ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำไหลหลาก 10 จว. ประสานให้การช่วยเหลือเต็มกำลัง

ข่าวทั่วไป Monday August 7, 2017 09:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำไหลหลากใน 10 จังหวัด พร้อมบูรณาการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2560 มีพื้นที่ประสบภัย รวม 44 จังหวัด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ มุ่งดูแลชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหา อำนวยความสะดวก และให้บริการประชาชน ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 44 จังหวัด รวม 300 อำเภอ 1,643 ตำบล 12,949 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 578,814 ครัวเรือน 1,840,716 คน ผู้เสียชีวิต 28 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด รวม 101 อำเภอ 711 ตำบล 6,524 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 323,571 ครัวเรือน 998,634 คน แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอพรรณานิคม อำเภออากาศอำนวย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอภูพาน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอคำตากล้า อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอส่องดาว อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอเต่างอย และอำเภอโพนนาแก้ว รวม 116 ตำบล 1,267 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 135,044 ครัวเรือน 426,037 คน ผู้เสียชีวิต 11 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย 892,793 ไร่ แยกเป็น นาข้าว 858,161 ไร่ พืชไร่ 19,780 ไร่ และพืชสวน 14,852 ไร่ กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอนามน อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง อำเภอยางตลาด อำเภอห้วยเม็ก อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอคำม่วง อำเภอท่าคันโท อำเภอหนองกุงศรี อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอสามชัย อำเภอนาคู อำเภอดอนจาน และอำเภอฆ้องชัย รวม 124 ตำบล 1,224 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,136 ครัวเรือน อพยพประชาชน 205 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 285,284 ไร่ นครพนม ฝนที่ตกหนักและมวลน้ำจากหนองหาร จังหวัดสกลนคร ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาแก อำเภอเรณูนคร อำเภอวังยาง อำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม อำเภอนาทม และอำเภอปลาปาก รวม 71 ตำบล 562 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,162 ครัวเรือน 62,561 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 186,633 ไร่ ยโสธร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ อำเภอทรายมูล อำเภอค้อวัง อำเภอเลิงนกทา อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย รวม 53 ตำบล 398 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,051 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 100,153 ไร่ อำนาจเจริญ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ อำเภอพนา อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม รวม 55 ตำบล 482 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,106 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 64,134 ไร่ นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนแดง อำเภอเมืองยาง และอำเภอประทาย รวม 6 ตำบล 53 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,178 ครัวเรือน ร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 20 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอเชียงขวัญ อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตน์ และอำเภอโพนทอง รวม 159 ตำบล 1,766 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71,469 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 4 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 612,033.75 ไร่ อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 22 อำเภอ 110 ตำบล 719 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 21,330 ครัวเรือน 62,020 คน ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ใน 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอดอนมดแดง อำเภอตระการพืชผล อำเภอเดชอุดม อำเภอเขื่องใน อำเภอนาเยีย และอำเภอสว่างวีระวงศ์ หนองคาย ฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ รวม 2 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 267 ครัวเรือน ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำ ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางไทร รวม 72 ตำบล 353 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,097 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมกำชับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ส่วนจังหวัดที่ยังมีสถานการณ์อุทกภัย ให้ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ ให้เชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ