NRF ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ เดินหน้าโรดแมปอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ปั้นประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอนาคต

ข่าวทั่วไป Friday September 25, 2020 16:30 —ThaiPR.net

NRF ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ เดินหน้าโรดแมปอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ปั้นประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอนาคต กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--เอ็ม ที มัลติมีเดีย 'บมจ. เอ็นอาร์ อินสแตนท์โปรดิวซ์’ หรือ NRF ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สานต่อโรดแมปอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำช่วยเหลือชาวเกษตรกร ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอนาคต หรือ ซิลิคอน วัลเลย์อาหารแห่งอนาคต (Silicon Valley of Future Food) พร้อมเดินหน้าโครงการ จัดตั้งศูนย์นวัตกรรม เพื่อผลิตและส่งออกอาหารโปรตีนจากพืชไปทั่วโลก รองรับเมกะเทรนด์โลก นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ผู้ผลิต จัดหา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหาร อาหารมังสวิรัติที่ไม่มีส่วนผสมของไข่และนม อาหารโปรตีนจากพืช อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมรับประทาน และเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผงและน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคที่ไม่ใช่อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม (V-shape) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มคลัสเตอร์เกษตรอาหาร (กรกอ.) สศก. สวก.และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม หรือ ศูนย์ AIC (Agritech and Innovation Center) สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม หอการค้าไทยและกระทรวงพาณิชย์ และกลุ่มบริษัทเอกชนผู้ผลิตอาหารภายใต้โมเดลเนื้อจากพืช (Plant Based Meat) ร่วมดำเนินการตามโรดแมปตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอนาคต หรือศูนย์กลางเจฮับของโลก และเรียกได้ว่าเป็น ซิลิคอน วัลเลย์อาหารแห่งอนาคต (Silicon Valley of Future Food) โดยจะร่วมสานต่อนโยบายที่รัฐบาลได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (First S-Curve New S-Curve) เพื่อสร้างโอกาสและศักยภาพใหม่ให้กับประเทศ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รับผิดชอบโครงการพืชแห่งอนาคต (Future Crop) เพื่อตอบสนองการผลิตอาหารแห่งอนาคต (Future Food) รองรับความต้องการของตลาดที่เติบโตขึ้น และถือเป็นเมกะเทรนด์โลก ซึ่งเป็นอาหารที่ใช้โปรตีนจากพืช หรือ เนื้อจากพืช (Plant Based Meat) สำหรับมูลค่าตลาดอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based Food) ในปัจจุบันมีมูลค่ารวมกันทั่วโลก 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นไปแตะ 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากผู้บริโภคเห็นข้อดีของวัตถุดิบอาหารจากพืชและใส่ใจการรับประทานอาหารเพื่อดูแลสุขภาพ ซึ่งหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ต่างเดินหน้าขยายผลิตภัณฑ์ โดยใช้วัตถุดิบจากพืชมาผลิต เช่น ขนุน ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา มะเขือยาว เห็ด สาหร่าย เป็นต้น เพื่อผลิตเป็นอาหารเมนูต่างๆ อาทิ ซูชิ แฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก ลูกชิ้นปลา เฝอ อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าหลังจากนี้จะมีการสร้างนวัตกรรมทำให้รสชาติ เนื้อสัมผัส และกลิ่นเหมือนของจริงมากที่สุด ในราคาเท่ากับเนื้อสัตว์และอาจพัฒนาต่อไปให้ถูกกว่าเนื้อสัตว์ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งนี้ ไทย ถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพเป็นฮับการผลิตอาหารโปรตีนจากพืช ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อรองรับเทรนด์การรับประทานอาหารแนวใหม่ในยุค New Normal ของผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีประชากรกว่า 4 พันล้านคน ที่พบว่ามีความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF กล่าวว่า บริษัทฯ พร้อมสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเข้าไปสู่ตลาดอาหารแห่งอนาคต ที่อาศัยความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานของ NRF ที่เป็นฐานการผลิตอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-Based Food) ตั้งแต่ ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จากการซื้อผลผลิต และสนับสนุนสินค้าเกษตรกร ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ รวมถึงสนับสนุนธุรกิจการเกษตรใหม่ๆ และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ผลิตสินค้าที่มีความหลากหลาย ผลักดันความต้องการอาหารโปรตีนจากพืชให้เติบโต โดย NRF จะลงทุนก่อสร้างโรงงาน เพื่อเป็นฐานการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม เพื่อผลิตและส่งออกอาหารโปรตีนจากพืชไปทั่วโลก “เราเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังทำคือพลิกโฉมตลาดอาหารของโลกในอนาคตอันใกล้ โดยจะเป็นผู้สร้างดีมานด์และมีฐานการผลิตอาหารโปรตีนจากพืชที่ได้มาตรฐาน ที่ปราศจากยาปฏิชีวนะ คลอเรสเตอรอล ซึ่งการผลิตอาหารที่ NRF ทำจะช่วยโลกให้ยั่งยืน บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ช่วยซัพพอร์ตเกษตรกร สร้างโอกาส และสร้างอาชีพ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระบบมากขึ้น” นายแดน กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ