ผลสำรวจ “คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360?ของซิกน่า”

ข่าวทั่วไป Tuesday June 13, 2017 16:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด บมจ.ซิกน่า ประกันภัย บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีพันธกิจในการช่วยพัฒนาสุขภาพ ชีวิต และความเป็นอยู่ของลูกค้าให้ดีขึ้น ได้เผยผลสำรวจ "คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของซิกน่า" ซึ่งเป็นดัชนีรายปีที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของประชากรที่อาศัยอยู่ในแถบเอเชีย-แปซิฟิค สหราชอาณาจักร สเปน รวมถึงประเทศไทย รวม 13 ประเทศ เกี่ยวกับ 'สุขภาพและความเป็นอยู่' ของตนเอง ในห้าด้านหลัก ได้แก่ สุขภาพและความเป็นอยู่ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านครอบครัว ด้านการเงิน และด้านการงาน ซึ่งผลการสำรวจล่าสุดที่ทำการสำรวจคนไทยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา พบว่า คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนไม่มีความมั่นคงทางด้านการเงิน อีกทั้งคนไทยกำลังติด"กับดักอายุ (Age Trap)" โดยไม่รู้ตัว เพราะคนไทยไม่ได้รู้สึกว่าตนเองแก่และยังอยากทำงานหรือทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้รู้สึกกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ แต่ลืมที่จะเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพโดยเฉพาะด้านการเงิน นอกจากนั้นผลสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของซิกน่า ยังเผยให้เห็นว่าสวัสดิการด้านสุขภาพกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกที่ทำงานของคนไทยสมัยนี้อีกด้วย "ผลสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของซิกน่าในปีนี้ทำให้เราทราบว่าคนไทยยังคงมีความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านการเงินของตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้ทำงาน รวมถึงกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันซึ่งอาจส่งผลถึงการเงินและการงานด้วย" นายจูเลียน เมงกัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการ ซิกน่า ประจำประเทศไทยกล่าว "เรายังพบข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่าคนไทยกำลังติดกับดักอายุโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณ โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านการเงิน ซิกน่าจึงได้มุ่งมั่นทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวไทยได้อย่างแท้จริง รวมไปถึงเติมเต็มความต้องการทางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลให้กับลูกค้ากลุ่มซีเนียร์ รวมถึงลูกค้ากลุ่มอื่นๆด้วย" นายจูเลียนกล่าวเสริม ความกังวลด้านการเงินยังคงอยู่ ความพึงพอใจด้านครอบครัวกลับลดลง ถึงแม้ว่าคะแนนผลสำรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ของคนไทยในภาพรวมนั้นจะดีขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว แต่คนไทยกลับยังคงรู้สึกว่าไม่มีความมั่นคงทางการเงินมากที่สุด โดยตัวเลขความพึงพอใจด้านนี้ได้คะแนนรั้งท้ายมาเป็นระยะเวลาสองปีติดต่อกัน ซึ่งความรู้สึกไม่มั่นคงทางการเงินดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ด้านครอบครัวด้วย ซึ่งในภาพรวมแล้ว ผลสำรวจเผยให้เห็นว่าคนไทยรู้สึกไม่มั่นคงทางการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้ทำงาน เพราะมีคนไทยเพียงแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น ที่รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมทางด้านการเงินหากหยุดทำงาน ทั้งนี้คนในช่วงอายุ 30 – 39 ปีมีความพึงพอใจด้านการเงินต่ำที่สุดในกลุ่มตัวอย่าง เพราะมีเพียง 16%เท่านั้นที่พอใจกับสถานะการเงินของตนเอง นอกเหนือไปจากนั้นยังมีเพียงแค่ 25% ที่รู้สึกว่าตัวเองมีเงินพร้อมสำหรับการเกษียณ ผลสำรวจยังได้เผยอีกว่าสถานะทางการเงินมีผลกระทบกับสุขภาพและความเป็นอยู่ด้านครอบครัว โดยคนไทยเกือบครึ่งหนึ่งมองว่าตนเองยังไม่ค่อยพึงพอใจมากนักในเรื่องการดูแลด้านการเงินให้กับบุตร และยังรู้สึกว่าตัวเองใช้เวลากับคนในครอบครัวไม่เพียงพอ นอกจากนั้นมีคนไทยเพียงแค่ 38% เท่านั้นที่รู้สึกพึงพอใจกับการดูแลด้านการเงินให้กับพ่อแม่ของตัวเอง กับดักอายุ ผลสำรวจยังได้เผยให้เห็นว่าคนไทยกำลังติด 'กับดักอายุ' โดยในความรู้สึกของคนไทยรู้สึกว่า "คนแก่" คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่ผลสำรวจของกลุ่มประเทศอื่นๆในบรรดา 13 ประเทศที่ทำการสำรวจพบว่า ผู้ที่จะเป็นคนแก่ คือผู้ที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 74 ปี เรียกได้ว่าสังคมไทยขนานนามเรียก "คนแก่" เร็วกว่าประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตามแม้คนไทยจะมีทัศนคติดังกล่าว แต่กลุ่มคนที่อายุ 60 ปีกลับไม่รู้สึกว่าตัวเองแก่ และยังคงต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย โดยอยากที่จะทำงานหลังจากเกษียณอย่างมีความสุขเพื่อให้ร่างกายและจิตใจกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพราะต้องการค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว เห็นได้จากผลสำรวจที่ 1 ใน 5 ของคนไทยต้องการที่จะทำงานเพื่อสังคมในยามเกษียณและความต้องการดังกล่าวยิ่งชัดเจนมากขึ้นในกลุ่มที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ในขณะที่คนไทยส่วนมากคิดว่าคนที่อายุ 60 ปีคือคนที่แก่แล้ว แต่กลับมีน้อยคนนักที่จะมีการเตรียมความพร้อมกับค่าใช้จ่ายต่างๆที่อาจจะตามมาเมื่อตัวเองแก่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยผลสำรวจเผยว่า 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าตนเองยังไม่มีเงินเพียงพอสำหรับใช้ในยามเกษียณ ดังนั้นการติดกับดักอายุที่คิดว่าตนเองยังไม่แก่และเตรียมความพร้อมในวันที่สายเกินไปอาจกลายเป็นปัญหาด้านการเงินอย่างหนึ่งของคนไทย สวัสดิการด้านสุขภาพกลายเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกที่ทำงาน ผลสำรวจได้แสดงให้เห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยเมื่อถูกถามถึงเรื่องสวัสดิการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน พบว่าสวัสดิการด้านสุขภาพนั้นยังมีช่องว่างอยู่มากเมื่อเปรียบกับสิ่งที่คิดว่าสมควรได้รับจากผู้จ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และการตรวจสุขภาพประจำปี มีคนไทยที่ตอบแบบสอบถามประมาณ 11% ที่ไม่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีภายในช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา และมีเพียงแค่ 32%ที่ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการป่วย โดยคนส่วนมากเลือกที่จะซื้อยาจากร้านขายยาและรักษาอาการป่วยด้วยตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนและดื่มน้ำให้มากขึ้นแทนการไปพบแพทย์ ผลสำรวจได้บ่งชี้อีกว่า สำหรับคนไทย โปรแกรมสวัสดิการด้านสุขภาพกลายเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยใหม่ในการเลือกที่ทำงาน ซึ่งสูงมากถึง 70% และเปอร์เซนต์ดังกล่าวยังสูงขึ้นไปอีกในกลุ่มของวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 30 – 49 ปี ผลสำรวจได้เผยเพิ่มเติมว่าคนไทยส่วนมากมีประกันสุขภาพซึ่งเป็นสวัสดิการจากที่ทำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์แบบกลุ่มหรือแบบรายบุคคล แต่อย่างไรก็ตามคนไทยเกือบครึ่งหนึ่งยังคงต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินด้วยตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นภาระไม่น้อยเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากผลสำรวจดังกล่าว ซิกน่า ประกันภัย จึงได้นำข้อมูลและผลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวไทยได้อย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลให้คนไทยมีสุขภาพ ความเป็นอยู่และความมั่นคงในชีวิตที่ดีขึ้นในทุกช่วงเวลาของชีวิต ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการจากซิกน่า ประกันภัย ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสำรวจ "คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของซิกน่า" ทั้ง 5 ด้านได้ที่https://www.cigna.co.th/news/360well-being

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ