ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจทัศนคติอันตรายที่เปลี่ยนไปของสาธารณชน ยอมรับรัฐบาลคอรัปชั่น ถ้าตนเองได้ประโยชน์

ข่าวทั่วไป Thursday August 11, 2016 10:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชนและ ผอ.สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดผลสำรวจเรื่อง สำรวจทัศนคติอันตรายที่เปลี่ยนไปของสาธารณชน ยอมรับรัฐบาลคอรัปชั่น ถ้าตนเองได้ประโยชน์ด้วย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,452 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 - 29 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.0 ไม่ยอมรับ รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แม้จะนำผลประโยชน์มาแบ่งให้ก็ตาม ในขณะที่ร้อยละ 37.0 ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลคอรัปชั่น และนำผลประโยชน์มาแบ่งให้ และเมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจช่วง ก่อน คสช.เข้ามา ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 ยอมรับรัฐบาลทุจรติคอรัปชั่นเพราะเมื่อทุจริตแล้วเอาผลประโยชน์มาแบ่งให้ แต่ในช่วงระหว่างที่ คสช. และรัฐบาลกำลังแก้ปัญหาอยู่นี้ พบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนดีขึ้นคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.0 ไม่ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น ถึงแม้จะนำผลประโยชน์มาแบ่งให้ก็ตาม นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงกับ พฤติกรรมนักการเมือง ในขณะที่ ร้อยละ 18.1 ไม่อยากเห็น เพราะพฤติกรรนักการเมืองแบบเดิมๆ ดีอยู่แล้ว และเมื่อถามความเห็นต่อ การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.3 ระบุ ปฏิรูปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 21.7 ระบุ เลือกตั้งก่อน ผอ.สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ในทางยุทธศาสตร์ถือได้ว่า การเข้ามาทำงานของ คสช. และรัฐบาลปัจจุบันกำลังได้รับผลลัพธ์ระยะยาว (Long-term Outcome) หรือที่เรียกว่า มี อิมแพค (Impact) ต่อสังคมเพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ จากเดิมในอดีตที่เคยค้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่เอาผลประโยชน์มาแบ่งให้ เช่น พวกนักการเมืองที่เอาเงินทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบายมาแจกมาทำประโยชน์ให้ชุมชน ชาวบ้านก็ยอมรับให้ความนิยมศรัทธานักการเมืองเหล่านั้น แต่ปัจจุบัน จากการสำรวจช่วง รัฐบาลและ คสช. กำลังแก้ปัญหาอยู่นี้ พบประชาชนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น ถึงแม้จะเอาผลประโยชน์มาแบ่งให้ก็ตาม แต่คำถามคือ ทัศนคติที่ดีของประชาชนเหล่านี้จะมั่นคงยั่งยืนต่อไปได้อย่างไร

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ