คุณยังจำบรรยากาศอันร้อนระอุที่แผดเผาในช่วงหน้าร้อนกันได้ไหม?

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 15, 2016 11:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ความร้อนที่เมืองไทย ทำให้เหล่าชาวนาต้องหวาดกลัวต่ออนาคตของเขาถึงแม้ฝนอาจจะช่วยชะล้างความทรงจำเหล่านั้นออกไปบ้างแล้ว แต่ในเมื่อคลื่นความร้อนยังคงอยู่ จึงทำให้หลายคนต้องฉุกคิดถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ไม่ว่าอุณหภูมิจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะทำให้แนวโน้มการเกิดภาวะอากาศแปรปรวนมีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนับเป็นภาวะวิกฤตในอนาคต ซึ่งเป็นหัวข้อที่เป็นประเด็นสำคัญในการในการพิจารณากันที่ World Cities Summit ประเทศสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในปัญหาที่ท้าทายที่สุดในโลก ในทางหนึ่ง ยิ่งประชากรในโลกเพิ่มมากขึ้น และมีมาตรฐานในการดำรงชีพที่สูงขึ้น ความต้องการพลังงานก็ยิ่งมีมากขึ้นตามไปด้วย และในอีกทางหนึ่ง นี่หมายถึงความจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหัวใจหลักในการแก้ปัญหานี้ได้ก็คือ เมืองต่างๆ นั่นเอง ประชากรทั่วโลกกำลังเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จาก 7 พันล้านคน สู่หมื่นล้านคนภายในปลายศตวรรษนี้ และด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เราคาดว่าการเติบโตของเมืองต่างๆ ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในโลกยังอาศัยอยู่แค่ในเมือง ภายในปี 2050 สัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 3 ใน 4 โดยครึ่งหนึ่งในนั้นเป็นการเติบโตจากประชากรในทวีปเอเชียเท่านั้น ปัจจุบันเมืองต่างๆ ใช้พลังงานไปมากถึง 2 ใน 3 ของพลังงานรวมทั้งหมดในโลก และภายในปี2014 คาดว่าเมืองเหล่านี้จะใช้พลังงานในโลกไปเกือบ 80% ความต้องการพลังงาน ทำให้เห็นว่าพลังงานจำเป็นสำหรับชีวิตพวกเราทุกคน – ซึ่งกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้จะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการนำพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปริมาณของพลังงานที่โลกเราต้องใช้ภายในปลายศตวรรษนี้ ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกถึง 2 เท่าจากปัจจุบัน แล้วเราจะหยุดการสะสมของก๊าซเรือนกระจก อย่างคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในชั้นบรรยากาศได้อย่างไร? ทีมนักอนาคตศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจำลองสถานการณ์ ได้ทำการออกแบบให้การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นไปได้ในอนาคต ได้ตีพิมพ์ข้อมูลล่าสุดเรื่อง "สู่ชีวิตที่ดีกว่ากับโลกไร้มลพิษ:เส้นทางสู่ภาวะการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์" (A Better Life with a Healthy Planet: Pathways to Net Zero Emissions) จากข้อมูลดังกล่าว เราเล็งเห็นเส้นทางที่แม้จะดูท้าทายแต่ก็มีความเป็นไปได้ ในการทำให้การปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในโลกนี้กลายเป็นศูนย์ ซึ่งหมายถึงการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่มีอยู่นั้นถูกชดเชย กักเก็บ หรือ หรือสะสมไว้ใต้ผิวดิน ซึ่งนี่ไม่ใช่เป้าหมายสำหรับเชลล์เท่านั้น แต่เป็นเป้าหมายที่โลกของเราต้องทำให้บรรลุผลสำเร็จ เมืองต่างๆ และการวางแผนการสำหรับเมืองเหล่านี้ จะเป็นหัวใจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งมีโอกาสมหาศาลที่จะทำให้เราสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผ่านการตั้งเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ได้แก่ การนำความร้อนที่เหลือใช้จากการผลิตพลังงานมาเพิ่มความอบอุ่นในบ้าน สนับสนุนการอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงเพื่อลดการเดินทาง สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนที่มีขนาดเล็ก และ สร้างระบบการขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพสูงพลังงานผสมผสานที่มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ นั้นก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ก๊าซธรรมชาติที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยกว่าปกติถึงครึ่งหนึ่ง และปล่อยมลพิษจากถ่านหินออกมาเพียง 1 ใน 10 เมื่อมีการนำมาเผาไหม้เพื่อใช้เป็นพลังงาน นอกจากนี้สถานีพลังงานก๊าซยังทำงานได้เป็นอย่างดีในด้านการหมุนเวียนพลังงานมาใช้ใหม่ และสามารถให้บริการไฟฟ้าที่ไว้วางใจได้ ยามปราศจากแสงอาทิตย์หรือลม อย่างไรก็ตาม การเพิ่มเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (carbon capture and storage – CCS) ให้กับสถานีพลังงาน และ กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนกลายเป็นศูนย์ได้ แน่นอนว่า การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรูปแบบพลังงานผสมผสาน แต่โดยหลักจะเป็นการผลิตไฟฟ้ามากกว่า ในปัจจุบัน ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่นำมาใช้น้อยกว่า 1 ใน 5 จากการใช้พลังงานทั่วโลก หากต้องการให้พลังงานทดแทนกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยลดการใช้พลังงานนั้น แผนการใช้พลังงานแบบผสมผสานต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50% ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งนี่หมายความว่าผู้คนในโลกจะต้องมีเงินพอจ่ายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไฮโดรเจน ครัวเรือนและธุรกิจต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ความร้อนเหลือใช้จะต้องได้รับความอบอุ่นจา ไฟฟ้าแทน การแปรรูปอาหารและการผลิตไฟก็จะต้องทำด้วยระบบไฟฟ้าเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้เราจะเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้า แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะยังคงแทรกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศต่อไปอีกในอนาคตการผลิตสารเคมีที่ใช้ในสิ่งต่างๆ รอบตัวแต่เรามักมองข้ามไป ก็จะต้องใช้น้ำมันและก๊าซในการผลิตมากขึ้น เมื่อยังจำเป็นที่จะต้องกักเก็บอุณหภูมิที่สูงมากและพลังงานที่หนาแน่นไว้ เช่น ในการผลิตเหล็ก เหล็กกล้าและซีเมนต์ การขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากและการขนส่งทางอากาศ เราจะยังคงได้เห็นการใช้พลังงานไฮโดรคาร์บอนต่อไปอีกเกือบจะแน่นอน แต่ก็ยังมีอีกหลายภูมิภาคในโลกนี้ที่หันมาใช้พลังงานคาร์บอนต่ำในระดับที่ต่างกัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือ ประชากรก็ตามการปล่อยมลพิษที่กำลังเพิ่มขึ้นจะต้องได้รับการยับยั้ง โดยเราสามารถปลูกป่าและใช้กิจกรรมทางการเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณคาร์บอนในดินได้ เช่น การกลบไถมวลชีวภาพที่เผาไหม้เป็นบางส่วนไปในทุ่งนา นอกจากนี้เรายังสามารถเผาไหม้มวลชีวภาพเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานควบคู่ไปกับการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ได้อีกด้วย โดยพืชนั้นสามารถดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศไว้ได้ และการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) จะช่วยทำให้แน่ใจว่าคาร์บอนไดออกไซด์จะไม่กลับไปสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือที่อื่นๆ วิธีแก้ไขปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หากเราทุกคนในโลกร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้
แท็ก ภูมิอากาศ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ