มาสเตอร์การ์ด ร่วมกับ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ดันบัตรเดบิตไทยพร้อมใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น กสิกรไทยประเดิมให้บริการเป็นรายแรก

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday February 26, 2019 12:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--เวเบอร์ แชนด์วิค มาสเตอร์การ์ด ร่วมกับ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ขยายการรองรับการชำระค่าสินค้าและบริการอีคอมเมิร์ซผ่านบัตรเดบิตไทยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้บริการช่องทางชำระเงินออนไลน์ของมาสเตอร์การ์ด หรือMastercard's Payment Gateway Services เป็นผู้ให้บริการระดับโลกรายแรกที่เชื่อมต่อกับไอทีเอ็มเอ๊กซ์โดยตรง ส่งผลให้ Mastercard's Payment Gateway Services สามารถเชื่อมต่อร้านค้าในประเทศและร้านค้าทั่วโลกกับผู้ถือบัตรเดบิตหลายล้านรายในไทยได้อย่างสะดวกสบายมากกว่าเคย นอกเหนือจาการเชื่อมต่อข้างต้น การพัฒนาบริการครั้งนี้ จะทำให้ระบบการชำระเงินมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบขั้นตอนการชำระเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับร้านค้าที่มีการทำธุรกรรมจำนวนมากจากประเทศไทย นอกจากนี้ยังตอบโจทย์ความต้องการด้านการชำระเงินของผู้บริโภคออนไลน์ ด้วยการทำธุรกรรมที่สะดวกสบายไร้รอยต่อผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ ธนาคารกสิกรไทยจะเป็นธนาคารแห่งแรกที่ให้บริการนี้ โดยร้านค้าที่ใช้บริการของธนาคารกสิกรไทยจะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าว สามารถรองรับการชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรเดบิตที่ออกในไทย คุณวรรณา นพอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด กล่าวว่า "เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ในฐานะผู้ให้บริการระบบLocal switching และบัตรเดบิตภายในประเทศ ได้ร่วมมือกับมาสเตอร์การ์ด ในการเชื่อมต่อระบบ ด้วย Mastercard's Payment Gateway Services ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรองรับการชำระสินค้าและบริการอีคอมเมิร์ซ (e-commerce) ด้วยบัตรเดบิตที่ออกในประเทศไทย ที่มีความปลอดภัยสูง ได้มาตรฐานสากล และเป็นไปตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย จะทำให้ร้านค้าและลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดต้นทุนและเวลาในการพัฒนาระบบดังกล่าวของธนาคารต่างๆ ทั้งยังเป็นการสนับสนุนแผนการพัฒนาระบบการชำระเงินแห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริงอีกด้วย" โดนัลด์ ออง ผู้จัดการมาสเตอร์การ์ดประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ กล่าวว่า " มาสเตอร์การ์ดพร้อมสนับสนุนรัฐบาลในการดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับไอทีเอ็มเอ๊กซ์ นำประเทศไทยก้าวสู่สังคมไร้เงินสดโดยใช้เทคโนโลยีที่ทำให้การทำธุรกรรมผ่านบัตรเดบิตมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ความร่วมมือในครั้งนี้จะส่งผลให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ร้านค้าและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยพัฒนาขึ้นอีกขั้น" เกี่ยวกับ เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ไทย เพื่อตอบสนองนโยบายของ คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทฯ เป็นผู้พัฒนาและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านระบบการชำระเงิน และเพิ่มการเชื่อมโยงของบริการชำระเงินระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด สามารถรองรับการทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งเอทีเอ็ม เครื่องรูดบัตร เคาน์เตอร์ธนาคาร อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ บริษัทฯ เป็นผู้พัฒนาและให้บริการ "ระบบพร้อมเพย์" ที่สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เพื่อก้าวไปสู่ Thailand 4.0 เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด MasterCard (NYSE: MA เว็บไซต์ www.Mastercard.com) เป็นบริษัทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการชำระเงินระดับสากล เครือข่ายกระบวนการชำระเงินที่ครอบคลุมทั่วโลกของบริษัทฯ เชื่อมต่อผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้ค้า หน่วยงานรัฐบาล และ ธุรกิจในกว่า 210 ประเทศ ผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นของมาสเตอร์การ์ดช่วยให้ธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจับจ่ายซื้อสินค้า การท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ และการจัดการทางการเงิน เป็นเรื่องง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ ได้ทางทวิตเตอร์ที่ @MastercardNews ร่วมสนทนากับบริษัทฯ ผ่านทาง Beyond the Transaction Blog และ สมัครที่นี่ เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดผ่าน Engagement Bureau

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ