แอสตร้าเซนเนก้า(ประเทศไทย) ผนึก เขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุขเร่งเครื่องโครงการ Healthy Lung Thailand ยกระดับมาตรฐานสุขภาพประชาชนต่อเนื่อง

ข่าวทั่วไป Tuesday June 25, 2019 15:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--MT แอสตร้าเซนเนก้า(ประเทศไทย)เดินหน้าสานต่อโครงการ "Healthy Lung Thailand" ล่าสุด ร่วมกับ เขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุขจัดงานประชุมวิชาการ "Healthy Lung Forum เขตสุขภาพที่ 1 ครั้งที่ 1/2562"ยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ และการจัดการด้านการดูแลรักษา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และการเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมะเร็งปอด พร้อมส่งเสริมสถานบริการสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ ให้มีการบริการที่ได้มาตรฐานเป็นสากลยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพด้านการตรวจวินิจฉัย รักษา และการฝึกอบรมให้ความรู้กับบุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.วสันต์ แก้ววี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลน่าน (ผู้แทน ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 1) กล่าวในโอกาสเป็นประธานในงานHealthy Lung Forum ว่า "โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นกลุ่มของโรคปอดเรื้อรังที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก โดยความชุกของโรคพบมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ในประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จากสถิติกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2558 พบว่ามีผู้ป่วยโรคหืดนอนรักษาในโรงพยาบาล 115,577 คน และมีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 249,742 คน โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหืดประมาณร้อยละ 7 ของประชากร และพบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอีกจำนวน 1.5 ล้านคน คาดว่าผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ประมาณร้อยละ 5 ป่วยเป็นโรคนี้1และในเขตสุขภาพที่ 1 ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอนภาพรวมพบผู้ป่วยโรคหืดประมาณ1,300 ต่อ 100,000 ประชากรอายุ40ปีขึ้นไปถือได้ว่าสูงสุดใน 12 เขตสุขภาพทั้งหมด และนับได้ว่าเป็นเบอร์หนึ่งของประเทศ ในส่วนของอัตราการกำเริบของโรคเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น ในบางจังหวัดอยู่ที่อัตราที่สูงกว่า130 ต่อร้อยประชากรอายุ40ปีขึ้นไปซึ่งในระยะเวลา 5 เดือนจะควบคุมให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 130 ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเนื่องจากบางจังหวัดมีผู้ป่วยที่มีการกำเริบของโรคเฉียบพลันค่อนข้างสูง ทั้งนี้สาเหตุของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในเขตสุขภาพที่1 มีปัจจัยที่หลากหลาย อาทิ การสูบบุหรี่ การสูบควันพิษ เรื่องการเผาป่าเพื่อนำพื้นที่มาทำการเกษตร ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิกฤตมลพิษทางอากาศที่ภาคเหนือพบมาอย่างยาวนานและเรื้อรัง หรือแม้แต่การทำการเกษตรที่ต้องย้ายพื้นที่อยู่เรื่อย ๆ เช่น การปลูกข้าวโพด อีกทั้งยังมีการเผาป่าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งควันพิษจากรถยนต์ อุตสาหกรรมโรงงาน โครงการก่อสร้างต่างๆ จึงส่งผลให้หลายๆ พื้นที่ในเขตภาคเหนือ รวมถึงเขตสุขภาพที่ 1 ต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นควันที่เกินค่ามาตรฐาน อย่างฝุ่นละออง PM2.5ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลกระทบทางตรงลำดับแรกคือผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจและปอด ส่วนผลกระทบในระยะยาวอาจทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาหรืออาจกลายเป็นโรคภัยร้ายแรงในที่สุด ซึ่งจากสถานการณ์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานในบางพื้นที่ของภาคเหนือ รวมถึงในเขตสุขภาพที่ 1 จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กระทรวงสาธารณสุขก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีการดำเนินการอย่างจริงจังภายในหน่วยงาน และร่วมกับทุกภาคส่วนดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในทุกพื้นที่ ในส่วนเขตสุขภาพที่ 1 ก็ได้มีการร่วมรณรงค์ในการให้ความรู้ในเรื่องของ PM 2.5 เพื่อลดการเกิดโรค มุ่งเน้นการสื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงแนะนำการป้องกัน" นพ.วสันต์กล่าวเพิ่มเติมว่า "ในส่วนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังในเขตสุขภาพที่ 1 ในปีที่ผ่านมา ทางเขตสุขภาพที่ 1 ได้มุ่งเน้นไปที่การตรวจวินิจฉัยของโรคให้ถูกต้องโดยการตรวจด้วยเครื่อง Spirometry ซึ่งก็จะพยายามให้มีเครื่องนี้ในทุกโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 1 นอกจากนี้ผู้ตรวจต้องมีความรู้ความชำนาญได้รับการอบรมมาโดยเฉพาะ ซึ่งทางเขตฯ ได้มีแผนฝึกอบรมแบบคู่ขนานโดยส่งบุคลากรไปอบรมกับทางสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ ซึ่งในแต่ละปีสามารถทำได้ประมาณ 10 คน และมากที่สุด 20 คน เนื่องจากต้องใช้งบประมาณที่มากพอสมควร หรือการอบรมกันเองโดยติดต่อไปยังบริษัทเอกชนนำเครื่องมาติดตั้งและให้บุคลากรในโรงพยาลใหญ่ที่มีความรู้ความชำนาญมาถ่ายทอดให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการให้บริการแบบเชิงรุกโดยการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพในเขตสุขภาพที่ 1 เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา และระบบบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ง่ายต่อการประเมินวินิจฉัย และการรักษา อีกทั้งยังสร้างความสะดวกและรวดเร็วทั้งนี้หากในเขตสุขภาพที่ 1 สามารถเข้าถึงยา หรือวัคซีนต่างๆ และมีบุคลากรที่มีความสามารถ ได้รับการอบรมอย่างถูกต้อง และมีเครื่องตรวจ Spirometryที่พร้อมกว่า 80% ภายในปีนี้จะถือว่าบรรลุตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ" "ทั้งนี้การสนับสนุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในเขตสุขภาพที่ 1ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนโดยเฉพาะโครงการที่เป็นประโยชน์อย่าง เช่น โครงการ "Healthy Lung Thailand" โดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ที่มีส่วนช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทั้งการสนับสนุนทุนแก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ในการเพิ่มศักยภาพการตรวจวินิจฉัย การรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังภายใต้กิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมด้านวิชาการเพิ่มองค์ความรู้ในการรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อีกทั้งการสนับสนุนการตรวจโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่นการจัดบริการการตรวจประเมินสมรรถภาพการทำงานของปอดให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนอีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขระดับชุมชนมีการบริการที่ได้มาตรฐาน นำไปสู่การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านผู้ป่วยก็สามารถเข้าถึงการรักษาที่ได้มาตรฐาน ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งยังมีความสะดวก รวมถึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย" นพ.วสันต์กล่าวทิ้งท้าย อนึ่ง โครงการ Healthy LungThailandถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Healthy Lung Asia โดยมีแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ 1) ความร่วมมือกับหน่วยงานในภาคส่วนต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และให้ความสำคัญต่อโรค 2) การเสริมสร้างศักยภาพและการเข้าถึงการบริการ และ 3) การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อนำไปสู่พัฒนาการด้านการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายในการรณรงค์และอบรมเสริมความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปอดให้กับบุคลากรทางการแพทย์กว่า 8,000 คน เพื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงแนวทางป้องกัน การวินิจฉัยและแยกแยะระหว่างโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคมะเร็งปอดได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเป้าหมายในการสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี ซึ่งจะให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อให้ได้ในอัตราร้อยละ 25

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ