รัฐบาลบราซิลร่วมกับ Ericsson สรรค์สร้างนวัตกรรมเพื่อ Internet of Things

ข่าวเทคโนโลยี Monday June 13, 2016 11:30 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--Ericsson ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการสร้างศูนย์วิจัย Networked Society Lab ในประเทศบราซิล ศูนย์วิจัย Networked Society Lab จะมุ่งเน้นในการสร้างโซลูชั่นและนวัตกรรม ด้านอัจฉริยะทางเกษตร การบริหารจัดการน้ำ โครงการปกป้องผืนป่าเขตร้อน แบบ Connected Rainforest การป้องกันภัยพิบัติและการใช้งานเพื่อการสอดส่องดูแลต่างๆ ความร่วมมือนี้จะมุ่งเน้นไปที่อย่างน้อย 6 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติ กระทรวงการสื่อสารแห่งประเทศบราซิลและEricsson ได้ประกาศความร่วมมือในการผลักดันให้เกิด สังคมเครือข่าย Networked Society อย่างจริงจังในประเทศบราซิล โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะมีการก่อตั้งศูนย์วิจัยสังคมเครือข่าย Networked Society Lab ในประเทศบราซิลเพื่อที่จะทดลองนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการศึกษาผลกระทบในด้านบวกจากโครงการ IoT (Internet of Things) ต่างๆ จะสร้างให้แก่ประเทศ อาทิเช่นระบบจัดการน้ำอัจฉริยะ ระบบจัดการเกษตรกรรม โครงการปกป้องผืนป่าเขตร้อนแบบ หรือ Connected Rainforest การป้องกันภัยพิบัติและการใช้งานเพื่อการสอดส่องดูแลต่างๆ คุณอันเดร ฟิเกรโด้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารกล่าวว่า "เทคโนโลยี Internet of Things กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะหล่อรวมโลกของเราและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ความร่วมมือกันใน Networked Society Lab ของ Ericsson จะทำให้เราสามารถเข้าใจและมีความรู้เท่าทันโลกว่า ประเทศบราซิลและประชาชนของเราจะต้องปรับปรุงด้านการเกษตร การผลักดันสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City การจัดการพลังงาน การผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และด้านอื่นๆ อย่างยั่งยืนในบราซิลได้อย่างไร" คุณเม็กซิมิลิญาโน มาร์ตินเญา เลขาธิการด้านโทรคมนาคมกล่าวว่า "ความร่วมมือกับทางสหภาพยุโรปและบริษัทยุโรปนั้นเป็นส่วนสำคัญต่อแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา IoT และ 5G ของบราซิล และเมื่อเร็วๆ นี้ทางเราได้แถลงการณ์ร่วมกับทางกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอลเกี่ยวกับความร่วมมือและตอนนี้เราก็เห็นได้แล้วถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนี้" โดยศูนย์วิจัย Networked Society Lab ในประเทศบราซิลนี้ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 เมษายน 2016ที่ผ่านมา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารได้เข้าร่วมงานด้วย โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการ Ericsson Innovation Center ที่สร้างความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย ลูกค้า ซัพพลายเออร์และองค์กรเพื่อการพัฒนาต่างๆ เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศ IoT ในบราซิลและประเทศกลุ่มละตินอเมริกา เมื่อเร็วๆ นี้ทาง Ericsson ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม Crowdworking เพื่อการทำงานร่วมกันกับองค์กรต่างๆ อย่าง Telefónica Open Future และ Inatel (National Telecommunications Institution). นอกจากนี้สถาบันศึกษาต่างๆ อย่าง The University of São Paulo (USP), University of Campinas (UNICAMP), Pontifical Catholic University of Rio de Janeiro (PUC-Rio), the Federal University of Pará (UFPA), Federal University of Pernambuco (UFPE) และ Federal University of Ceará (UFC) ทำงานวิจัยประยุกต์ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Ericsson ในระบบนี้ด้วย ศูนย์วิจัย Ericsson Innovation Center สาขาละตินอเมริกามีการจ้างงานถึง 460 คน และมีการจดสิทธิบัตรไปถึง 80 สิทธิบัตร (42 ในประเทศบราซิล) ที่เกี่ยวข้องกับรถประจำทางและป้ายรถประจำทางในเขตเมือง Goiânia รวมถึงโซลูชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะในเมือง São Jose dos Campos คุณอุลฟ์ เอวอลด์สัน ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีของ Ericsson กล่าวว่า "Networked Society Lab เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราเพื่อที่จะทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ให้ประสบความสำเร็จ โดยศูนย์วิจัยนี้จะทำให้ประเทศบราซิลเข้าใกล้ยุค 5G มากยิ่งขึ้นด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีเซนเซอร์ใหม่ๆ ที่จะยกระดับการเชื่อมต่อเครือข่ายในหลากหลายรูปแบบการใช้งานเช่นโซลูชั่นที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นในด้านการเกษตรและการป้องกันภัยธรรมชาติ" เช่นเดียวกับ คุณคาร์ล่า เบลิทาร์โด้ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ภูมิภาคละตินอเมริกาของ Ericsson กล่าวว่า "การทำให้ประเทศสามารถสร้างนวัตกรรมได้เป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดโลกที่มีความยั่งยืนยิ่งกว่าและแก้ไขปัญหาของตัวประเทศบราซิลได้ เราจึงได้กำหนดพื้นที่ๆ เราต้องการจะมุ่งเน้นเช่นการปกป้องผืนป่าเขตร้อน การป้องกันและเฝ้าระวังภัยธรรมชาติ ความร่วมมือที่แข็งแกร่งของการลงทุนจากทางภาครัฐและเอกชนจะทำให้เราหาทางออกที่แท้จริงได้แก่สังคมของเรา" โครงการของศูนย์ Networked Society Lab จะตอบสนองเป้าหมายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในด้านต่างๆ เช่น SDG #2 ขจัดปัญหาความหิวโหย SDG #6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล SDG #11 นครและชุมชนที่ยั่งยืน SDG #13 การปฏิบัติงานด้านสภาพภูมิอากาศ และ SDG #17 การสร้างความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธกิจของ Ericsson เพื่อที่จะให้เกิดความสำเร็จในเป้าหมาย SDG ต่างๆ ได้ที่ Ericsson Sustainability and CR Report 2015 บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสันประเทศไทยกล่าวเสริมว่า นวัตกรรม และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้าน Mobility Cloud และ Broadband เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ผลักดันให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและอุตสหกรรมอย่างกว้างขวาง หรือที่เรียกอีกอย่างว่า The Fourth Industrial Revolution เข้าสู่ โลกแห่งสังคมเครือข่าย networked Society ซึ่งไม่ใช่เพียงทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันหรือเข้าถึง Internet ได้สะดวกขึ้น แต่มันได้เชื่อมต่อ โลกของเรา กับ โลกดิจิตอล โดยเราจะเห็นนวัตกรรม Internet of Things หรือ IoT นั้นเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงนี้ และที่สำคัญภาครัฐและเอกชนต่างต้องเริ่มทำความเข้าใจและวางแผนถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ด้วย รายงาน Ericsson Mobility Reportฉบับล่าสุดยังมีการคาดการณ์ด้วยว่าจะมีเครื่องมือเชื่อมต่อถึง 28,000 ล้านเครื่องเมื่อถึงปี 2021 โดยมากกว่าครึ่งจะเชื่อมต่อจาก M2M และ IoT และเครื่องมือ IoT ต่างๆ ต้องใช้แบ๊ตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น (10 ปี) และครอบคลุมพื้นที่ได้ดีกว่าและรวมถึงเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ คุณภาพอากาศและระดับน้ำท่วม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ