ผลกระทบของเทคโนโลยีพลิกผันต่อธุรกิจอุตสาหกรรมไทยและนโยบายของพรรคการเมือง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 28, 2019 09:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ม.ค.--คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเทศไทยยังขาดการเตรียมความพร้อมในการรับมือความท้าทายจากเทคโนโลยีพลิกผัน หรือ Disruptive Technology และ แรงสั่นสะเทือนจาก Digital Disruption ทั้งในภาครัฐ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคการศึกษาและตลาดแรงงาน หวั่นกระทบประสิทธิภาพของภาครัฐ ความถดถอยของการแข่งขันของภาคเอกชน กระทบต่อภาวะการมีงานทำในอนาคต ยังไม่สามารถนำความก้าวหน้าเทคโนโลยีและ Big Data มาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ เช่น รัฐบาลต้องบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยราชการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือ กกต สามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสมากขึ้นและสามารถสอบถามประชามติจากประชาชนในเรื่องต่างๆได้ ประเทศไทย 4.0 ไม่บรรลุเป้าหมายและไม่สามารถตอบสนองต่อการเร่งตัวของการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมเทคโนโลยี คาดหวังพรรคการเมืองต่างๆและรัฐบาลหลังเลือกตั้งมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจน ไม่ใช่มีเพียงนโยบายมุ่งหาคะแนนนิยมโดยไม่ใส่ใจต่อนโยบายปฏิรูปและนโยบายเพื่อความยั่งยืน ต้องมีนโยบายสร้างโอกาสและเตรียมรับมือกับโลกในอนาคตด้วย 17.00 น. 27 ม.ค. 2562 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดการเตรียมความพร้อมในการรับมือความท้าทายจากเทคโนโลยีพลิกผัน หรือ Disruptive Technology และ แรงสั่นสะเทือนจาก Digital Disruption ทั้งในภาครัฐ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ภาคการศึกษาและตลาดแรงงาน ประสิทธิภาพของระบบราชการ การให้บริการของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจจะดีขึ้นหากมีการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น นอกจากนี้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ยังจะทำให้ระบบของรัฐบาลมีความโปร่งใสและได้รับการตรวจสอบถ่วงดุลจากประชาชนและภาคธุรกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินการใน เรื่อง Digital Transformation ในหลายภาคส่วนของภาครัฐยังมีความล่าช้าไม่เท่าทันต่อการพลิกผันเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หวั่นกระทบประสิทธิภาพของภาครัฐทั้งระบบ ระบบกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งระบบภาษีก็ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมีกิจการจำนวนไม่น้อยในไทยที่ไม่สามารถปรับตัวรับมือกับเทคโนโลยีพลิกผันทำให้ต้องปิดกิจการไปนอกจากนี้เอกชนที่ไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในกระบวนการทำงานและกระบวนการการผลิตจะประสบภาวะถดถอยของขีดความสามารถในการแข่งขัน มีความท้าทายและข้อจำกัดต่อการพัฒนานวัตกรรมในกิจการ SMEs ภาครัฐจึงต้องส่งเสริมด้านแหล่งเงินทุน การส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการส่งเสริมทีมผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเตรียมรับมือกับผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีต่อภาวะการมีงานทำในอนาคต ระบบการศึกษายังไม่สามารถผลิตแรงงานให้มีทักษะและความรู้สอดคล้องกับพลวัตของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญามีการว่างงานสูงขึ้นจากคุณภาพด้อยลงไม่สามารถทำงานได้ ขณะนี้ ธุรกิจเอกชนจึงเข้ามาร่วมจัดการการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้อิงการทำงาน (Work-based Learning) มากขึ้น เรายังไม่สามารถนำความก้าวหน้าเทคโนโลยีและ Big Data มาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ เช่น รัฐบาลต้องบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยราชการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือ กกต สามารถใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใสมากขึ้นและสามารถสอบถามประชามติจากประชาชนในเรื่องต่างๆได้ ประเทศไทย 4.0 ไม่บรรลุเป้าหมายและไม่สามารถตอบสนองต่อการเร่งตัวของการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมเทคโนโลยี คาดหวังพรรคการเมืองต่างๆและรัฐบาลหลังเลือกตั้งมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจน ไม่ใช่มีเพียงนโยบายแบบมุ่งหาคะแนนนิยมโดยไม่ใส่ใจต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่างๆ ต้องมีนโยบายสร้างความยั่งยืน ต้องมีนโยบายสร้างโอกาสและมียุทธศาสตร์ในเตรียมรับมือกับโลกในอนาคตด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ