ผศ.ดร.จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี ม.ศรีปทุม ชลบุรี เสนอผลงานวิจัยท่องเที่ยวสู่ชุมชน พร้อมส่งมอบให้กับ สกสว.-อพท. ชูงานวิจัย หนุนประเทศฟื้นโควิด

ข่าวทั่วไป Wednesday June 17, 2020 16:29 —ThaiPR.net

ผศ.ดร.จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี ม.ศรีปทุม ชลบุรี เสนอผลงานวิจัยท่องเที่ยวสู่ชุมชน พร้อมส่งมอบให้กับ สกสว.-อพท. ชูงานวิจัย หนุนประเทศฟื้นโควิด กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เสนอผลงานวิจัยท่องเที่ยวสู่การใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based - tourism หรือ CBT) ชื่อผลงาน การประเมินความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ซึ่งปัจจุบันงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่งมอบให้กับ อพท. เพื่อการออกแบบการทำงานท่องเที่ยวชุมชนต่อไป ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวมีส่วนช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของประเทศได้อย่างมาก เนื่องจากแผนงานนี้ มีเป้าหมายหลัก คือ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งถือเป็นนโยบายหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในเชิงการสร้างขีดความสามารถให้ชุมชนและการสร้างโอกาสด้านท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งผลผลิตสำคัญ คือ การมีฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศครั้งแรก และการพัฒนาดัชนีการประเมินความสุข ซึ่งจะช่วยนำไปสู่การสร้างความเติบโตอย่างสมดุล จากภาวะวิกฤตโควิด 19 ที่เกิดขึ้น มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง ในด้านการวิจัยจะมีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) การวิจัยในเชิงประเด็นเร่งด่วน การศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทาง มาตรการหรือข้อเสนอแนะเพื่อรับมือ โดยเฉพาะเรื่อง การปรับตัวของภาคธุรกิจ การสร้างความมั่นใจกับนักท่องเที่ยว การปรับโครงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และมาตรการความปลอดภัย 2) การวิจัยในเชิงเพื่อกำหนดมาตรฐานการปรับตัว เนื่องจากโควิด 19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมนักท่องเที่ยว แนวคิด New normal ซึ่งในด้าน Supply ต้องให้ความสำคัญต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอด supply chain 3) การวิจัยในเชิงอนาคต เพื่อให้เกิดแผนการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งไม่ใช่เพียงเรื่อง โควิด 19 เท่านั้นแต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกมิติ เช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี และเรื่องพัฒนาที่ยั่งยืน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ