วิทยาศาสตร์ฯ มธ. ปักธงปั้น “นักวิทย์รุ่นใหม่” คิดนอกกรอบ-ต่อยอดสตาร์ทอัพ พร้อมชูตัวอย่างผลสำเร็จ เจ้าของโนเบลสาขาเคมี ปี 2005 ผลิตผลงานเสิร์ฟอุตสาหกรรม

ข่าวทั่วไป Tuesday September 11, 2018 14:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ - วิทยาศาสตร์ฯ มธ. เชิญ "ศ.โรเบิร์ต ฮาร์เวิร์ด กรับส์" เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2005 ร่วมชี้ทางเด็กวิทย์รุ่นใหม่ ต่อยอดงานวิจัย สู่สตาร์ทอัพทำเงิน ! คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ปักธงปั้น "นักวิทย์รุ่นใหม่" กล้าคิด-กล้าพัฒนานวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ และไม่ปิดกั้นศักยภาพในการต่อยอดความรู้ สู่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ผ่านการเรียนการสอนแบบ SCI+BUSINESS ที่เน้นการผสมผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการบริหารธุรกิจเข้าด้วยกัน ซึ่งที่ผ่านมา นักศึกษาสามารถพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ ที่ตอบโจทย์สังคมและภาคอุตสาหกรรมได้จำนวนมาก อาทิ แอปฯ "ดริ๊งเซฟ" แอปพลิเคชันตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พร้อมประเมินสมรรถนะในการขับขี่ "แม่เหล็กดูดสาหร่าย" นวัตกรรมที่ช่วยเก็บเกี่ยวสาหร่ายขนาดเล็กได้ใน 10 วิ ทั้งนี้ ล่าสุด คณะฯ ได้จัดงานปาฐกถาพิเศษ "Academic Research to Commercial Product" โดย ศ.โรเบิร์ต ฮาร์เวิร์ด กรับส์ นักเคมีชาวสหรัฐอเมริกา เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี พ.ศ. 2548 เพื่อแนะแนวทางการต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการ สู่การพัฒนาเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่สร้างรายได้และตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม นักศึกษา นักเรียน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า คณะฯ มีความตั้งใจยิ่งในการผลิต "นักวิทย์รุ่นใหม่" ที่มีความคิดนอกกรอบ กล้าพัฒนานวัตกรรมที่แตกต่างและสร้างสรรค์ ตลอดจนไม่ปิดกั้นศักยภาพตัวเองในการต่อยอดความรู้วิทยาศาสตร์ สู่นวัตกรรมสุดล้ำหรือธุรกิจสตาร์ทอัพที่สามารถสร้างรายได้ได้ในอนาคต เพื่อตอบโจทย์นโยบาย "Thailand 4.0" ของภาครัฐที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ผ่านการส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนแบบ SCI+BUSINESS หรือ "นักวิทย์คิดประกอบการ" ที่เน้นการผสมผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการบริหารธุรกิจเข้าด้วยกัน ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และโจทย์ปัญหาจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นฐาน (Problem-based Learning) สู่การพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ และสามารถช่วยยกระดับสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ผ่านมา นักศึกษาสามารถพัฒนานวัตกรรมได้จำนวนมาก อาทิ แอปฯ "ดริ๊งเซฟ" แอปพลิเคชันตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พร้อมประเมินสมรรถนะในการขับขี่ และเสนอทางออกในการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรม "เหล็กกล้าจากขี้เส้นยางพารา" การต่อยอดคุณสมบัติของคาร์บอนในขี้เส้นยางพารา สู่การสร้างรายได้เพิ่มแก่ชาวสวนยาง และลดการนำเข้าคาร์บอนในการผลิตเหล็กกล้าจากต่างประเทศ "แม่เหล็กดูดสาหร่าย" นวัตกรรมที่ช่วยเก็บเกี่ยวสาหร่ายขนาดเล็กได้ไว้ใน 10 วินาที ตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานประเทศ ฯลฯ ทั้งนี้ ล่าสุด คณะฯ ยังได้เปิดประสบการณ์การต่อยอดธุรกิจจากงานวิจัย ผ่านการจัดปาฐกถาพิเศษ "Academic Research to Commercial Product" โดยได้รับเกียรติจาก ศ.โรเบิร์ต ฮาร์เวิร์ด กรับส์ (Prof. Robert Howard Grubbs) นักเคมีชาวสหรัฐอเมริกา จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี พ.ศ. 2548 มาร่วมแนะแนวทางการต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการ สู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสามารถต่อยอดได้เชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง ในการศึกษาวิจัย และต่อยอดผลการคิดค้นเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยา ที่ช่วยลดระยะเวลาในกระบวนการทางเคมี สู่การพัฒนาเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่สร้างรายได้และตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม รศ.ดร.สมชาย กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้ งานปาฐกถาดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้อง S-106 อาคารบรรยายเรียนรวม 5 (บร. 5) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่าย นักศึกษา นักวิจัยคณะฯ ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. โทรศัพท์ 02-564-4440 ถึง 59 ต่อ 2010 หรือทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat ประวัติโดยย่อของ Robert Howard Grubbs ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ฮาร์เวิร์ด กรับส์ (Prof. Robert Howard Grubbs) จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology: Caltech) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี ค.ศ.2005 (พ.ศ.2547) หนึ่งในผู้คิดค้นชาวอเมริกัน เกี่ยวกับพัฒนากระบวนการเมธาธีซิส (Metathesis) ในการสังเคราะห์ทางเคมีของสารอินทรีย์ อันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยยารักษาโรค ผลิตวัตถุดิบ อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ