“AECS ” ให้กรอบลงทุน 1,620 - 1,675 จุด ชี้ ตปท.ยังเป็นตัวกดตลาด แนะลงทุน SSP-BPP-BGRIM-NYT- SKN-KTC- MTC- SAWAD

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday November 20, 2018 14:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์ บล.เออีซี ประเมินหุ้นไทย วิ่งตามกรอบ แนวรับที่ 1,620 จุด และ แนวต้านที่ 1,675 จุด แนะเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุน ชูหุ้นกลุ่มพลังงานทดแทน SSP,BPP,BGRIM, หุ้นกลุ่ม Net Cash Company เช่น NYT, SKN และหุ้นบริษัทที่ Fixed Coupon Rate และมีสัดส่วนเงินกู้ระยะยาวสูง อาทิ KTC, MTC, SAWAD พร้อม ระบุ นักลงทุน ยังต้องจับตา ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. ที่จะกระทบต่อต้นทุนในการทำธุรกิจที่สูงขึ้น ขณะที่ภาพรวมในต่างประเทศ มีเข้ามาเป็นตัวกดตลาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงลงทุนด้วยความระมัดระวัง บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ ยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,620 - 1,675 จุด ยังคง มีปัจจัยกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความกังวลในการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท.ที่จะกระทบต่อต้นทุนในการทำธุรกิจที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เรามองว่า Downside Risk ค่อนข้างจำกัด จากราคาน้ำมันที่เริ่มดีดตัว อีกทั้งคาดมีแรงซื้อจาก LTF,RMF จากงาน SET in the City นอกจากนี้ ยังแนะนำหุ้นในกลุ่มที่น่าลงทุน ได้แก่ หุ้นกลุ่มพลังงานทดแทน เนื่องจากมองว่าหุ้นในกลุ่มดังกล่าว มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอโดยแนะลงทุนหุ้น SSP (แนวรับ 7.75 , แนวต้าน 8.1) , BPP (แนวรับ 23, แนวต้าน 24), BGRIM (แนวรับ 25.5, แนวต้าน 27.50) นอกจากนี้ ยังแนะลงทุน หุ้นกลุ่ม Net Cash Company ในระดับ Mid to Small Cap. ที่มีเงินสดจำนวนมาก เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยน้อย คือ NYT (แนวรับ 5.0, แนวต้าน 5.45), SKN (แนวรับ 4.74, แนวต้าน 5.0) และแนะลงทุนหุ้น โดยอ้างอิงกับ บริษัทที่ Fixed Coupon Rate และมีสัดส่วนเงินกู้ระยะยาวสูง ได้แก่ KTC (แนวรับ 32.5, แนวต้าน 34.5), MTC (แนวรับ 47.75 , แนวต้าน 51.25), SAWAD (แนวรับ 44.50 , แนวต้าน 47.00) พร้อมกันนี้ ยังแนะนำให้จับตาทิศทางในต่างประเทศ ภาพรวมจะมีการเคลื่อนไหวผันผวน เนื่องจากเข้าสู่สัปดาห์ที่มี วันหยุดยาวในปลายสัปดาห์ ทำให้ปริมาณซื้อขายเบาบางกว่าปกติ และคาดว่านักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ระหว่างติดตามจุดเปลี่ยนของ Market Factor ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การประชุมระหว่างสหรัฐฯ – จีน ระหว่างงาน G20 ที่จะมีขึ้นวันที่ 30 พ.ย -1 ธ.ค. แม้ ว่าจะเห็นความคืบหน้าของกรอบการแก้ปัญหาทางการค้า ระหว่าง 2 ประเทศ รวมทั้งสัญญาในการหยุด หรือชะลอแผนขึ้นภาษีสินค้าจีนรอบใหม่ของสหรัฐฯ แต่ล่าสุดในงานประชุม APEC ที่ผ่านมายังพบความไม่ลงรอยกันในนโยบายของจีน (One Road One Belt) กดดันให้การเจรจาดังกล่าวมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบเริ่มกลับมาสร้างฐาน และมีการ คาดหวังว่า กลุ่ม OPEC จะปรับลดกำลังการผลิต ในการประชุมวันที่ 6 ธ.ค. นี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ซาอุฯ เปิดเผยว่า มีโอกาสที่จะปรับลดกำลังการผลิตมากถึง 1.4 ล้าน bps คิดเป็นการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกราว 70% จากข้อตกลงเดิม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังคงต้องจับตามองอีกเรื่องคือ วิกฤตผู้นำอังกฤษ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมามีรัฐมนตรีหลายคนในอังกฤษลาออก พร้อมยื่นจดหมายไม่ไว้วางใจ นางเทรีซ่า เมย์ หลังอังกฤษ และอียูมีมติผ่านร่างแผน BREXIT ที่ถูกมองว่า เป็นการออกจากอียูแบบไม่เด็ดขาด ซึ่งผิดจากวัตถุประสงค์ ตอนที่อังกฤษทำประชามติ โดยปัจจุบันมีจดหมายไม่ไว้วางใจนางเทรีซ่า เมย์ ที่ถูกเปิดเผยออกมาแล้วกว่า 20 ฉบับ (ต้องการ 48 ฉบับ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ) อย่างไรก็ดี หากในวันที่ 25 พ.ย.นี้ ยังมีจดหมายดังกล่าวไม่เพียงพอ จะทำให้อังกฤษและสมาชิกอียูที่เหลือสามารถผลักดันร่างกฎหมาย ดังกล่าวได้ และจะทำให้ Soft BREXIT เกิดขึ้นทันกำหนด ในวันที่ 29 มี.ค. 62

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ