้ เพราะคนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนช่วยสังคมมากกว่าตัวองค์กร" ภาครัฐจะให้ความสำคัญกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนรุ่นโดยการปรับตลาดแรงงาน นำเสนอแรงจูงใจทางภาษีรูปแบบใหม่ และผ่านกฎหมายที่อำนวยความสะดวกในการลงทุน อาทิ ระบบ crowdsourcing หรือการร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคนเพื่อร่วมกันทำสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านทางออนไลน์ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะเป็นสิ่งที่รัฐบาลมุ่งเน้นเช่นกัน ดังที่ประเทศสิงคโปร์ได้ลงทุนกว่า 0.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนภาคสาธารณะ เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท ฮิตาชิ จำกัด โดยเป็นบริษัทผู้นำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล ที่จะช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และยังสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมุ่งหวังให้เกิดสังคมที่ปลอดภัย, สร้างสุขภาพที่ดี และมีความทันสมัย ผ่านการคิดค้นนวัตกรรมและสร้างมูลค่าที่แท้จริงจากฐานข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Internet of Things ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ, เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์ , การบริหารจัดการเนื้อหา, และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน ด้วยความเชี่ยวชาญของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ที่บูรณาการทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีปฏิบัติการที่ดีที่สุด จากบริษัทในเครือฮิตาชิฯ เพื่อส่งมอบนวัตกรรมข้อมูลเชิงลึกให้กับธุรกิจ และสังคม ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ HDS.com เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลก ด้วยจำนวนพนักงานทั่วโลกประมาณ 326,000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2555 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9,041 พันล้านเยน (96.1 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ บริษัทฮิตาชิให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เน้นด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมมากกว่าเดิม ซึ่งรวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องจักรก่อสร้าง วัสดุและอุปกรณ์ที่ครอบคลุมการทำงานระดับสูง ระบบยานยนต์และอื่นๆ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ