พาณิชย์เดินหน้ายุทธศาสตร์ผลักดันไทยสู่ “ฮับ ออร์แกนิค” หารือจัดตั้งสหพันธ์เกษตรอินทรีย์อาเซียน

ข่าวทั่วไป Thursday August 3, 2017 11:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ กระทรวงพาณิชย์สานความร่วมมือทุกประเทศอาเซียน จัดตั้งสหพันธ์เกษตรอินทรีย์ อาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้ผลิตและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ พร้อมแสดงศักยภาพและความพร้อมของไทยที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ของภูมิภาค นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า " หนึ่งในนโยบายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และภาคการเกษตรไทยก็คือ การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่มีความทันสมัย ใช้การผลิตและ การตลาดสมัยใหม่ ร่วมกับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว ช่วยเหลือเกษตรกรให้แข่งขันได้ใน ตลาดโลก ผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยเกษตรอินทรีย์ จึงเป็นการช่วยยกระดับรายได้ภาคเกษตร และสร้างความเข้มแข็ง สู่เกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน" "เกษตรกรมีความเข้มแข็งและผู้ประกอบการมีความสามารถในการแข่งขันจะช่วยยกระดับรายได้ของประเทศให้ สูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์จึงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2551 โดยเล็ง เห็นโอกาสในตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ในปัจจุบันมีมูลค่าการค้าปีละไม่ ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท และมีอัตราเติบโตประมาณร้อยละ 20 ต่อปี" ผลสำรวจของสถาบันวิจัยเกษตรกรรมอินทรีย์ (The Research Institute of Organic Agriculture หรือ FiBL) และ สหพันธ์ เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements หรือ IFOAM) ระบุว่าในปี 2558 ใน 179 ประเทศทั่วโลก พบว่ากลุ่มประเทศอาเซียนเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ น่าสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก โดยจากข้อมูลการสำรวจ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ในกลุ่มอาเซียนมีประมาณ 3.18 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของพื้นที่เกษตรอินทรีย์โลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 พื้นที่เกษตรอินทรีย์ขยายตัวเป็น 3 เท่า และ เมื่อพิจารณาสัดส่วนพื้นที่เกษตร อินทรีย์ในกลุ่มอาเซียน พบว่าไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากเป็นอันดับ 4 รองจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ เวียดนาม โดยไทยมีสัดส่วนของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ร้อยละ 8.9 ของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของอาเซียนทั้งหมด ส่วนฟิลิปปินส์มีสัดส่วนร้อยละ 46 อินโดนีเซียมีสัดส่วนร้อยละ 25.5 และเวียดนามร้อยละ 15 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2559 ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ประมาณ 4,000 ล้านบาท เป็นการส่งออกประมาณ 2,400 ล้านบาท หรือ 60% คาดว่าในปี 2560 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์สามารถเติบโตได้ 10% สินค้าสำคัญได้แก่ ข้าว พืชผัก ผลไม้ เป็นต้น และในช่วงปี 2558 – 2563 คาดว่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศ จะขยายตัวต่อเนื่องที่ประมาณร้อยละ 7 จากความสำคัญและแนวโน้มดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการผนึกกำลังเครือข่ายให้แก่ผู้ผลิตและผู้ค้าเกษตรอินทรีย์ใน อาเซียน จึงได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชน เพื่อจัดตั้ง "สหพันธ์เกษตรอินทรีย์ อาเซียน" โดยมีสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย (The Thai Organic Trade Association: TOTA) เป็นแกนนำทำงานร่วมกับสมาคมอื่นๆ เพื่อขับ เคลื่อนการทำงานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์อาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ส่งเสริมการค้าขายเกษตรอินทรีย์ระหว่างกันในเครือข่ายสมาชิก ทั้งในการสร้างช่องทางและขยายตลาดสินค้า เกษตรอินทรีย์และการหาวัตถุดิบ โดยมุ่งให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการผลิตและการขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ 2) ผลักดันความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น การปรับปรุงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน การยอมรับระบบตรวจ รับรองเกษตรอินทรีย์ของประเทศสมาชิก การจัดงานแสดงสินค้า การประชุมระดับนานาชาติ การจัดให้มีฟอรั่ม ในการรวมตัวเจรจาในประเด็นต่างๆ กับประเทศนอกภูมิภาค 3) สร้างความรู้ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ทั้งในส่วนของเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคระหว่างประเทศสมาชิก 4) สนับสนุนและเป็นภาคีร่วมโครงการสำคัญต่างๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการ Opportunities on Organic Farms for CLMVT (OOF) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และฝึกปฏิบัติจริงระหว่างเกษตรกร CLMVT/ โครงการประกวด Thailand Organic Innovation Award (TOIA) ซึ่งเป็นการประกวดการบริหาร จัดการเกษตรอินทรีย์ด้วยนวัตกรรมและจะขยายผลสู่ประกวดระดับ ASEAN ในอนาคต เป็นต้น ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อว่า "กระทรวงพาณิชย์จึงได้ถือโอกาสใช้งาน Organic & Natural Expo 2017 ซึ่ง เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าบริการออร์แกนิคและธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของไทยและภูมิภาคอาเซียน จัดเวที ให้สมาคมธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในอาเซียนมาร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้ง สหพันธ์เกษตรอินทรีย์อาเซียน โดยมีฑูตพาณิชย์อาเซียนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อช่วยผลักดันการจัดตั้ง สหพันธ์ฯ และประชาสัมพันธ์ให้สมาคมเกษตรอินทรีย์ในแต่ละประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิก" "การจัดตั้งสหพันธ์เกษตรอินทรีย์อาเซียนจะเป็นการเปิดเวทีในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน การผลิต มาตรฐานสินค้า และการตลาดเกษตรอินทรีย์ ระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการของแต่ละประเทศในกลุ่ม อาเซียนในการร่วมกันพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีมาตรฐานที่เทียบเท่าและใกล้เคียง กับระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เกษตรอินทรีย์ในอาเซียน ตลอดจนเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้มีโอกาสเห็นศักยภาพของไทยใน การที่จะเป็นผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคนี้" "ผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์ทั้งในด้านความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาด โลก ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายนี้ ต่อยอดความรู้ทั้งในด้านการผลิต มาตรฐานและการตลาด เพื่อนำ กลับมาพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยไปสู่เป้าหมายที่จะสนับสนุนให้ไทยและอาเซียนเป็นฐานการผลิตหรือ HUB ด้านเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคต่อไป" ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวทิ้งท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ