โพสต์พาเที่ยว - Bike Travel เปิดโปรแกรมวันหยุดสุดสัปดาห์ ท่องรถไฟ ปั่นจักรยาน เที่ยวแม่พวก รักษ์ป่าสักร้อยปี

ข่าวท่องเที่ยว Wednesday February 27, 2019 13:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--โพสต์พาเที่ยว สถานีรถไฟรักษ์ – ท่องป่าสักร้อยปี – สานวัฒนธรรมบ้านแม่พวก ณ ชุมชนแม่พวก อ. เด่นชัย จ. แพร่ เตรียมเปิดประสบการณ์ในการเดินทางธรรมดาที่…ไม่ธรรมดา กับ "พาคนฮู้ใจ๋ ท่องรถไฟ เทียวแม่พวก" ที่จะพาเรียนรู้วิถีชีวิต ชุมชน สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมท้องถิ่น ที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสกัน โดยร่วมเดินทาง นักเดินทางสร้างสรรค์ สมาคมสถาปนิกสยามฯ โพสต์พาเที่ยว , Graphic ชอบเที่ยว พร้อมมิตรภาพนักเดินทาง ที่จะมาร่วมช่วยกัน Save The Wild Create The World รวมพลังสร้างสรรค์ ณ สถานีรถไฟบ้านพวก บ้านพวก อ. เด่นชัย จ. แพร่ Trip : ท่องรถไฟ เที่ยวแม่พวก รักษ์ป่าสักร้อยปี สถานีรถไฟรักษ์ – ท่องป่าสักร้อยปี – สานวัฒนธรรมบ้านแม่พวก อ. เด่นชัย จ. แพร่ วันที่ 1 18.30 น. Standby ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง ด้วยตู้นอน 19. 30 น. นำสัมภาระ, จักรยานพร้อมแพ็คกระเป๋าให้เรียบร้อย และเช็คที่นั่งในการเดินทาง ก่อนออกเดินทาง 20.00 น. ขบวนรถไฟออกจากชานชลา สถานีรถไฟหัวลำโพง * เดินทางด้วยรถไฟ (ตู้นอน) ต้องสำรองตู้ล่วงหน้า วันที่ 2 05.00 น. เดินทางถึงสถานีรถไฟเด่นชัย 05.30 น. เดินทางเที่ยวตลาดชุมชนเด่นชัย / ทานอาหารเช้าง่ายๆ ตามอัธยาศัย (เตรียมประกอบจักรยาน สำหรับผู้ปั่นจักรยานสามารถปั่นจากสถานีรถไฟเด่นชัย ไปตลาด - เส้นทางต่างๆ ได้เลย ส่วนใครที่ไม่ปั่นจักรยาน ชุมชนจะนำรถมารับ) 06.00 น. เดินทางเข้าหมู่บ้านแม่พวก โดยเดินทางจาก สถานีรถไฟเด่นชัย ด้วยจักรยาน (ระยะทาง 6กิโลเมตร) 07.00 น. Welcome Drink จากชุมชนแม่พวก 07.15 น. ผู้ใหญ่บ้าน ต้อนรับ คณะแนะนำ สถานีรถไฟแม่พวก สถานีรถไฟบ้านแม่พวก ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีสิ่งที่น่าสนใจคือสถาปัตยกรรมอันสวยงามที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ยุบสถานีรถไฟและเปิดเป็นที่หยุดรถแทนแล้ว ดังนั้นการเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสถาปัตยกรรมเก่าแก่ จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ บ้านแม่พวก อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ ประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ บ้านแม่พวกมีชาวบ้านมาอาศัยอยู่มาก่อนราวปี พ.ศ. 2446 เดิมขึ้นกับอำเภอเมืองแพร่ และต่อมาทางราชการได้แยกและก่อตั้งเป็นอำเภอเพิ่มขึ้นมาใหม่ โดยให้ใช้ชื่อว่าอำเภอแม่พวก และแต่งตั้งพระยาสุริยะภักดี เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอแม่พวก ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ทางการจึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอแม่พวกให้เป็นอำเภอสูงเม่น และบ้านแม่พวกก็ไปอยู่เขตอำเภอเด่นชัย ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เซอร์แอนดรู คล้าก และบริษัทปันชาร์ด สำรวจเพื่อก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2454 กรมรถไฟหลวง ก็ได้เปิดการเดินรถไฟมายังสถานีแม่พวก ดังนั้นสถานีรถไฟแม่พวกจึงเป็นสถาปัตยกรรมอาคารสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นหนึ่งในอาคารสถานีรถไฟที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีอายุถึง 104 ปี อาคารสถานียังอยู่ในสภาพที่ยังคงความสวยงามถึงแม้จะไม่สมบูรณ์นัก ปัจจุบันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยุบสถานีรถไฟแม่พวกและเปิดให้เป็นที่หยุดรถแทน เนื่องจากมีปริมาณผู้โดยสารน้อยลง จึงไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำสถานี อย่างไรก็ตามยังมีรถไฟหยุดรับส่งผู้โดยสารอยู่วันละ2 รอบ คือ รอบเช้าขาขึ้นนครสวรรค์ – เชียงใหม่ เวลา 10.00 น. และรอบบ่ายขาล่องเชียงใหม่ – นครสวรรค์ เวลา 14.00 น. ป่าสักร้อยปี ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของสถานีรถไฟแม่พวกยังเป็นที่ตั้งของสวนสักปลูกแห่งแรกของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2453 ทางกรมป่าไม้ ได้กำหนดให้มีการปลูกสวนสักขึ้นและได้เลือกบ้านแม่พวกแห่งนี้เป็นที่ปลูกต้นสัก บนพื้นที่ 133 ไร่ ปัจจุบันสวนสักปลูกแห่งนี้ มีต้นสักอยู่ถึง 1,779 ต้น และในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ตุลาคมของทุกปี จะมีดอกอาว (คล้ายดอกกระเจียว) ขึ้นตามบริเวณใต้ต้นสักเป็นจำนวนมาก ซึ่งดอกอาวเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จนกลายเป็นทุ่งดอกอาวที่มีสีส้มแดงตัดกับพื้นป่าสีเขียว มองดูสวยงามเป็นอย่างยิ่ง 07.30 น. ทานอาหารเช้า สไตล์บ้านแม่พวก (ข้าวต้ม - ขนมเส้น – ขนมจีนน้ำเงี้ยว) ขนมจีน หรือเข้าหนมเส้น หรือเข้าเส้น ชาวล้านนานิยมมารับประทานเป็น ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือเข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว น้ำเงี้ยวเป็นน้ำแกงที่รับประทานกับขนมจีนหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยว เรียกก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว บางสูตรใช้ถั่วเน่าแข็บหรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ โขลกลงในเครื่องแกง แทนการใส่เต้าเจี้ยว ชาวไทใหญ่ หรือเงี้ยว เรียกว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม 08.00 น. ทำบุญ บวชป่าโบราณ บ้านแม่พวก บวชป่า หรือบวชต้นไม้ เป็นประเพณีโบราณที่มีมานาน ตั้งแต่แม่หมอจำความได้ ก็รู้จักการบวชป่าแล้ว โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด ที่ชีวิตโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ มีต้นไม้ มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ หากแต่เวลาเปลี่ยนผ่านไป ความเจริญเข้ามาแทนที่ ต้นไม้ใหญ่น้อย ที่เคยอยู่ในป่า กลับต้องถูกตัดทำลายเพื่อนำไปทำประโยชน์เข้ากระเป๋านายทุน บางพื้นที่ร้ายแรงถึงขนาดมีการลักลอบตัดไม้ในเขตสงวน การแก้ปัญหาที่ชาวบ้านร่วมกันคิดขึ้นมานั้น ต้องอาศัยความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะหากว่ากฎหมายเพียงอย่างเดียว ดูเหมือนจะไม่ได้ทำให้คนไม่ดีเหล่านี้รู้สึกได้ จึงเกิดเป็นประเพณี บวชป่า เปรียบเสมือนการบวชพระของมนุษย์ คนธรรมดาจะต้องเคารพนับถือ และไม่คิดทำร้ายโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะโดนคำสาปแช่งหรือผลกรรมที่ร้าย ๆ ตามมาในอนาคตอีกหลายอย่าง 09.30 น. สำรวจหลุมหลบภัยจำลองของชุมชน (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) 10.00 น. ขึ้นรถไฟ ไปเที่ยว สถานีรถไฟบ้านปิน (นำจักรยานขึ้นรถไฟ) สถานีรถไฟบ้านปิน เป็นสถานีรถไฟประจำตำบลบ้านปิน และอำเภอลอง อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในจังหวัดแพร่ที่ระดับสถานีรถไฟ เป็นระดับ 2 สร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 วันที่ 15มิถุนายน พุทธศักราช 2457 หรือคริสต์ศักราช 1914 มีจำนวนราง 5 ราง เป็นทางหลัก 2 ราง ทางหลีก 3 ราง ทางตัน 1 ราง รางติดชานชลา 2 ทาง โดยเป็นสถานีรองจากสถานีรถไฟเด่นชัย บ้านปิน ซึ่งแม้เป็นสถานีรถไฟขนาดเล็กระดับอำเภอ เมื่อเทียบกับสถานีเด่นชัย และสถานีลำปางซึ่งเป็นระดับจังหวัด แต่ในทางศิลปะสถาปัตยกรรมนั้นโดดเด่นเป็นหนึ่งเดียว ชนิดที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เพราะเป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวของไทย ที่สร้างด้วยสไตล์ "เฟรมเฮ้าส์" แบบบาวาเรียน (Bavarian Timber Frame House) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียของเยอรมัน 12.00 น. ทานอาหารกลางวัน 14.00 น. ชมบรรยากาศ สถาปัตยกรรม สถานีรถไฟบ้านปิน – เที่ยวในเมืองลอง 15.00 น. ทานกาแฟ ที่ร้านกาแฟ แห่ระเบิด 16.00 น. นั่งรถไฟกลับสถานีรถไฟบ้านแม่พวก 17.00 น. แยกย้ายกลับที่พัก เตรียมตัวทานมื้อค่ำ แต่วตัวไตล์ม่อฮ่อม หรือตามอัธยาศัย 18.00 น. ทานอาหารมื้อค่ำ ด้วยบรรยากาศขันโตก มื้อพิเศษจากชุมชมบ้านแม่พวก และเมนูเด็ด ที่นำมาจัดเป็นเซ็ท 5 เมนูแม่พวก ให้กับผู้เดินทาง (แบบขันโตก) 19.30 น. ตั้งวงเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน 20.00 น. คณะเดินทางแยกย้ายเข้าที่พัก ณ โฮมสเตย์ หรือที่พักที่ทางหมู่บ้านจัดไว้ วันที่ 3 06.00 น. ใครใคร่ตื่นมาใส่บาตร ณ วัดหมู่บ้านแม่พวก 07.00 น. สัมผัสวิถีชุมชน ทานเมนูอาหารเช้า 08.00 น. ปั่นจักรยานในเส้นทางของชุมชนแม่พวกระยะทาง 20 – 30 กิโลเมตร 10.00 น. เดินป่าสักร้อยปี (ผู้ใหญ่บ้าน นำลูกทริปไหว้ขอเจ้าที่เจ้าทางนำ ใบสักที่อยู่ในป่า : ใบสักที่ห่มดิน) นำมาย้อมผ้า สร้างเอกลักษณ์ความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น 10.30 น. เรียนรู้วิธีการมัดย้อม แบบวิถีชุมชน จากผลิตภัณฑ์ในพื้นถิ่น (ร่วมกันทำเมนูท้องถิ่น ไข่ป่าม-หลามบ่อง) 12.00 น. ทานอาหารเที่ยง 14.00 น. พักผ่อน หรือปั่นจักรยานตามอัธยาศัย 16.00 น. แยกย้าย เก็บกระเป๋าเตรียมเดินทางกลับ กทม. 17.00 น. ผู้ใหญ่บ้านกล่าวส่งท้ายให้กับคณะที่มาท่องเที่ยว และ ทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย 17.30 น. ปั่นจักรยานไปสถานีรถไฟเด่นชัย 18.00 น. Standby ณ สถานีรถไฟเด่นชัย 19.00 น. ขบวนรถไฟสถานีเด่นชัย มุ่งหน้าทางสู่ กทม. *** ถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง เวลา 05.00 น. ในวันถัดมา หมายเหตุ : กิจกรรมอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ประสานงานชุมชนบ้านแม่พวก 087 575 0219 Facebook : สถานีรถไฟแม่พวก สวนสักร้อยปี ชุมชนบ้านแม่พวก https://bit.ly/2JN3FwW การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคเหนือ สำนักงานแพร่ 0 5452 1127

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ