ฝีมือนักศึกษา มจพ. พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านสาธารณสุข ด้วยเทคโทคโนโลยี Blockchain ผ่านเว็บแอพพลิเคชั่นเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยทุกสถานพยาบาล

ข่าวทั่วไป Wednesday January 9, 2019 14:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลงานวิจัยเรื่อง ระบบจัดการข้อมูลผู้ป่วยบนเทคโนโลยีบล็อคเชน (Chain-Aid) ผลงานของนายอุดมทรัพย์ หน่ายคอน นายกู้เกียรติ วังทะพันธ์ นายธีธัช ดำสุวรรณ นางสาวทวินันท์ กมลเพชร และนางสาวศศิประภา นาคะลักษณ์ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และนายนคเรศ ดวงกลาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มีอาจารย์ ดร. พีรพงษ์ พรวงศ์ทอง เป็นที่ปรึกษา เมื่อปี 2561 เคย ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทการประกวดแผนธุรกิจ Start-up เป็นการพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้านสาธารณสุข บนเทคโนโลยี Blockchain เข้ากับเทคโนโลยีเว็บแอพพลิเคชั่น (web application) เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยในเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) โดยมีซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาให้แก่สถานพยาบาลเพื่อการจัดการระบบภายในและเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Chain-AID มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือและมีความปลอดภัยสูงกว่าระบบที่ใช้ในปัจจุบัน โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อคเชนเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยทั่วทั้งประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่นความผิดพลาดของข้อมูล ความซ้ำซ้อน รวมถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ป่วย ส่งผลให้สถานพยาบาลมีระบบจัดการภายในที่ช่วยลดขั้นตอนในการดำเนินการกับผู้ป่วยและลดขั้นตอนอื่นๆที่มีการประสานงานกันภายใน โดยมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อการรักษาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น ส่วนผู้ป่วย จะได้รับบริการที่รวดเร็วมากขึ้น และสามารถเข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องกรอกข้อมูล ลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ และซักตอบคำถามเดิมๆ อันน่าเบื่ออีกต่อไป รวมถึงในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่มีสติที่จะสามารถโต้ตอบกับหมอหรือพยาบาลได้ ทางสถานพยาบาลก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อรักษาได้อย่างถูกต้อง วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการดำเนินการกับผู้ป่วย และลดขั้นตอนอื่นๆ ที่มีการประสานงานกันภายในสถานพยาบาลให้มีระบบจัดการภายในที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อการรักษาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น ในด้านของผู้ป่วย ผู้ป่วยก็จะได้รับบริการที่รวดเร็วมากขึ้น และสามารถเข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่างๆ ได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องกรอกข้อมูล ลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ และข้อตอบคำถามเดิมๆ อันน่าเบื่ออีกต่อไป รวมถึงในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่มีสติที่จะสามารถโต้ตอบกับหมอหรือพยาบาลได้ ทางสถานพยาบาลก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อรักษาได้อย่างถูกต้อง แนวคิดและความเป็นมาของงานวิจัย จะพบว่าปัจจุบันในแต่ละสถานพยาบาลมีวิธีการจัดการการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน กล่าวคือ สถานพยาบาลยังไม่มีระบบจัดการภายในโรงพยาบาล เดิมจัดเก็บบนเอกสาร ก่อให้เกิดความล่าช้าและความยากลำบากในการจัดเก็บและค้นหาทำให้ผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลอื่นจะต้องลงทะเบียนผู้ป่วย กรอกข้อมูล และซักประวัติใหม่ทุกครั้ง ก่อให้เกิดความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาและในกรณีฉุกเฉิน สถานพยาบาลไม่สามารถทราบข้อมูลผู้ป่วยได้ทันทีในกรณี ที่ไม่มีสติที่จะตอบโต้กับทางพยาบาลได้ จึงไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอะไร และมีอาการแพ้ยาใดหรือไม่ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยและโดนฟ้องร้องภายหลังได้จึงเกิด Chain-AID ระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยจากทุกสถานพยาบาลเข้าด้วยกัน เพื่อความรวดเร็วในการในการเข้ารับการรักษา และทางสถานพยาบาลก็จะได้รับระบบการจัดการภายในที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะเด่นของงานวิจัย Chain-AID คือระบบจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยในเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) โดยมีซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาให้แก่สถานพยาบาลเพื่อการจัดการระบบภายในและเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูงกว่าระบบที่ใช้ในปัจจุบัน โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อคเชนเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยทั่วทั้งประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงและความผิดพลาดต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ รวมถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่สถานพยาบาลและผู้ป่วยมากขึ้น งานวิจัยสามารถต่อยอดพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมด้านสาธารณสุข เช่นสถานพยาบาล หน่วยงานกู้ภัย คลินิคศัลยกรรมและความสวยงาม รวมถึงหน่วยงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลประจำตัวของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา ประวัติการรักษาโรค และสิทธิในการรักษาของผู้ป่วย โดยจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าข้อมูลของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการดำเนินการบางอย่างที่เกิดความล่าช้า และเชื่อมต่อข้อมูลของผู้ป่วยจากสถานพยาบาลต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ